แนะกลยุทธ์ ช่วย SMEs ปรับตัวให้อยู่รอด ในสถานการณ์ย่ำแย่

แนะกลยุทธ์ ช่วย SMEs ปรับตัวให้อยู่รอด ในสถานการณ์ย่ำแย่
แนะกลยุทธ์ ช่วย SMEs ปรับตัวให้อยู่รอด ในสถานการณ์ย่ำแย่

แนะกลยุทธ์ ช่วย SMEs ปรับตัวให้อยู่รอด ในสถานการณ์ย่ำแย่

ในยุคที่เศรษฐกิจมีความผันผวนสูง เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ระบาด ส่งผลให้ผู้ประกอบการ SMEs จะต้องเร่งวางแผนและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ในการดำเนินงานอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยประคับประคองไม่ให้ธุรกิจที่อยู่ในมือต้องปิดตัวลง โดย ธนาคารกรุงเทพ ได้แนะนำกลยุทธ์ ช่วยให้ SMEs สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ ดังนี้ 

1. ให้ความสนใจกับโลกออนไลน์มากยิ่งขึ้น!

SMEs ต้องเข้าใจว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไปจากเดิมเป็นอย่างมาก การเลือกซื้อสินค้าทางออนไลน์ คือสิ่งที่กำลังได้รับความนิยมถึงขีดสุด เพราะเข้าถึงง่าย สะดวกสบาย รวดเร็ว มีเวลาตัดสินใจและไม่ต้องออกจากบ้าน

ดังนั้น การขายสินค้า/บริการผ่านโลกออนไลน์ จึงกลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่จะทำให้ธุรกิจในมือของคุณดำรงอยู่ได้และมีโอกาสที่จะเติบโตได้มากกว่าเดิม อีกทั้งตลาดออนไลน์เป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ คุณจึงสามารถเจาะกลุ่มลูกค้าผ่านทางโฆษณาบนแพลตฟอร์มต่างๆ ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด รวมไปถึงคุณสามารถติดต่อสื่อสารกับลูกค้าได้แบบใกล้ชิด ซึ่งมันจะทำให้คุณรู้ว่าแท้ที่จริงแล้วลูกค้าต้องการอะไร? หรือมีจุดไหนที่ธุรกิจของคุณต้องปรับปรุง

2. มองหาและจับมือกับธุรกิจ SMEs อื่นๆ

ในช่วงวิกฤตแบบนี้ การจับมือและทำงานร่วมกัน จะช่วยให้ธุรกิจในกลุ่ม SMEs มีความแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม เช่น ธุรกิจที่ต้องมีการจัดส่งสินค้า อาจจะร่วมมือกับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง เพื่อราคาในการจัดส่งสินค้าที่ถูกลงและธุรกิจบริการขนส่งจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น หรือเพื่อลดต้นทุนธุรกิจ ซึ่งในกรณีแบบนี้จะเป็นการเอื้อผลประโยชน์ร่วมกันของธุรกิจ SMEs ทั้งสองนั่นเอง เคยได้ยินมั้ย รวมกันเราอยู่

3. ศึกษาความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอ

การศึกษาและทำความเข้าใจกับความต้องการต่างๆ ของผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการทุกคนไม่ควรที่จะมองข้าม ยิ่งถ้าคุณจับทางความต้องการของพวกเขาได้ถูกจุด ว่าตอนนี้ผู้บริโภคต้องการอะไร สิ่งไหนคือสิ่งที่ช่วยแก้ไขปัญหาหรืออำนวยความสะดวกให้กับพวกเขา จะทำให้ธุรกิจของคุณเติบโตสวนทางกับสภาวะเศรษฐกิจได้อย่างแน่นอน

โดยวิธีการศึกษาความต้องการของผู้บริโภคก็อาจจะทำได้ โดยการเก็บสถิติ จัดทำแบบสอบถามออนไลน์หรือสอบถามกับลูกค้าของคุณเอง

4. ปรับแต่งธุรกิจที่อยู่ในมือ

ยกตัวอย่างเช่น ปกติเคยขายแต่สินค้าประเภทเดียว ก็ต้องปรับเปลี่ยนหาสินค้าใหม่ๆ มากระตุ้นความต้องการของลูกค้า หรือปกติเคยขายแต่สินค้าส่ง ก็อาจจะต้องเพิ่มการขายปลีกเข้าไป เพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นจากเดิม เป็นต้น ทั้งนี้ คุณก็อาจจะต้องดูความเหมาะสมของพื้นฐานธุรกิจเป็นหลักว่าสามารถปรับแต่งได้มากน้อยขนาดไหน

รวมไปถึงคุณต้องใส่ใจในเรื่องการตรวจเช็กสต๊อกของ การจัดส่งของ เพื่อให้ทุกๆ อย่างถึงมือลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ จนสามารถสร้างความประทับใจต่อธุรกิจของคุณนั่นเอง

ที่มา ธนาคารกรุงเทพ, ภาพ https://www.freepik.com/