ครึ่งปีแรก 67 พิษเศรษฐกิจ ทำ ผปก. ปิดกิจการกว่า 6,039 ราย กทม. ครองอันดับ 1 เชียงใหม่ ปิดตัว 926 ราย

ครึ่งปีแรก 67 พิษเศรษฐกิจ ทำ ผปก. ปิดกิจการกว่า 6,039 ราย กทม. ครองอันดับ 1 เชียงใหม่ ปิดตัว 926 ราย

ด้วยสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน ส่งผลให้ธุรกิจห้างร้าน โรงงาน ผู้ประกอบการร้านอาหารทั้งรายใหญ่และรายย่อย ต่างก็ได้รับความเดือดร้อนกันไปอย่างหนักหน่วง บางรายอาจมีการลดจำนวนสาขาลง หรือปรับลดการจ้างพนักงาน เพื่อความอยู่รอดของกิจการ แต่บางรายก็ถึงขั้นที่ปิดกิจการลง เพราะสู้ต่อไปไม่ไหวในสถานภาพแบบนี้

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดข้อมูลการจดทะเบียนเลิกประกอบกิจการ มีจำนวน 1,004 ราย เพิ่มขึ้น 194 ราย คิดเป็น 23.95% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 และลดลง 230 ราย คิดเป็น -18.64% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566 โดยมีทุนจดทะเบียนเลิกอยู่ที่ 54,804.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 49,707.54 ล้านบาท คิดเป็น 975.26% เมื่อเทียบกับเดือนเมษายน 2567 และเพิ่มขึ้น 46,564.47 ล้านบาท คิดเป็น 565.11% เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม 2566

จากสถิติการจดทะเบียนรายปี จำแนกตามสถานะ และประเภทนิติบุคคล ตั้งแต่เดือน ม.ค. – มิ.ย. 2567 ข้อมูล ณ วันที่ 11 กรกฎาคม 2567 มีการจดทะเบียนเลิกกิจการทั้งหมด 6,039 ราย โดยแบ่งตามภูมิภาคและเรียงลำดับจากมากไปถึงน้อย ดังนี้

– กรุงเทพมหานคร 1,748 ราย

– ภาคกลาง 1,125 ราย

– ภาคเหนือ 926 ราย

– ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 904 ราย

– ภาคตะวันออก 653 ราย

– ภาคใต้ 493 ราย

– ภาคตะวันตก 190 ราย

ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ได้เปิดเผยสถิติช่วงกลางไตรมาส 2 ประจำเดือนพฤษภาคม 2567 สำหรับธุรกิจที่เลิกประกอบกิจการ 3 อันดับต้นๆ ได้แก่

– ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 98 ราย 9.76%

– ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 59 ราย 5.88%

– ธุรกิจให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการอื่นๆ 25 ราย 2.49%

นอกจากนี้ ทางกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ยังเปิดเผยธุรกิจที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งใหม่ 3 อันดับต้นๆ ในเดือนพฤษภาคม 2567 ดังนี้

– อสังหาริมทรัพย์ 662 ราย 9%

– ก่อสร้างอาคารทั่วไป 543 ราย 7%

– ภัตตาคาร/ร้านอาหาร 353 ราย 5%

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision ณ ทำเนียบรัฐบาล โดยตั้งเป้าพัฒนาประเทศให้และชู 8 วิสัยทัศน์ ให้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ให้ยั่งยืน คลอบคลุมทั้งการท่องเที่ยว การรักษาพยาบาลและสุขภาพ อาหาร การบิน การผลิตยานยนต์แห่งอนาคต เทคโนโลยี และการเงิน ทั้งยังตั้งเป้าให้เป็นที่ 1 ของภูมิภาค ด้วยประเทศไทยมีข้อได้เปรียบในหลายๆ เรื่อง ทั้งทรัพยากร ธรรมชาติ สถานที่ท่องเที่ยว

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จากนโยบายข้างต้น กับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เป็นอยู่ค่อนข้างสวนทางกันอย่างมาก ซึ่งยังคงเป็นเรื่องที่น่าจับตามองต่อไปว่า รัฐบาลจะมีการแก้ไขและจัดการกับปัญหาเหล่านี้ต่อไปอย่างไร

ขอบคุณข้อมูล 

lannernews.com

dbd

thaipublica