ยุคทองอีคอมเมิร์ซ ห้ามพลาดเรื่อง “ภาษี” ผู้ค้าออนไลน์ต้องรู้ จะได้ไม่วุ่น(วาย)

ยุคทองอีคอมเมิร์ซ ห้ามพลาดเรื่อง
ยุคทองอีคอมเมิร์ซ ห้ามพลาดเรื่อง "ภาษี" ผู้ค้าออนไลน์ต้องรู้ จะได้ไม่วุ่น(วาย)

ยุคทองอีคอมเมิร์ซ ห้ามพลาดเรื่อง “ภาษี” ผู้ค้าออนไลน์ต้องรู้ จะได้ไม่วุ่น(วาย)

เป็นที่ทราบกันดีว่าหลายปีให้หลังมานี้ เรียกว่าเป็น ยุคทองของการขายของออนไลน์ เลยทีเดียว เพราะนอกจากเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทต่อการทำธุรกิจแล้ว วิกฤตการณ์ไวรัส ทำให้คนไม่ออกจากบ้านไปซื้อของ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าจึงต้องหันมาพึ่งแพลตฟอร์มออนไลน์ในการขายแทน

ซึ่งรายได้จากการขายของออนไลน์ก็ต้อง เสียภาษี และยื่นภาษีให้ถูกต้องตามเกณฑ์ที่สรรพากรกำหนดไว้เหมือนกันนะ โดย เพจ K SME เผยว่า รายได้จากการขายของออนไลน์ ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทที่ 8 คือ เงินได้จากการธุรกิจ การพาณิชย์ การเกษตร การอุตสาหกรรม รวมไปถึงการขายของออนไลน์ เป็นต้น โดยจะต้องเสียภาษีตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร มาตรา 40

ซึ่งหมายความว่า สำหรับบุคคลธรรมดาที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้าเป็นนิติบุคคล จะต้องทำการยื่นภาษี เพื่อแสดงให้ สรรพากรเห็นถึงการมีรายได้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ว่าอยู่ในระดับที่ควรยกเว้นภาษี หรือต้องเสียภาษีหรือไม่

ในกรณี บุคคลธรรมดาผู้ที่มีรายได้จากการขายของออนไลน์ เมื่อมีรายได้เกิน 60,000 บาท (กรณีโสด) หรือมีรายได้เกิน 120,000 บาท (กรณีสมรส) จะต้องยื่นภาษีเงินได้ ตามหลักเกณฑ์คือยิ่งมีเงินได้สุทธิมากยิ่งเสียภาษีในอัตราที่มาก ตามขั้นบันได เช่น

1. เงินได้สุทธิ 1-150,000 บ. ได้รับการยกเว้นภาษี
2. เงินได้สุทธิ 150,001 – 300,000 บ. เสียภาษี 5%
3. เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บ. เสียภาษี 10%
4. เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บ. เสียภาษี 15% เป็นต้น

เมื่อร้านค้ารู้ตัวว่าต้องเสียภาษีขายของออนไลน์ สามารถเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้ 2 แบบ ดังนี้

– หักค่าใช้จ่ายตามจริง : เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีต้นทุนสินค้าที่สูง
– แบบเหมาจ่าย 60% : เหมาะสำหรับร้านค้าที่มีกำไรสูง

ซึ่งข้อดีของการยื่นแบบนี้ คือไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่ายใดๆ กับกรมสรรพากร และทำให้เราได้ประโยชน์ทางภาษีในส่วนต่างของต้นทุนที่แท้จริง กับค่าใช้จ่ายแบบเหมานั่นเอง

ช่วงเวลาที่พ่อค้าแม่ค้าต้องยื่นภาษีจะมีอยู่ 2 ช่วง คือ
– ยื่นภาษีประจำปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือน ม.ค. – มี.ค. เป็นการสรุปรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา
– ยื่นภาษีกลางปี (ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือน ก.ค. – ก.ย. เป็นการสรุปรายได้ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีภาษีแรกที่ผ่านมา โดยที่ ค่าลดหย่อน บางรายการจะถูกหักเหลือครึ่งหนึ่งด้วย เช่น ค่าลดหย่อนส่วนตัวจะลดลงจาก 30,000 บาท เหลือ 15,000 บาท โดยการลดหย่อนภาษีในกรณีบุคคลสามารถลดหย่อนได้ตามที่สรรพากรประกาศออกมาในแต่ละปี