แนะกลยุทธ์ จัดทำแผนส่งออกอย่างไร ให้โดดเด่นในเวทีโลก 

แนะกลยุทธ์ จัดทำแผนส่งออกอย่างไร ให้โดดเด่นในเวทีโลก  แม้ประเทศไทยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม แต่ศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี
แนะกลยุทธ์ จัดทำแผนส่งออกอย่างไร ให้โดดเด่นในเวทีโลก  แม้ประเทศไทยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม แต่ศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี

แนะกลยุทธ์ จัดทำแผนส่งออกอย่างไร ให้โดดเด่นในเวทีโลก 

แม้ประเทศไทยยังเผชิญกับสถานการณ์โควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในภาพรวม แต่ศักยภาพในการแข่งขันของสินค้าไทยในตลาดโลกยังมีแนวโน้มเติบโตได้ดี สะท้อนจากตัวเลขส่งออกของไทยที่กระทรวงพาณิชย์ประกาศล่าสุด ยังมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง 

คุณอเนก ตันตสิรินทร์  ไดเร็กเตอร์ และดีไซเนอร์ แบรนด์ Arquetype
คุณอเนก ตันตสิรินทร์  ไดเร็กเตอร์ และดีไซเนอร์ แบรนด์ Arquetype

คุณอเนก ตันตสิรินทร์  ไดเร็กเตอร์ และดีไซเนอร์ แบรนด์ Arquetype นักออกแบบชื่อดังของเมืองไทย ที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก (Designers’ Room & Talent Thai Promotion 2021) ได้ให้คำแนะนำแก่นักออกแบบไทยในการเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างแบรนด์ เพื่อการวางแผนส่งออกสินค้าสู่ตลาดต่างประเทศ ประกอบด้วย  

1. การสร้างแบรนด์เครื่องประดับสู่ตลาดโลก สิ่งสำคัญคือ การสร้างดีไซน์ ต้องมีความแตกต่าง เพื่อสร้างความจดจำให้กลุ่มลูกค้า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (แพ็กเกจจิ้ง) ต้องมีความสวยงาม และมีเอกลักษณ์ที่แตกต่าง

2. การจัดระบบเก็บข้อมูลทุกอย่างให้อยู่ในระบบ เพราะเป็นข้อมูลสำคัญที่จะนำมาใช้บริหารจัดการองค์กรได้ในระยะยาว

3. การจัดทำแผนการผลิตและแผนการตลาด แผนการเงิน และการตั้งเป้าหมายยอดขาย เพื่อทำให้แบรนด์สามารถเดินหน้าไปสู่เป้าหมายธุรกิจที่วางแผนไว้

4. การประเมินคำสั่งซื้อสินค้าให้รอบคอบ หากได้รับคำสั่งซื้อจำนวนมากต้องคำนวณว่าจะมีผลกำไรในการผลิตหรือไม่ รวมถึงการที่ได้รับคำเชิญเข้าสู่ห้างดังของต่างประเทศ และร้านมัลติแบรนด์ชื่อดังในต่างประเทศก็จะต้องคำนวณต้นทุนได้ให้ดีที่สุดและพิจารณาให้รอบคอบเพื่อไม่ให้ขาดทุนในการทำตลาด

5. การวางกลยุทธ์ราคา ควรจะมีการกำหนดราคาที่ต้องเพิ่มมาร์จินไม่ต่ำกว่า 50% หรือในสถานการณ์ปัจจุบันไม่ควรต่ำกว่า 30% โดยต้องคำนวณค่าเงินเทียบกับเงินบาทไทยและเงินดอลลาร์สหรัฐ รวมถึงค่าธรรมเนียมต่างๆ ทั้งนี้ ต้นทุนในการทำงาน การเดินทาง การขนส่ง ต้นทุนในการจ่ายค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต เป็นต้น

6. การเลือกช่องทางจำหน่ายสินค้าในต่างประเทศให้มีความเหมาะสมกับแบรนด์ โดยเมื่อนำไปแสดงสินค้าทั้งในร้านคอนเซ็ปต์สโตร์ มัลติแบรนด์ หรือ การจัดป๊อปอัพสโตร์ ก็ควรเลือกวางคอนเซ็ปต์ในการจัดวางสินค้าให้ชัดเจนตรงกับภาพลักษณ์ของแบรนด์มากที่สุด

