กัญชาบ้านละ 6 ต้น ได้รับอนุญาตแล้ว 95 ครัวเรือน พื้นที่ บุรีรัมย์ บึงกาฬ นครพนม 

กัญชาบ้านละ 6 ต้น ได้รับอนุญาตแล้ว 95 ครัวเรือน พื้นที่ บุรีรัมย์ บึงกาฬ นครพนม 
กัญชาบ้านละ 6 ต้น ได้รับอนุญาตแล้ว 95 ครัวเรือน พื้นที่ บุรีรัมย์ บึงกาฬ นครพนม 

กัญชาบ้านละ 6 ต้น ได้รับอนุญาตแล้ว 95 ครัวเรือน พื้นที่ บุรีรัมย์ บึงกาฬ นครพนม 

“สรุปแล้วคนธรรมดา ปลูกได้หรือไม่ได้กัญชาบ้านละ 6 ต้น ที่นักการเมืองเคยสัญญาไว้ตอนหาเสียง นี่ก็จะครบ 4 ปีแล้ว ยังไม่เห็นวี่แวว” คือ ส่วนหนึ่งของเสียงสะท้อนจากประชาชน หลัง เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ นำเสนอข่าวความคืบหน้านโยบายกัญชา ซึ่งผู้เกี่ยวข้องระบุว่ามาถูกทิศทางแล้ว เพราะเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจคู่สุขภาพ ทั้งยังเตรียมจะผลักดันให้กัญชาไทยสู่ตลาดโลกด้วย

ล่าสุดทาง นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ จึงออกมาให้ข้อมูลกับ เส้นทางเศรษฐีออนไลน์ เกี่ยวกับการดำเนินงานตาม “โครงการกัญชาครัวเรือน” หรือที่เรียกกันทั่วไป กัญชาบ้านละ 6 ต้นนั้น ว่า ขณะนี้  มี 8 วิสาหกิจ ใน 3 พื้นที่ คือ บุรีรัมย์ 1 แห่ง  บึงกาฬ 2 แห่ง และนครพนม 5 แห่ง ที่ได้รับใบอนุญาตแล้ว โดยมีทั้งหมด  95 ครัวเรือน สามารถปลูกกัญชาได้ 1,440 ต้นต่อปี

นอกจากนี้ ยังมีอีก 77 วิสาหกิจทั่วประเทศ ที่ยื่นคำขอปลูกกัญชาบ้านละ 6 ต้น ตามโครงการกัญชาครัวเรือน โดยอยู่ในระหว่างกระบวนการออกใบอนุญาต 8 วิสาหกิจ รอความเห็นจังหวัด 11 วิสาหกิจ รอตรวจสถานที่ 17 วิสาหกิจ และรอตรวจเอกสาร 41 วิสาหกิจ

ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ เผยเพิ่มเติมว่า พ.ร.บ.ยาเสพติด ฉบับที่ 7 กำลังหมดสิ้นสภาพในวันที่ 9 ธ.ค. นี้ จากนั้นจึงหันมาใช้ประมวลกฎหมายยาเสพติด และมีการประกาศกฎกระทรวงเกี่ยวกับกัญชา ออกตามมา ซึ่งเมื่อประกาศกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว จะทำให้บุคคธรรมดา หรือ นิติบุคคล ร่วมกับ ผู้อนุญาตผลิตยาแผนปัจจุบัน ยาแผนโบราณ และผลิตภัณฑ์สมุนไพร สามารถ “ขออนุญาตปลูกได้เลย” ไม่จำเป็นต้องรวมตัวเป็นวิสาหกิจชุมชน แต่ยังคงต้องเป็นการปลูกกัญชาเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์เท่านั้น

ส่วนประเด็นการปลูกกัญชา 6 ต้นเพื่อสันทนาการ จะมีความเป็นไปได้หรือไม่นั้น นพ.กิตติ บอกว่า คงต้องศึกษารายละเอียดประมวลกฎหมายยาเสพติด โดยเฉพาะในมาตรา 55 ซึ่งระบุถึง พื้นที่พิเศษ ที่ต้องประกาศเป็นพระราชกฤษฎีกาให้เป็นพื้นที่พิเศษ สามารถทดลองใช้กัญชาเหมือนโมเดลในต่างประเทศ แต่ส่วนตัวมองว่า สำหรับในประเทศไทยนั้น คงต้องดูสภาพความพร้อมของพื้นที่นั้นๆ ด้วย