เจ๋ง เครื่องช่วยการลุกขึ้นยืน ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน คว้ารางวัลระดับเอเชีย

เจ๋ง เครื่องช่วยการลุกขึ้นยืน ของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน คว้ารางวัลระดับเอเชีย

ผลงาน sit-to stand support elderly ของนักศึกษาและอาจารย์ วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับรางวัล Bronze Award in Design Category จากการประกวด i-CREATe 2022 Hong Kong

นายอิทธิพันธุ์ เอี่ยมกิจ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในตัวแทนทีม กล่าวถึงแนวคิดผลงาน sit-to stand support elderly ว่า ผู้สูงอายุแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุติดเตียง ผู้สูงอายุติดบ้าน และผู้สูงอายุสุขภาพดี ในกลุ่มผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน จะเป็นผู้สูงอายุที่สามารถลุกขึ้นยืนหรือเดินได้ด้วยตัวเองที่บ้าน หรืออาจต้องการความช่วยเหลือจากผู้ดูแล โดยมีไม้เท้าหรือวอล์กเกอร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการลุกขึ้นยืน

ภูมิใจ

เดินหรือทำกิจกรรมในบ้าน การลุกขึ้นยืน ก็เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญและเกิดขึ้นบ่อยครั้งภายในบ้าน เมื่อผู้สูงอายุมีอายุมากขึ้น ส่งผลให้มวลกระดูกและกล้ามเนื้อลดลง ทำให้การลุกขึ้นยืนหรือนั่งลงเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทีมเรา จึงสนใจการออกแบบและสร้างอุปกรณ์ช่วยในการลุกขึ้นยืนของผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้าน โดยมีวัตถุประสงค์ คือ การศึกษา การออกแบบ และสร้างเครื่องช่วยพยุงลุกขึ้นยืนสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อลดการทำงานของกล้ามเนื้อ และลดความเสี่ยงในการล้มลงขณะลุกขึ้นยืน

“แนวคิดของผลงาน คือ การควบคุมการอัดลม หรือปล่อยลมของเบาะลมรูปทรงสามเหลี่ยม ซึ่งได้ออกแบบให้มีการยกช่วงสะโพกขึ้น ในระดับที่สามารถลุกขึ้นเองได้ง่ายขึ้น โดยอาศัยแนวคิดของชีวกลศาสตร์ของการลุกขึ้นยืนในผู้สูงอายุ โดยเมื่ออัดลมเข้าไปภายในเบาะ จะทำให้ช่วงสะโพกมีการยกตัวขึ้นและทำให้ลำตัวของผู้สูงอายุโน้มตัวไปข้างหน้า สามารถจับวอล์กเกอร์เพื่อลุกขึ้นอย่างง่ายดายโดยที่ลดการออกแรงของกล้ามเนื้อ

สาธิต

ทีมเรา จึงได้ปรึกษากับนักกายภาพบำบัดเกี่ยวกับวิธีการช่วยเหลือผู้สูงอายุ ร่วมกับเทคโนโลยีที่ใช้ในการออกแบบ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ชีวกลศาสตร์การลุกขึ้นยืน และซอฟต์แวร์ทางชีวกลศาสตร์

“พวกเรารู้สึกดีใจกับรางวัลครั้งนี้ ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับนานาชาติ ที่มีผู้ร่วมแข่งขันหลายทีมเก่งๆ ในรอบคัดเลือก โดยได้รับรางวัลบรอนซ์ ก็รู้สึกเป็นเกียรติและดีใจมากที่ติด 1 ใน 3 ของระดับเอเชีย ซึ่งผลงานดังกล่าวมีความปลอดภัยและต้นทุนไม่สูง และยังสามารถพัฒนาต่อไปได้อีกในอนาคต” นายอิทธิพันธุ์ กล่าว

ด้าน ผศ.ดร.จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์ อาจารย์ประจำวิทยาลัยวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต ในฐานะอาจารย์ที่ปรึกษา กล่าวว่า ที่ผ่านมาเรามีประสบการณ์การเข้าร่วมการประกวด i-CREATe ซึ่งเป็นการประกวดนวัตกรรมเพื่อช่วยเหลือผู้พิการและผู้สูงอายุ โดยห้องแล็บของเราเป็นแล็บที่ดูแลอุปกรณ์เหล่านี้อยู่แล้ว จึงมองว่าการประกวดนี้ตรงกับงานของเรา หลังจากนั้นจึงได้ฟอร์มทีมนักศึกษาโดยการถามความสมัครใจ

ปุ่มบังคับ

และก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสส่งผลงานร่วมประกวด Student Innovation Challenge ของประเทศไทย เมื่อผ่านเข้ารอบแล้วทีมผู้จัดจึงนำทีมที่ผ่านเข้ารอบส่งประกวด i-CREATe ซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศไทยอีกที

“สำหรับนักศึกษาที่มาร่วมฟอร์มทีมนั้น ต้องมีความสามารถทางด้านภาษาและการนำเสนอ มีความเข้าใจคอนเซ็ปต์ของเครื่อง ในส่วนของอาจารย์ที่ปรึกษา จะฟอร์มทีมและให้ความช่วยเหลือในเรื่องของไอเดียและแนวคิด รวมทั้งการประสานงานกับอาจารย์คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งให้แนวคิดว่าเวลาคนลุกขึ้นยืนนั้นลุกอย่างไรเพื่อสื่อสารกับนักศึกษาอีกที ซึ่งเป็นการแปลงไอเดียคนใช้งานกับในเชิงอิเล็กทรอนิกส์ หรือการเอาวงจรมาควบคุม” ผศ.ดร.จรูญรัตน์ กล่าว

สำหรับรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา ที่มีส่วนร่วมกับความสำเร็จครั้งนี้ ได้แก่ ผศ.ธนกร อยู่โต ผศ.ดร.จรูญรัตน์ ปริญญาคุปต์ ส่วนรายชื่อผู้ร่วมทีม ได้แก่ นายนูรุดดิน ยูโซะ นายอิทธิพันธุ์ เอี่ยมกิจ นายศาสตรพล สมใจ น.ส.ชลธิชา พรหมจักร์ และ น.ส.หทัยชนก หนูเรือง