องค์กรควรรับมืออย่างไร เมื่อ พนง. กลับมาทำงานในออฟฟิศ

หมด Work From Home องค์กรควรรับมืออย่างไร เมื่อ พนง. กลับมาทำงานในออฟฟิศ

หลังจากมีการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ มากขึ้น ทำให้หลายๆ บริษัท เริ่มมีพนักงานกลับเข้าไปทำงานในออฟฟิศกันเป็นปกติ แต่การกลับมาทำงานครั้งนี้ หลายๆ คน ก็อาจมีความวิตกกังวลว่าอาจมีการแพร่ระบาดของโควิดในออฟฟิศ

ดังนั้น องค์กรจึงควรมีมาตรการรองรับ เพื่อความปลอดภัยของทั้งลูกค้าและพนักงาน ลดความเสี่ยงจากการต้องปิดกิจการชั่วคราวหากพบผู้ติดเชื้อในสถานประกอบการ

เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ จึงได้แชร์ข้อควรระวังไว้ ดังนี้

1. ความสะอาดของออฟฟิศ

หมั่นทำความสะอาดพื้น หรือพื้นที่ส่วนกลางด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อให้มากขึ้น

ใช้อุปกรณ์สำนักงานที่สามารถทำความสะอาดได้

หากเป็นไปได้ให้ใช้ผ้าทำความสะอาดแบบใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง

หมั่นล้างแอร์ให้บ่อยขึ้น

เตรียมอุปกรณ์ในการทำความสะอาดมือไว้ใกล้ๆ กับพื้นที่หรือบริเวณที่ต้องมีการสัมผัสบ่อยๆ

2. การใส่ใจในสุขภาพของพนักงาน

โดยเริ่มจากการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโควิด เช่น การวัดอุณหภูมิก่อนเข้าออฟฟิศ การตรวจสุขภาพพนักงานก่อนทำงาน มีหน้ากากและเจลแอลกอฮอล์คอยให้บริการอย่างทั่วถึง เป็นต้น

นอกจากนี้ ควรให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตของพนักงานด้วย เนื่องจากโควิดส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจ ดังนั้น บริษัทควรมีการสอบถามถึงสารทุกข์สุกดิบของพนักงาน หรือการช่วยหาทางแก้ปัญหาที่เกิดในการทำงาน เป็นต้น

ข้อดีของการทำการตลาดออนไลน์ด้วยวิธี SEO สำหรับธุรกิจประเภทต่างๆ 

3. ให้ความสำคัญกับการกลับมาสร้างความสัมพันธ์ในออฟฟิศ

เนื่องจากพนักงานใช้เวลาทำงานจากบ้านเต็มเวลาในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าความสัมพันธ์หรือความสนิทที่เคยมีอาจเจือจางไป ดังนั้น การกลับเข้ามาทำงานร่วมกันเป็นทีมแบบเห็นหน้ากันอีกครั้ง

จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เสมือนกับการเริ่มทำความรู้จักหรือสร้างความสัมพันธ์กันใหม่อีกครั้ง องค์กรจำเป็นต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์ที่อาจห่างเหินนี้ และให้เวลาหรือหากิจกรรมที่จะกลับมาสร้างสัมพันธ์กับพนักงานด้วยกันในทีมหลังกลับมาทำงานร่วมกัน

4. สร้างกฎในการคัดกรองคนป่วย

บริษัทควรมีกฎระเบียบด้านสุขภาพเพื่อให้พนักงานได้รับข้อมูล ลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส และคำนึงถึงสิ่งที่ต้องปฏิบัติในกรณีที่เจ็บป่วย รวมถึงกฎในการทำงานให้พร้อมสำหรับ Work From Home เพื่อให้พนักงานเข้าใจถึงสิ่งที่ต้องการจากองค์กร

5. ให้ความรู้ คำแนะนำ และการสื่อสารประชาสัมพันธ์

โดยมีการจัดหาสื่อประชาสัมพันธ์หรือช่องทางให้ความรู้ในการป้องกันและการลดความเสี่ยงการแพร่กระจายเชื้อโควิด-19 ให้กับพนักงานและผู้บริหารทราบ

6. สอบถามพนักงานว่ามีความต้องการอะไรบ้างในการกลับเข้ามาทำงาน

เงื่อนไขชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้น องค์กรจึงควรสอบถามพนักงานในทีมของตนเองว่า หากเรากำลังจะเริ่มกลับเข้ามาทำงานเต็มเวลา พนักงานแต่ละคนมีปัญหาหรือต้องการความช่วยเหลืออย่างไรบ้าง เพื่อจะเอื้อให้พนักงานสามารถกลับเข้ามาทำงานได้อย่างราบรื่นและเหมาะสมกับแต่ละบุคคลมากที่สุด