ผู้ประกันตน ติดโควิด มีสิทธิได้เงินชดเชย มาตราไหนได้เท่าไหร่ เช็กเลย!

ผู้ประกันตน ติดโควิด มีสิทธิได้เงินชดเชย มาตราไหนได้เท่าไหร่ เช็กเลย!

ถือเป็นปัญหาสำหรับคนทำมาหาเช้ากินค่ำอย่างมาก หาก ติดโควิด ขึ้นมา เพราะแปลว่า รายได้ของคุณจะหายไป ซึ่งหากใครที่เป็น ผู้ประกันตน ม.33/39/40 อยู่ ก็เบาใจไปได้เปราะหนึ่ง เพราะยังมีสิทธิได้เงินชดเชย แต่ แต่ละมาตราได้เงินค่าชดเชยเท่าไหร่ล่ะ?

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้เผยประกาศ หากผู้ประกันตนทุกมาตรา ติดโควิด หายห่วง เตรียมรับสิทธิชดเชยการขาดรายได้จากการป่วย ไม่ว่าจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ไหน โดยระบุ

1. มาตรา 33
กรณีลาป่วย รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง หากพักรักษาตัวนานเกินกว่า 30 วัน สามารถเบิกสิทธิประโยชน์กรณีขาดรายได้ ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วยเป็นต้นไป รับเงินทดแทน ร้อยละ 50 ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท

* กรณีเจ็บป่วยทุกกรณีรวมป่วยโควิด
ขาดรายได้ นายจ้างจะรับผิดชอบค่าจ้าง 30 วันแรกของปีตามกฎหมายแรงงาน หากเกิน 30วัน ยื่นชดเชยรายได้กับสำนักงานประกันสังคมได้รับ 50% ของค่าจ้างไม่เกิน15,000 บาท

เอกสารประกอบการยื่นเบิก
1. สปส.2-01
2. ใบรับรองแพทย์ที่แพทย์สั่งหยุดงานตัวจริง
3. หนังสือรับรองนายจ้าง
4. สำเนาบช.ธนาคารหน้าแรก >>> บัญชี ตัวเต็ม
5. สถิติวันลาป่วยทั้งปีที่ลาป่วย

2. มาตรา 39
รับเงินทดแทนขาดรายได้ร้อยละ 50 โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบของผู้ประกันตน (4,800 บาท) ต้องมีเอกสารใบรับรองแพทย์และส่งเงินสมทบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนวันเข้ารับการรักษา

3. มาตรา 40
รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 โดยพิจารณาเอกสารหลักฐานและใบรับรองแพทย์และส่งเงินสมทบ 3 เดือนภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนใช้สิทธิ

*ผู้ประกันตนสามารถยื่นรับประโยชน์เงินทดแทนได้ภายใน 2 ปี โดยสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอรับประโยชน์ทดแทนได้ที่เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม แล้วส่งทางไปรษณีย์ และแนบสำเนาสมุดบัญชีออมทรัพย์ ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการและโอนเงินเข้าบัญชีให้

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประกันสังคมได้ที่ www.sso.go.th หรือ โทรสายด่วน 1506 ให้บริการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง