3 พฤติกรรมต้องระวัง ที่ผู้ประกอบการอาจเข้าข่าย “ฮั้ว” ไม่รู้ตัว

3 พฤติกรรมต้องระวัง ที่ผู้ประกอบการอาจเข้าข่ายฮั้วไม่รู้ตัว

การฮั้ว หรือ การกระทำร่วมกันของผู้ะกอบธุรกิจอันเป็นการผูกขาด ลดการแข่งขั หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด

ซึ่งเป็นการร่วมกันกระทำให้เกิดความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้า เช่น การฮั้วราคา หรือฮั้วประมูล ฯล ผู้ประกอบธุรกิจบางราย อาจมีพฤติกรรมการพูดคุยหรือตกลงราคาร่วมกัน โดยมองว่าเป็นเรื่องปกติที่เคยทำกันมาเป็นปกติ

และไม่ทราบว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย หรือมองว่าเป็นเรื่องที่ดีที่คู่แข่งจได้ไม่ต้องสู้ราคากัน แต่การกระทำนั้น าจส่งผลเสียต่อการแข่งขันในตลาดและผู้ริโภค ทำให้ผู้บริโภคต้องซื้อสินค้าในราคาที่สูงกว่าปกติและป็นการจำกัดทางเลือกซื้อสินค้า

พฤติกรรมการร่วมกันทางธุรกิจบางอย่างที่ถึงแม้จะไม่ได้ทำให้เกิดการผูกขาดหรือเกิดความเสียหายต่อการแข่งขันทางการค้าอย่างร้ายแรง แต่ก็อาจผิดกฎหมายการแข่งขันทางการค้าตามมาตรา 55 ได้ สำนักงานคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า หรือ สขค. ได้เปิดข้อสังเกตพฤติกรรมการฮั้ว โดยมีดังนี้

การลดคุณภาพของสินค้าหรือบริการให้ต่ำลงกว่าที่เคยผลิต จำหน่าย หรือให้บริการ โดยจะพิจารณาถึงการลดคุณภาพสินค้าหรือบริการในตลาดของผู้ประกอบธุรกิจแต่ละราย เนื่องจากผู้ประกอบธุรกิจแต่ละรายอาจลดคุณภาพสินค้าหรือบริการในรายละเอียดที่แตกต่างกัน

การแต่งตั้งหรือมอบหมายให้บุคคลใดแต่ผู้เดียวเป็นผู้จำหน่ายสินค้าหรือให้บริการอย่างเดียวกันหรือประเภทเดียวกัน โดยจะต้องมีการแต่งตั้งหรือมอบหมาย ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบอื่นก็ตาม รวมถึงบุคคลนั้นอาจเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้และอยู่ในตลาดประเภทเดียวกัน

การกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติทางการค้า กล่าวคือ ร่วมกันกำหนดเงื่อนไขหรือวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อหรือจำหน่ายสินค้าหรือการบริการเพื่อให้ปฏิบัติตามที่ตกลงกัน ไม่ว่าจะเป็นลายลักษณ์อักษรหรือรูปแบบอื่นก็ตาม หากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขอาจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจนั้นได้

ผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการฮั้ว

การฮั้วที่เข้าข่ายผิดกฎหมายในลักษณะต่างๆ ดังกล่าว นำไปสู่ปัญหาการผูกขาด การลดการแข่งขัน และการจำกัดการแข่งขัน กล่าวคือ ผู้ประกอบธุรกิจมีอำนาจกำหนดราคาและปริมาณสินค้าหรือบริการของตนเองได้อย่างอิสระทำให้การแข่งขันในตลาดลดลง จำนวนสินค้าหรือบริการในตลาดที่แข่งขันลดลง จำนวนคู่แข่งในตลาดลดลง คู่แข่งรายอื่นถูกจำกัดสิทธิหรือโอกาสในการดำเนินการเพื่อแข่งขันในตลาด

ส่งผลกระทบต่อทั้งผู้บริโภคและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ เนื่องจากการแข่งขันระหว่างคู่แข่งที่อยู่ในตลาดเดียวกันมีจำนวนลดลง อย่างไรก็ตาม ยังมีการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจในลักษณะที่ไม่ถือว่าเป็นการกระทำผิด กรณีที่การฮั้วนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการวิจัยหรือพัฒนาการผลิต การจัดจำหน่ายสินค้า และการส่งเสริมให้เกิดความก้าวหน้าทางเทคนิคหรือเศรษฐกิจโดยต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อผู้บริโภคในด้านต่างๆ ไม่เป็นการจำกัดทางเลือกสินค้าและไม่ก่อให้เกิดการผูกขาดในตลาด

บทลงโทษทางกฎหมายและแนวทางปฏิบัติของ สขค.

ประกาศคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า เรื่อง แนวทางปฏิบัติในการพิจารณาการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาด .. 2561

ได้กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับการกระทำร่วมกันของผู้ประกอบธุรกิจอันเป็นการผูกขาด หรือลดการแข่งขัน หรือจำกัดการแข่งขันในตลาดไว้หลายกรณี ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆ

ซึ่งแต่ละกรณีจะส่งผลกระทบหรือก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงต่อการแข่งขันในตลาดและผู้บริโภคที่แตกต่างกัน กฎหมาย จึงกำหนดบทลงโทษที่แตกต่างกันไปตามความร้ายแรงที่เกิดขึ้น โดยการฮั้วแบบรุนแรงตามมาตรา 54 ได้กำหนดบทลงโทษอาญา

จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับ ไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด หรือทั้งจำทั้งปรับ ในส่วนของการฮั้วแบบไม่ร้ายแรงตามมาตรา 55 มีโทษทางปกครองต้องชำระค่าปรับไม่เกิน 10% ของรายได้ในปีที่กระทำความผิด