ฟู้ดดีลิเวอรี่ ช่องทางการขายที่จำเป็น กำลังเผชิญความท้าทายสูง

ฟู้ดดีลิเวอรี่ ช่องทางการขายที่จำเป็น กำลังเผชิญความท้าทายสูง

ธุรกิจ Food Delivery (ฟู้ดดีลิเวอรี่) มีแนวโน้มเผชิญความท้าทายมากขึ้น ท่ามกลางสถานการณ์โควิดที่ดีขึ้น ผู้บริโภคกลับมาใช้ชีวิตนอกบ้านมากขึ้น ทำให้ดัชนีปริมาณการสั่งอาหารไปส่งยังที่พักเผชิญข้อจำกัดในการเติบโต ซึ่งไม่แตกต่างจากธุรกิจออนไลน์อื่น

เบื้องต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงที่เหลือปี 2565 ดัชนีปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นอาจหดตัว YoY ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่สูงในปีก่อนหน้า ส่งผลให้ทั้งปี 2565 ดัชนีอาจเพิ่มขึ้นราว 44%

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาในระดับพื้นที่ พบว่า เขตที่มีการใช้บริการสูงสุด 10 อันดับแรกสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล อาทิ เมืองนนทบุรี สมุทรปราการ คลองหลวง ดัชนีปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นยังค่อนข้างทรงตัวหรือชะลอลงน้อยกว่าพื้นที่อื่น

สะท้อนถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคในพื้นที่ที่มีคนอยู่อาศัยหนาแน่นและมีการ WFH ยังเลือกใช้บริการฟู้ดดีลิเวอรี่ที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตและการทำงานยุคใหม่ ทั้งนี้ แม้การรักษาปริมาณการสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่นในภาพรวมจะยากขึ้น แต่ช่องทางการขายนี้ยังเป็นสิ่งจำเป็น