โควิด ฉีดวัคซีนหลายเข็ม ทำไมติดเชื้อซ้ำซาก กับปัญหาสาธารณสุข ที่ควรปรับปรุง

โควิด ฉีดวัคซีนหลายเข็ม ทำไมติดเชื้อซ้ำซาก กับปัญหาสาธารณสุข ที่ควรปรับปรุง
โควิด ฉีดวัคซีนหลายเข็ม ทำไมติดเชื้อซ้ำซาก กับปัญหาสาธารณสุข ที่ควรปรับปรุง

โควิด ฉีดวัคซีนหลายเข็ม ทำไมติดเชื้อซ้ำซาก กับปัญหาสาธารณสุข ที่ควรปรับปรุง

ทำไม แต่ละคนที่ตรวจพบเชื้อโควิด จึงมีอาการแตกต่างกัน และส่วนใหญ่ไม่มีอาการทั้งๆ ที่เป็นเชื้อโควิดสายพันธุ์เดียวกัน

เพื่อให้กระชับ ขอให้ดูจากตารางที่นำเสนอ ซึ่งแบ่งคน เป็น 4 กลุ่มจากความหลากหลายทาง “พันธุกรรมต่อการติดเชื้อ” และ ”พันธุกรรมทางภูมิคุ้มกัน” โดยจากการประเมินข้อมูลน่าจะมีสัดส่วนของแต่ละกลุ่มดังแสดง

 

กลุ่มที่

(สัดส่วนประชากร)

พันธุกรรมต่อการติดเชื้อไวรัส พันธุกรรมทางภูมิคุ้มกัน ผลจากการรับเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย

(ไม่ว่าจะมีโรคประจำตัวอื่นๆ หรือไม่ก็ตาม)

1

(18-24%)

ติดเชื้อได้จริง สร้าง ทีเซลล์นักฆ่าได้ เกิดอาการรุนแรง  หากรักษาด้วยการประคองตามอาการได้ดี  ภูมิคุ้มกันที่สร้างขึ้นก็จะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้หมดภายในเวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
2

(0.2-2%)

ติดเชื้อได้จริง ไม่สามารถสร้าง “ทีเซลล์นักฆ่าได้ มีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่จะเสียชีวิตจากอาการรุนแรงเนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันไม่สามารถทำลายเชื้อไวรัสได้ นอกจากจะมียาที่สามารถกำจัดเชื้อหรือยับยั้งการเพิ่มจำนวนของไวรัสได้
3

(65-75%)

ไม่เหมาะต่อการติดเชื้อ สร้าง “ทีเซลล์นักฆ่า” ได้ ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย แต่จะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี อาจนำภูมิคุ้มกันนี้ไปรักษาช่วยคนที่มีอาการรุนแรงได้
4

(1-5%)

ไม่เหมาะต่อการติดเชื้อ ไม่สามารถสร้างทีเซลล์นักฆ่าได้ มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการเช่นเดียวกับกลุ่มที่ 3 และน่าจะเป็นกลุ่มที่ควรจะมีการศึกษาติดตามต่อไปว่าจะมีการติดเชื้อแอบแฝงหรือไม่ (ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการระบาด)

 

จำเป็นต้องทำความเข้าใจว่า การที่เชื้อไวรัสโควิด-19 จะเข้าไปสู่เซลล์เป้าหมายได้ ต้องมีการจับเกาะแทรกเข้าไปภายในเซลล์ที่จำเพาะและเหมาะสม จึงจะเพิ่มจำนวนได้โดยมีปอดเป็นอวัยวะเป้าหมายหลัก จากการศึกษาวิจัยเป็นที่ทราบกันว่า สารชีวภาพบนผิวเซลล์ที่เชื้อไวรัสใช้จับเกาะมีความหลากหลายแตกต่างกันตามพันธุกรรมของแต่ละคน ดังนั้น เมื่อคนหรือสัตว์ที่รับเชื้อไวรัสโควิด ไม่ใช่ว่าจะกลายเป็นผู้ที่มีการติดเชื้อจริงๆ เสมอไป

