ส่องอาชีพทำเงิน-ตำแหน่งหาคนยาก ปี 66 มีตำแหน่งไหนบ้าง มาดูกัน

ส่องอาชีพทำเงิน-ตำแหน่งหาคนยาก ปี 66 มีตำแหน่งไหนบ้าง มาดูกัน

เว็บไซต์ ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ รายงานข่าว นายวรกิต เตชะพะโลกุล คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารเงินเดือน PMAT กล่าวว่า การบริหารค่าตอบแทนรวมยังคงยึดแบบแผนหลักอย่างต่อเนื่อง ตลอดหลายปีที่ผ่านมาคือ ให้น้ำหนักกับเงินเดือน 68% แล้วตามด้วยโบนัสคงที่ รายได้อื่น เบี้ยกันดาร และสวัสดิการ ตามลำดับ

สำหรับปี 2565 ที่กำลังจะสิ้นสุดลง ตำแหน่งงานที่มีการจ่ายสูงสุด โดยใช้ตัวเลขที่ P50 ซึ่งเป็นค่ากลางของตลาดแรงงาน (Midpoint หรือ Market Trend) ได้แก่

1. ผู้จัดการฝ่ายบัญชีและการเงิน 305,457 บาท (สายงานบริหาร)

2. หัวหน้าแผนกขายต่างประเทศ 130,750 บาท (สายงานซูเปอร์ไวเซอร์)

3. เลขานุการผู้บริหารระดับสูง 113,050 บาท (สายงานวิชาชีพ)

4. หัวหน้ากะผลิต 47,646 บาท (สายงานผลิต)

สำหรับ 5 อาชีพที่มีค่าวิชาชีพสูงสุด นอกเหนือจากค่าตอบแทน ได้แก่

1. ล่าม 30,000 บาท

2. วิศวกร 20,000 บาท

3. เภสัชกร 14,000 บาท

4. สถาปนิก 12,000 บาท

5. ทนายความ 10,000 บาท

อีกข้อมูลที่น่าสนใจ จากการสอบถามกลุ่มเป้าหมาย ถึงกลุ่มพนักงานที่หาคนทดแทนได้ยาก 9 อันดับแรก ได้แก่

1. ไอที

2. การขายและการตลาด

3. งานผลิต

4. บัญชีและการเงิน

5. พัฒนาธุรกิจ

6. กฎหมาย

7. กลยุทธ์องค์กร

8. HR

9. โลจิสติกส์

โดย 4 แนวโน้ม นายจ้างบริหารค่าตอบแทน PMAT วิเคราะห์ 4 แนวโน้มที่สำคัญของการบริหารค่าตอบแทน ปี 2566 ในประเทศไทย ได้แก่

1. มีการปรับเปลี่ยนจากการจ่ายค่าตอบแทนคงที่ ไปเน้นการจ่ายค่าตอบแทนจากแรงจูงใจ (Performance-driven Incentives)

2. การจ่ายค่าทักษะในงาน (Skills-based Pay) ทั้งการเพิ่มทักษะเดิมให้ดีขึ้น (Up-skill) และการสร้างทักษะใหม่ (Re-skill)

3. หันมาเน้นสวัสดิการดูแลชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี (Well-being Benefits)

4. เปิดทางให้พนักงานได้เลือกสวัสดิการ ผลประโยชน์เกื้อกูล ที่เหมาะสมกับพนักงานแต่ละคน (Flexible/ Personalized Benefits)

“ในแง่ของการจ่ายเงินเดือนที่เป็น Basic Salary ผู้ประกอบการระดับกลางและล่าง เริ่มกลับมาจ้างงานมากขึ้น สังเกตได้จากมีการปรับเงินเดือนสูงขึ้นจากปี 2564 ประกอบกับสภาพเศรษฐกิจโดยรวมของไทย จีดีพี 3% กว่าๆ ใกล้ 4% อัตราเงินเฟ้อลดลง จาก 6.3% เหลือ 2.4% อัตราว่างงานก็ลดลง จาก 1.93% เหลือ 1.37% ปี 2566 จึงถือว่าเป็นอีกปีที่มีสัญญาณเชิงบวกจากหลายปัจจัย ที่ส่งผลดีต่อการจ้างงานและจ่ายค่าตอบแทนโดยรวม” นายวรกิต กล่าวสรุป