เปิดกลยุทธ์ “นักออกแบบชั้นนำ” สู่การสร้างแบรนด์ให้เติบโตยั่งยืน

เปิดกลยุทธ์ “นักออกแบบชั้นนำ” สู่การสร้างแบรนด์ให้เติบโตยั่งยืน
เปิดกลยุทธ์ “นักออกแบบชั้นนำ” สู่การสร้างแบรนด์ให้เติบโตยั่งยืน

เปิดกลยุทธ์ “นักออกแบบชั้นนำ” สู่การสร้างแบรนด์ให้เติบโตยั่งยืน

ความสำเร็จของแบรนด์ตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นจากเอเชียในการก้าวสู่ตลาดโลกไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป เห็นได้อย่างชัดเจนจากแบรนด์เสื้อผ้าของญี่ปุ่นคือ “ยูนิโคล่” สามารถก้าวขึ้นสู่แบรนด์เสื้อผ้าฟาสต์แฟชั่นที่มีมูลค่ากิจการสูงสุดในโลกอันดับหนึ่งได้สำเร็จแซงหน้าแบรนด์จากฝั่งยุโรป 

จากความสำเร็จของแบรนด์เสื้อผ้าเอเชียในตลาดโลกจะเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสะท้อนได้ว่า แบรนด์เสื้อผ้าแฟชั่นในตลาดเอเชียกำลังก้าวสู่แบรนด์ที่มีอำนาจในตลาดเสื้อผ้าแฟชั่นในโลกและเป็นที่จับตามองของผู้บริโภคทั่วโลกมากขึ้น

สำนักส่งเสริมนวัตกรรมและสร้างมูลค่าเพิ่มเพื่อการค้า กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ได้จัดทำ “โครงการส่งเสริมนักออกแบบไทยสู่ตลาดโลก (Designers’ Room & Talent Thai Promotion 2021) ต่อเนื่องเป็นปีที่ 19 แล้ว ซึ่งในปีนี้มีวิทยากรพิเศษซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการทำการตลาดและการสร้างแบรนด์มาร่วมให้คำแนะนำนักออกแบบไทยในการสร้างแบรนด์ให้เติบโตในตลาดโลกได้อย่างยั่งยืน สำหรับแนวทางการสร้างแบรนด์ให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน ประกอบไปด้วย

  • การสร้างแบรนด์ภายใต้แนวคิดการตลาดแบบ “อิคิไก” ของประเทศญี่ปุ่น ด้วยการนำสิ่งที่รักมาสร้างนำเสนอสู่ผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากที่สุด และจะช่วยทำให้การสร้างแบรนด์ให้มีความยั่งยืน
  • การศึกษาข้อมูลของผู้บริโภคในเชิงลึก ทั้งข้อมูลเชิงประชากรและข้อมูลพฤติกรรม ข้อมูลตลาดของคู่แข่ง เพื่อปรับแผนธุรกิจและแบรนด์ทำตลาดได้อย่างรวดเร็ว
  • การสร้างแบรนด์ด้วยการนำเสนอความเป็นมาของธุรกิจที่มีความน่าสนใจ และสร้างเรื่องราวที่ประทับใจต่อลูกค้า จะทำให้แบรนด์สามารถอยู่ในใจของลูกค้าได้ในระยะยาว
  • การสร้างแบรนด์จะต้องทำการเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และทำการวิจัยเก็บข้อมูลด้วยตัวเอง พร้อมมุ่งเติมองค์ความรู้ใหม่อย่างไม่จำกัด เพราะการเรียนรู้เกิดขึ้นได้ตลอดชีวิต ทำให้แบรนด์มีสิ่งใหม่ มีความสร้างสรรค์มานำเสนอต่อลูกค้าต่อเนื่อง
  • การปรับและเลือกใช้เศษวัสดุต่างๆ มาสร้างงานดีไซน์ใหม่เพื่อสร้างสินค้าใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น โดยเป็นเทรนด์ในเรื่องการสร้างความยั่งยืนที่มีความสอดคล้องกับนโยบายของภาครัฐในการมุ่งขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในโลก
  • การนำเทคโนโลยีใหม่มาร่วมทำการตลาดที่สามารถวัดประสิทธิภาพผลการทำตลาดได้อย่างตรงจุด พร้อมเลือกใช้ช่องทางทำตลาดผ่านแฟลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพอย่างสูงสุด
นายณภัทร ศิลาพันธ์ Marketing Specialist
นายณภัทร ศิลาพันธ์ Marketing Specialist

นายณภัทร ศิลาพันธ์ Marketing Specialist วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในการทำตลาดและการสร้างแบรนด์ ให้คำแนะนำแก่นักออกแบบรุ่นใหม่ว่าสิ่งสำคัญในการสร้างแบรนด์ได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว คือ