ขณะเดียวกัน เมื่อร่างกายได้รับเชื้อใดๆ (แม้ไม่ติดเชื้อจริง) จะมีการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาได้หรือไม่ จำเป็นต้องมี พันธุกรรมทางภูมิคุ้มกัน มาเกี่ยวข้องด้วย โดย “ทีเซลล์นักฆ่า” ซึ่งมีประสิทธิภาพอย่างเบ็ดเสร็จในการกำจัดเซลล์ติดเชื้อไวรัส จะสร้างขึ้นมาได้จำเป็นต้องมีสารพันธุกรรมทางภูมิคุ้มกันที่เหมาะสม

จากตาราง ข้อมูลคนกลุ่มที่ 2 ที่มีโอกาสสูงในการติดเชื้อจริง อธิบายได้ว่าพันธุกรรมทางภูมิคุ้มกันของคนกลุ่มนี้ไม่สามารถสร้าง “ทีเซลล์นักฆ่า” จึงส่งผลให้เสียชีวิต (เนื่องจากยังไม่มียาที่รักษาได้อย่างแท้จริง)  ส่วนผู้ติดเชื้อจริงที่มีพันธุกรรมทางภูมิคุ้มกันสามารถสร้าง “ทีเซลล์นักฆ่า” ได้อย่างในกลุ่มที่ 1 จะหายป่วยได้ภายในเวลา 2-3 สัปดาห์

ทำไมฉีดวัคซีนหลายเข็มหลายยี่ห้อ แล้วยังติดเชื้อ

ต้องทำความเข้าใจว่าอาการป่วยต่างๆ ของคนที่ตรวจพบโควิดไม่ได้เกิดจากเชื้อโดยตรงแต่เกิดจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันในรูปแบบหนึ่งให้สร้างสารชนิดต่างๆ ที่เรียกรวมๆ ว่าไซโตไคน์ เพื่อต่อต้านแต่กลับไม่มีประสิทธิภาพมากพอในการกำจัดเชื้อโควิด แต่ขณะเดียวกัน ก็ทำความเสียหายต่ออวัยวะนั้นๆ เสียอีก จนทำให้ระบบการทำงานของอวัยวะล้มเหลวโดยเฉพาะปอดซึ่งเป็นอวัยวะเป้าหมายหลัก

การที่คนในกลุ่มที่ 3 ไม่แสดงอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย อธิบายได้ว่าเนื่องจากคนกลุ่มนี้ ส่วนสไปท์ของโควิดไม่สามารถเข้าจับเกาะจับกับผิวเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนจึงทำให้มีปริมาณเชื้อที่จำกัดในการกระตุ้นการสร้างสารไซโตไคน์จึงทำให้มีอาการเล็กน้อยคล้ายไข้หวัด ขณะที่คนที่ติดเชื้อโควิดจริงในกลุ่มที่ 1 และ 2 จะมีการเพิ่มจำนวนของเชื้ออย่างมากมายตลอดเวลาและกระตุ้นให้สร้างสารไซโตไคน์ขึ้นมาอย่างมหาศาลที่เรียกว่า Cytokine Storm จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการรุนแรง

เพราะฉะนั้น การที่ฉีดวัคซีนหลายๆ เข็มและยังติดเชื้ออีก แยกได้เป็น 2 กรณี คือ คนเหล่านี้อยู่ในกลุ่มที่ 3 ที่ไม่เคยติดเชื้อจริง และกลุ่มที่ 1 ที่ได้รับวัคซีนแล้วและมีการสร้างเซลล์ภูมิคุ้มกันจดจำ ทำให้เมื่อได้รับเชื้อก็ไม่มีการติดเชื้อจริง อีกกรณีหนึ่งที่เป็นกลุ่มคนที่พันธุกรรมทางภูมิคุ้มกันไม่เหมาะกับการสร้างเซลล์จดจำที่จะสร้างแอนติบอดีแบบถาวร เพื่อป้องกันการติดเชื้อได้แม้จะรับวัคซีนแล้วก็ตาม จึงทำให้ติดเชื้อจริง