แม้ปัจจุบันไม่สามารถไปร่วมงานแฟร์ในต่างประเทศได้ตามปกติ แต่นักออกแบบต้องเตรียมความพร้อมไว้ เพราะเมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว ประเมินว่างานแฟร์จะกลับมาขยายตัวดีขึ้น เนื่องจากผู้ซื้อยังมีความต้องการเห็นหรือสัมผัสสินค้าตัวจริง เพราะที่เห็นในรูปอาจจะไม่ได้สื่อสารเรื่องราวของสินค้าหรือแบรนด์ได้อย่างชัดเจน

โดยแนวทางที่ควรเตรียมการเมื่อต้องไปร่วมงานแฟร์ในต่างประเทศ มีดังนี้

  • เริ่มจากการศึกษาของข้อมูลของงานแฟร์ในต่างประเทศ การศึกษาตลาดต่างประเทศ และการพิจารณาทั้งผู้ซื้อ และตัวแทนจำหน่ายสินค้า ที่จะมาร่วมงานแต่ละรายว่าผลการดำเนินงานที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในการนำแบรนด์ต่างประเทศไปตลาดต่างประเทศหรือไม่
  • การเตรียมตัวก่อนไปร่วมงานแสดงสินค้าประมาณ 1-2 เดือน ต้องทำหนังสือส่งทางอีเมลเพื่อเชิญชวนทั้งผู้ซื้อ และผู้มาร่วมงานมาเยี่ยมชมบู๊ธ และเมื่อถึงกำหนดเวลาก่อนออกงานแสดงสินค้า 1-2 วัน ควรส่งอีเมลเพื่อย้ำเตือนกับลูกค้าให้มาเยี่ยมชมบู๊ธอีกรอบ
  • ระหว่างงานแสดงสินค้าก็ต้องจัดแสดงสินค้า (ดิสเพลย์) ให้เหมือนการขายจริงในพื้นที่จริง และจะมีการนำดิสเพลย์ไปขายให้แก่ลูกค้าด้วย เพื่อทำให้ลูกค้าที่เลือกซื้อสินค้าแล้วสามารถนำสินค้าไปวางทำตลาดได้ทันที
  • เมื่อมีลูกค้ามาเยี่ยมชมบู๊ธ ต้องเก็บนามบัตรไว้และส่งอีเมลหาลูกค้าว่า แบรนด์จะอยู่ต่ออีกหลายวันหลังจบงานแสดงสินค้าแล้ว ซึ่งหากมีความสนใจก็สามารถนัดมาเจอกันเพื่อพิจารณาสินค้าเพิ่มเติมได้ ซึ่งถ้าลูกค้าสนใจสินค้าก็จะตอบอีเมลกลับมาและส่วนใหญ่ก็จะได้ออร์เดอร์กลับมาตลอด

คุณอเนก กล่าวว่า สิ่งสำคัญคือ การทำให้ลูกค้าทั้งผู้ซื้อ และตัวแทนจำหน่าย รู้สึกว่ามีความสะดวกในการทำงานร่วมกับแบรนด์ สามารถทำงานได้ง่ายและไม่ยุ่งยาก ทุกคนต้องเข้าใจว่าโลกในปัจจุบันไม่ได้เหมือนเดิม เพราะในตลาดมีแบรนด์อยู่จำนวนมาก และเป็นแบรนด์คู่แข่งที่ผลิตสินค้าอยู่ในตลาด ซึ่งทุกรายต้องทำงานกับผู้ซื้อ และตัวแทนจำหน่าย มีการส่งสินค้าใหม่ที่เป็น new look มาตลอดในทุกเดือนและต้องคิดว่ามีแบรนด์ที่ขยันทำงานมาก ดังนั้น เจ้าของแบรนด์ต้องเริ่มจากการสร้างพื้นฐานแบรนด์ให้แข็งแรงและการกำหนดแผนตลาดให้ชัดเจน

นอกจากนี้ การปรับแผนอย่างทันท่วงทีก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่างในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แบรนด์มีการปรับแผนใหม่เช่นกัน โดยจากเดิมมีสาขา 3-4 สาขาได้ปรับลดเหลือเพียงสาขาเซ็นทรัลเอ็มบาสซี พร้อมปรับแผนใหม่ขยายสู่ช่องทางออนไลน์มากขึ้น และมองหาพันธมิตรเพื่อเพิ่มช่องทางทำตลาด รวมทั้งสำรวจสต๊อกสินค้าและหาช่องทางกระจายสต๊อก ตลอดจนต้องเข้าใจเรื่องสัญญาการค้าที่ในปัจจุบันส่วนใหญ่คู่ค้านิยมทำสัญญาแบบ consignment