คลัง เตรียมเปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล พ.ย. นี้ จ่ายครั้งเดียว 10,000 บาท ไม่แบ่งงวด

คลัง เตรียมเปิดลงทะเบียนเงินดิจิทัล พ.ย. นี้ จ่ายครั้งเดียว 10,000 บาท ไม่แบ่งงวด

วันที่ 10 ตุลาคม 2566 นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รมช.คลัง ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ประมาณเดือนพ.ย. 2566 จะเริ่มเปิดลงทะเบียนร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ ส่วนประชาชนที่จะเข้าร่วมโครงการฯ คาดว่าจะสามารถเข้าร่วมโครงการฯ ได้หลังจากนี้

ดังนั้น จึงยืนยันว่า นโยบายเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สามารถดำเนินการได้ทัน ที่จะเปิดใช้อย่างเป็นทางการ ก.พ. 2567

ทั้งนี้ โครงการรัฐที่ผ่านมามีประชาชนยืนยันตัวตนมาแล้ว 40 ล้านคน ที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลของรัฐ แต่ยังมีผู้ที่ยังไม่อยู่ในระบบฐานข้อมูลอีกประมาณ 10 ล้านคน ด้วยกฎหมายที่กำหนด ทั้งนี้ รัฐบาลยืนยันจะเติมเงินดิจิทัลให้ทุกคนที่มีสิทธิครั้งเดียว 10,000 บาท โดยไม่มีการแบ่งจ่ายเงินเป็นงวดๆ แน่นอน แม้ที่ผ่านมาจะมีข้อเสนอให้เปลี่ยนเงื่อนไขแบ่งเป็นงวด เพราะเห็นว่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า

สำหรับนโยบายการแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท จำเป็นต้องเปิดให้ลงทะเบียน แต่การลงทะเบียนในโครงการฯ ไม่เกี่ยวข้องกับการลดจำนวนโครงการเพื่อไม่ให้โครงการต้องใช้เงินมากถึง 5.6 แสนล้านบาท ใช่หรือไม่

รมช.คลัง บอกว่า ไม่เกี่ยวกันเนื่องจากเมื่อมีการเดินหน้าโครงการฯ นี้แล้วรัฐบาลก็ต้องหาแหล่งเงินมาเพื่อรองรับโครงการฯ อยู่แล้วโดยไม่ได้รอว่าจะมีจำนวนการลงทะเบียนจำนวนเท่าไหร่ ในการทำโครงการฯ นี้จะใช้งบประมาณเป็นหลัก เนื่องจากขณะนี้มีตัวเลือกให้กับรัฐบาลหลายทางเลือก แต่จะใช้ทางเลือกที่ดีที่สุด คือการเกลี่ยงบประมาณและปรับลดงบประมาณที่ไม่จำเป็น และขณะนี้เป็นช่วงการจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567

ยืนยันว่ากระทรวงการคลังไม่มีแนวคิดที่จะขายหุ้นของรัฐวิสาหกิจ หรือลดสัดส่วนการถือหุ้นในรัฐวิสาหกิจลงโดยการขายหุ้นออกมาเพื่อนำเงินมาใช้ในโครงการฯ นี้อย่างแน่นอน โดยเบื้องต้นทางเลือกแรกที่รัฐบาลจะใช้คือการเกลี่ยงบประมาณและปรับลดงบประมาณที่ไม่จำเป็น

อย่างไรก็ตาม หลังจากได้งบประมาณที่เป็นไขมันส่วนเกินแล้วจะนำงบประมาณที่เหลือมาใช้ในการพัฒนาลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีความจำเป็นและเกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรัฐ ซึ่งสำนักงบประมาณก็จะไปดูในรายละเอียดว่ามีโครงการใดบ้างที่ไม่จำเป็น

ขณะนี้เป็นช่วงการจัดทำพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 อยู่ระหว่างการทำเรื่องเสนอของบประมาณไปยังสำนักงบประมาณ ดังนั้น โครงการใดที่ไม่จำเป็นหรือเป็นไขมันส่วนเกินที่สามารถปรับลดได้หรือตัดได้ โดยนำงบประมาณที่เหลือมาใช้ในการพัฒนาลงทุนในโครงการต่างๆ ที่มีความจำเป็นและเกี่ยวเนื่องกับนโยบายของรัฐ ซึ่งสำนักงบประมาณก็จะไปดูในรายละเอียดว่ามีโครงการใดบ้างที่ไม่จำเป็น

ที่มา มติชนออนไลน์