บทเรียน ล้ำค่า สถานการณ์ เงินคงคลัง จับตา กรณีภาษี

หากเริ่มจาก สมมุติฐานŽ ที่ว่า เมื่อ 15 ปีก่อน ยังเคยมีเหตุการณ์เงินคงคลังเหลือเพียง 20,000-30,000 ล้านบาทŽ

การมีเงินคงคลัง 74,907 ล้านบาท ถือว่า มากŽ

จึงมิได้เป็นเรื่องแปลกที่ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ มิได้ตระหนก เนื่องจากเป็นการบริหารของกระทรวงการคลังที่ไม่ต้องการกู้เงินมากองไว้ จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยŽ

เช่นเดียวกับที่ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล มองในด้านดี

สะท้อนประสิทธิภาพการบริหารจัดการเงินคงคลัง สะท้อนว่ารัฐบาลเบิกจ่ายงบประมาณได้ดีขึ้น และหากรัฐบาลเห็นว่าระดับเงินคงคลังลดลงมากจนเกินไปสามารถระดมทุนผ่านตลาดพันธบัตรได้ใช้เวลาเพียง 2 วันเท่านั้นŽ

กระนั้น ด้านดีŽ เหล่านี้ก็ต้องพึง ระวังŽ เพราะหากเมื่อใดมี 1 การขายพันธบัตร และ 1 มีการปรับขึ้นภาษีเหมือนในกรณีภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องบินในประเทศ

ก็เท่ากับเป็นการส่ง สัญญาณŽ

เหมือนกับที่เคยเกิดความหวาดระแวงมาแล้วในกรณีการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้กับเครื่องบินในประเทศ

เหมือนกับการแจ้งข่าวเรื่อง พันธบัตรŽ จากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

สถานการณ์ เงินคงคลังŽ ครั้งนี้ทำให้สังคมไทยได้รับ บทเรียนŽ ในเรื่องเกี่ยวกับการบริหารจัดการ การคลังŽ อย่างก้าวกระโดด

1 ทำให้รู้ว่า มีคนจำนวน จำกัดŽ อย่างยิ่งที่เข้าใจในเรื่องนี้

ผู้คนยังแยกไม่ออกระหว่าง เงินคงคลังŽ กับ เงินสำรองระหว่างประเทศŽ ยังมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน พันกันไปพันกันมา

ทั้งๆ ที่ พระอาจารย์บัว ญาณสัมปันโน เคยให้ การศึกษาŽ มาแล้ว

ขณะเดียวกัน 1 ทำให้รู้ว่าระหว่างสถานการณ์ในปีงบประมาณ 2559 กับสถานการณ์ในปีงบประมาณ 2560 มีความแตกต่างกัน

เพราะเมื่อปีงบประมาณ 2559 จำเป็นต้อง กู้เงินŽ

เพราะเมื่อต้นปีงบประมาณ 2559 ในเดือนตุลาคม 2558 มีการกู้เงินชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 99,094 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เงินคงคลังมีมากกว่า 426,182 ล้านบาท

เดือนพฤศจิกายน 2558 กู้อีก 107,097 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เงินคงคลังมี 295,880 ล้านบาท

และเดือนเมษายน 2559 กู้อีก 46,436 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เงินคงคลังมี 206,218 ล้านบาท และเดือนตุลาคม 2559 กู้อีก 52,712 ล้านบาท ทั้งที่เงินคงคลังมี 441,300 ล้านบาท

ความเป็นจริงนี้สะท้อน สถานการณ์Ž ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ

ระหว่างสถานการณ์ของปีงบประมาณ 2559 กับสถานการณ์ของปีงบประมาณ 2560

มีความจำเป็นที่จะต้องทำความเข้าใจ ขณะเดียวกัน มีความจำเป็นที่จะต้องให้ โอกาสŽ คสช.และรัฐบาลในการบริหารจัดการงบประมาณ

การแปรเปลี่ยนในเรื่อง เงินคงคลังŽ จึงเสมอเป็นเพียง ปริมาณŽ

ชาวบ้านที่ไม่เคยเป็น นายธนาคารŽ เหมือนที่ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ เป็น ย่อมยากที่จะเข้าใจได้ภายในเวลาอันสั้น

รัฐบาลŽ จำเป็นต้อง อดทนŽ

อย่าว่าแต่ ชาวบ้านŽ เลยที่มีความเข้าใจอย่างชนิด น้อยนิดŽ หากแม้กระทั่งหลายคนที่อยู่ใน คสช.และอยู่ในรัฐบาลก็มีสภาพแทบไม่แตกต่างไปจาก ชาวบ้านŽ

ออกมาพูดในแบบผิดๆ ถูกๆ

ชาวบ้านŽ อาจไม่รู้ว่าพูดผิดตรงไหน แต่กล่าวสำหรับ นักเศรษฐศาสตร์Ž โดยเฉพาะ นักการเงินŽ ย่อมรู้

ไอ้ที่พูดวกไปวนมา นั่นแหละ สำคัญŽ

ที่วกไปวนมาเพราะรู้อยู่แก่ใจว่าตัวเองรู้แค่ไหนในเรื่อง เงินคงคลังŽ เมื่อแม้กระทั่งตัวเองยังไม่เข้าใจเสียแล้ว ยังดึงดันออกมา พูดยิ่งอันตราย

อันตรายต่อ เงินคงคลังŽ อันตรายต่อ เศรษฐกิจŽ

กล่าวสำหรับ ชาวบ้านŽ อย่างธรรมดาสามัญทั่วไป หลังผ่านม่านควันในเรื่องเกี่ยวกับ เงินคงคลังŽ

จึงต้องให้ความสนใจในเรื่องของ 1 การปรับขึ้นภาษีอย่างเป็นพิเศษว่าปรับขึ้นด้วยเหตุผลอะไร เป็นการปรับตามวงรอบหรือว่าปรับเพื่อสุขภาพของประชาชน

1 การออกมาแสดงบทบาทของ พันธบัตรŽ รัฐบาล

ที่เคยเตือนว่าเรื่องของเศรษฐกิจสัมพันธ์กับ ปากท้องŽ ก็สัมผัสได้จาก เงินคงคลังŽ นั่นแหละ

 

ที่มา มติชนออนไลน์