ของแพง! คนกรุงรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่น อ่วม แนะรัฐเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

ของแพง! คนกรุงรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่น อ่วม แนะรัฐเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ
ของแพง! คนกรุงรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่น อ่วม แนะรัฐเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

ของแพง! คนกรุงรายได้ต่ำกว่า 1.5 หมื่น อ่วม แนะรัฐเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดสายพันธุ์โอมิครอน มีแนวโน้มส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคธุรกิจและกำลังซื้อของครัวเรือน สวนทางกับค่าครองชีพที่ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาเนื้อสัตว์ ไข่ไก่ น้ำมันพืช พลังงาน และค่าสาธารณูปโภคอย่างค่าไฟฟ้า

ซึ่งจากการสำรวจของศูนย์วิจัยกสิกรไทย พบว่า คนกรุงเทพฯ ที่มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดเมื่อเทียบกับกลุ่มรายได้อื่น โดยราว 36% มองว่าค่าใช้จ่ายปรับเพิ่มขึ้นกว่า 20% เมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 64 ก่อนการปรับขึ้นราคาสินค้า

ดยค่าครองชีพที่ทยอยปรับขึ้นส่งผลให้คนกรุงเทพฯ วางแผนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคโดยเลือกใช้จ่ายสินค้าเท่าที่จำเป็น ลดหรือชะลอการบริโภคสินค้าฟุ่มเฟือย เช่น สินค้าแฟชั่น ลดกิจกรรมสังสรรค์ รวมถึงการหันไปใช้สินค้าทดแทนที่ราคาถูกกว่า โดยในระยะข้างหน้า คนกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ยังมองว่าสถานการณ์ค่าครองชีพที่ปรับขึ้นน่าจะยังไม่คลี่คลายในระยะสั้น และกว่า 50% คาดว่าปัญหาดังกล่าวจะลากยาวมากกว่า 1 ปี

สำหรับการสำรวจประเด็นความคาดหวังของคนกรุงเทพฯ ต่อมาตรการช่วยเหลือและแก้ปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น พบว่า 3 อันดับมาตรการแรกที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือเร่งด่วน คือ 1. ควบคุมราคาสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในหลายประเภทมากขึ้น (เช่น อาหารสดประเภทอื่นๆ ของใช้ในชีวิตประจำวัน และราคาพลังงาน) 2. เพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ และ 3. ขยายมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพด้านสาธารณูปโภค (ค่าไฟฟ้า/ค่าน้ำประปา) ที่สิ้นสุดไปแล้วในเดือน ก.ย. 64

ขณะที่ในส่วนของ ภาคเอกชน ผู้บริโภคต้องการให้ผู้ประกอบการชะลอการปรับขึ้นราคาสินค้า หรือลดปริมาณสินค้า แทนการปรับขึ้นราคา และเพิ่มการจัดโปรโมชั่นกิจกรรมลดราคาสินค้าให้ถี่ขึ้น โดยเฉพาะสินค้าจำเป็น เช่น อาหารปรุงสำเร็จและของใช้ส่วนตัว

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ภาครัฐและเอกชนควรเร่งมือและร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปทานขาดแคลน ให้ตรงจุด รวมถึงเพิ่มโอกาสการแข่งขันของผู้ประกอบการรายย่อยในตลาดควบคู่กันไปด้วย นอกเหนือจากการใช้มาตรการควบคุม/เฝ้าระวังโรดระบาดในสัตว์อย่างเข้มงวด และการเร่งแก้ไขปัญหาราคาวัตถุดิบและค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่ภาคธุรกิจจะต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับตัว และเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการต้นทุนให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือผู้บริโภคและสร้างโอกาสการเติบโตในระยะถัดไป เช่น ลดปริมาณหรือขนาดของสินค้าแทนการปรับขึ้นราคา การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการสต๊อกสินค้า รวมถึงการนำฐานข้อมูลลูกค้า (Big Data) มาช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อให้ธุรกิจสามารถปรับตัวและตอบสนองต่อความต้องการได้แม่นยำมากขึ้น