ศ.ดร.ธีระศักดิ์ พัชรวิภาส อาจารย์ประจำคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สรุปคือ การติดเชื้อที่ระบาดกันอย่างมากมายขณะนี้ แต่ความรุนแรงกลับมีอาการน้อย เนื่องจากการไม่ติดเชื้อจริง ต้องแยกระหว่าง “ผู้ติดเชื้อจริงออกจาก “ผู้ที่ได้รับเชื้อ (ไม่มีการติดเชื้อจริง)

ความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับยาที่ใช้รักษาเชื้อโควิด ซึ่งต้องนำเข้าและมีราคาสูงมาก แต่ยังมีผู้ป่วยเสียชีวิตในอัตราส่วนค่อนข้างคงที่

การศึกษาประสิทธิผลที่แท้จริงของยาควรต้องเลือกศึกษากับผู้ที่ติดเชื้อจริง ซึ่งมีประมาณ 0.2-2% ของผู้รับเชื้อ ไม่ใช่เหมารวมเอาทุกคนที่ตรวจพบเชื้อมาศึกษาและทำให้ประเมินประสิทธิผลของยาผิดเพี้ยน ควรต้องศึกษาโดยใช้ยานั้นๆ กับคนกลุ่มที่ 2 ซึ่งเป็นคน “กลุ่มที่ติดเชื้อจริงและไม่สามารถสร้าง “ทีเซลล์นักฆ่า” ได้ จึงจะประเมินประสิทธิผลของยาได้อย่างแท้จริง”

ปัญหาการจัดการทางสาธารณสุข ที่ควรปรับปรุง

เป็นปกติที่เชื้อไวรัสมีการกลายของรหัสพันธุกรรมตลอดเวลา เชื้อไวรัสไม่สามารถคิดเองได้ การ กลายพันธุ์ของเขาเป็นไปด้วยกลไกทางธรรมชาติแบบลองผิดลองถูก เมื่อมีการกลายของรหัสพันธุกรรมเป็นตัวไหนที่ปรับตัวได้ดีขี้นสามารถคงทนอยู่ได้นานในสภาวะแวดล้อม ก็ทำให้อัตราการแพร่ระบาดมากกว่าเหนือตัวเดิม ไม่จำเป็นว่าทำให้เกิดอาการรุนแรงขึ้นหากไม่ได้มีการกลายพันธุ์ในจุดสำคัญ อย่างเช่น เปลี่ยนไปจับกับสารชีวภาพบนผิวเซลล์ชนิดอื่นๆ ด้วย

ขณะนี้สาธารณสุข เน้นไปที่การกลายพันธุ์ของเชื้อที่เกิดขึ้นอย่างหลากหลาย และมีความวิตกทุกครั้งที่พบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ๆ ทั้งๆ ที่ไม่มีผลต่อพยาธิสภาพแต่อย่างใด การทบทวนองค์ความรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนความเข้าใจกลไกการติดเชื้อไวรัสและการระบาดจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการทางสาธารณสุขได้ต่อไป รวมทั้งเชื้อไวรัส ที่จะมีการระบาดขึ้นมาใหม่ได้อีกในอนาคต

ในกรณีโควิด-19 การฉีดวัคซีน จะทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อจริงของประชากรจากประมาณ 70% เป็น 99% การฉีดวัคซีนควรดำเนินการ ตรวจภูมิคุ้มกันหลังฉีดวัคซีน อย่างเป็นวิทยาศาสตร์ ถ้ามีการตรวจระดับ IgG โดยเฉพาะ IgA ต่อส่วนสไปท์ของเชื้อโควิด อย่างเป็นแพ็กเกจ

ก็จะเป็นการระบุได้อย่างอ้อมๆว่า คนเหล่านั้น มีการสร้างเซลล์จดจำ เพื่อสร้างภูมิป้องกันได้อย่างถาวรหรือไม่ และช่วยลดงบประมาณได้มากกว่า 70% จากการนำเข้าวัคซีน ทั้งยังไม่นำเข้ายาที่ไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาอย่างแท้จริงเข้าประเทศอย่างมหาศาล