รัสเซีย-ยูเครน ทุบภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทย ผู้บริโภคอาจรับผล “ของแพง”

รัสเซีย-ยูเครน ทุบภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทย ผู้บริโภคอาจรับผล
รัสเซีย-ยูเครน ทุบภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทย ผู้บริโภคอาจรับผล "ของแพง"

รัสเซีย-ยูเครน ทุบภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทย ผู้บริโภคอาจรับผล “ของแพง”

การผลิตในภาคอุตสาหกรรมไทยส่วนใหญ่พึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบ สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อและมาตรการคว่ำบาตรรัสเซียที่ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบตลาดโลกอย่าง พลังงาน โภคภัณฑ์เกษตรและโลหะอุตสาหกรรม มีแนวโน้มยืนสูงในปี 65 จึงส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ราคาวัตถุดิบกลุ่มพลังงานอย่างน้ำมันกลุ่มเบนซิน (แก๊สโซฮอล์ 95) อาจปรับขึ้นเฉลี่ย 35-40% ราคาวัตถุดิบกลุ่มอาหาร ทั้งอาหารสัตว์และอาหารคน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แป้งข้าวสาลี น้ำมันปาล์มขวด อาจปรับขึ้นเฉลี่ย 24-46% และราคาเหล็ก อาจปรับขึ้นเฉลี่ย 5-10% จากปี 64

ภาคการผลิตอุตสาหกรรมไทยน่าจะได้รับผลกระทบ ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของราคาวัตถุดิบ รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องหาสินค้าทดแทนในสถานการณ์ที่ของจะหายากขึ้นหรือไม่มีของ ซึ่งเป็นภาระต้นทุนที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ต้องแบกรับไว้ผ่านกำไรหรือมาร์จิ้นที่ลดลง หรือบางส่วนอาจต้องชะลอหรือหยุดผลิตลงชั่วคราว

โดยเบื้องต้นประเมินว่า มูลค่าผลกระทบนี้อาจมีไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาท ขึ้นอยู่กับสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบต่อต้นทุนรวม และความสามารถในการปรับตัวของแต่ละธุรกิจ ซึ่งผู้ผลิตอาหาร รถยนต์ วัสดุก่อสร้าง บรรจุภัณฑ์ เป็นกลุ่มที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับต้นๆ

ขณะที่ผลกระทบบางส่วน อาจจะตกไปยังผู้บริโภคผ่านการทยอยปรับราคาสินค้าในระยะเวลาถัดๆ ไป ซึ่งขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นปริมาณสต๊อกคงเหลือ ความสามารถในการหาวัตถุดิบทดแทน สภาพการแข่งขันในตลาดและกำลังซื้อของผู้บริโภค