  1. การมีความเข้าใจความต้องการของผู้บริโภคในเชิงลึก โดยต้องมีความเข้าใจในเรื่องของ UNDERSTAND THE POTENTIAL MARKETS AND ITS SIZE OF PRIZE กับตลาดโดยองค์รวม ว่าแบ่งเป็นกี่ประเภท ขนาดตลาดมีกี่กลุ่ม อำนาจในการจ่ายมีเท่าไหร่ ซึ่งสามารถแบ่งเป็นการเข้าใจข้อมูลประชากร และนักการตลาดได้มีการแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามรายได้ โดยกลุ่ม A มีรายได้ 70,000-80,000 บาทต่อเดือน กลุ่ม B รายได้ 50,000-70,000 บาทต่อเดือน กลุ่ม C รายได้ 30,000-50,000 บาทต่อเดือน และกลุ่ม D รายได้ต่ำกว่า 30,000 บาทต่อเดือน ทั้งนี้ กลุ่ม C และ D จะมีสัดส่วนมากสุด 70% กลุ่ม B มีสัดส่วน 20% และกลุ่ม A มีสัดส่วน 10% ต่อมาต้องเข้าใจถึงข้อมูลพฤติกรรม เช่น บุคลิกภาพ ทัศนคติ ไลฟ์สไตล์ ความชื่นชอบ
  2. การเริ่มต้นแบรนด์ใหม่จะต้องเข้าใจ ผู้เล่น หรือ คู่แข่ง ในตลาด ทั้งแบรนด์ไทยหรือต่างชาติและนำมาเชื่อมโยงกับผู้บริโภค พร้อมหาจุดแตกต่างเพื่อนำเสนอสินค้าสู่ผู้บริโภค ทั้งการนำสิ่งที่ลูกค้าต้องการมารวมกับสิ่งที่แบรนด์ทำได้ดี หรือการหา IDENTIFY UNIQUE SELLING PROPOSITION (USP) ที่ต้องแตกต่างจากคู่แข่ง พร้อมจัดทำคอนเทนต์การตลาด ให้ตรงกับใจกลุ่มเป้าหมายและเล่าเรื่องที่ทำให้เกิดคุณค่า เพื่อสร้างการจดจำและนำเสนอซ้ำๆ ส่งผลให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า ซึ่งการเล่าเรื่องให้เป็นที่จดจำต้องใส่ EMOTIONAL อารมณ์เข้าไป ยิ่งตรงใจของลูกค้า

ข้อแนะนำในการสร้างเรื่องราวของแบรนด์ให้มีความโดดเด่น ประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ด้านคือ หาเรื่องราวที่ทัชใจและประสบการณ์ที่กลุ่มเป้าหมายได้พบเจอ และบอกเล่าเรื่องราวของเราให้แตกต่างออกไป พร้อมใช้แผนสร้างการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย 1. สร้างการรับรู้ 2. สร้างการพิจารณาเป้าหมาย คือ สร้าง ENGAGEMENTS 3. โฆษณาเพื่อให้เกิดการซื้อ 4. การซื้อซ้ำ และ 5. การสร้างการจดจำ ทำให้เกิดการบอกต่อ

ขณะเดียวกัน จะต้องใช้เครื่องมือการตลาดมาวัดผลว่าการทำตลาดแล้วประสบความสำเร็จในระดับโด โดยการใช้ KPI MATRICS ในการวัดค่าใช้จ่าย เพื่อประเมินว่าลูกค้าเห็นแบรนด์จำนวนเท่าใด ซึ่งสามารถจัดเก็บข้อมูลด้วยการใช้ CPM หรือ Cost Per Impression สำหรับในกรณีภาพนิ่ง และวัดผลด้วย CPV/CPCV หรือ CPV Cost per View สำหรับวิดีโอ ซึ่งสามารถลองทดสอบด้วยการใช้เงินลงทุนครั้งละน้อยๆ ก่อนขยายลงทุนต่อเนื่องในระยะยาว

นายธีระ ฉันทสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์
นายธีระ ฉันทสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์

นายธีระ ฉันทสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์ วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญกับการวางแผนการออกแบบในการทำงานร่วมกับชุมชนได้ให้คำแนะนำว่า สิ่งสำคัญสำหรับนักออกแบบสินค้าที่ต้องดำเนินการจะต้องประกอบไปด้วย 6 ข้อที่สำคัญ ที่สามารถนำไปปรับใช้ในการดำเนินงาน ประกอบด้วย

  1. จะต้องทำความเข้าใจกับโจทย์ที่ให้มา ตีโจทย์ให้แตก มองมุมต่างจากคนอื่น หาคีย์เวิร์ดให้เจอ โดยแม้ว่าการจินตนาการสำคัญกว่าความรู้ แต่จินตนาการจะเป็นเรื่องเพ้อฝันถ้าไม่ลงมือทำ
  2. ต้องเรียนรู้ไม่มีที่สิ้นสุด ให้คิดเสมอว่าเราเป็นน้ำที่ไม่เต็มแก้ว โดยการทำงานที่ผ่านมาได้ยึดแนวทาง การวิจัยและพัฒนา พร้อมต้องจดบันทึกลงใน SKETCH BOOK เพราะการจดจะทำให้เราเป็นระเบียบ และเป็นการบันทึกเรื่องราวการทำงานเพื่อนำมาเป็นคอนเซ็ปต์สำหรับการสร้างแรงบันดาลใจในการผลิตผลงานต่อไป อีกทั้งยังสามารถเล่าเรื่องให้คนอื่นฟังได้ นอกจากนี้ เราต้องรู้ว่ากลุ่มลูกค้าเป็นใครและจะทำสินค้าจำหน่ายกลุ่มใด โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์
  3. การหา “แรงบันดาลใจคือที่มาในการสร้างเรื่องราวในสิ่งที่เราจะทำให้มีตัวตน มีรูปธรรม ให้เป็นที่จดจำ” ประกอบด้วย การมี TARGET GROUP หน้าตา อายุ แต่งตัวยังไง, TASTE OF LIVING การแต่งบ้าน, LIFE STYLE ใช้ชีวิตยังไง ชอบอะไร, MUSE บุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้นักออกแบบและเป็นคนที่มีตัวตนในสังคม
  4. การมุ่งมั่นทำงานและขยันต่อเนื่อง เนื่องจาก “คนเก่งแพ้คนขยัน แต่ขยันอย่างเดียวไม่ได้ ต้องมาพร้อมกับ ความคิดที่เป็นระเบียบ” ทั้งการหา TARGET GROUP และการประเมินต้นทุนการผลิต
  5. เรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้ เพราะการให้นั้นสุขทั้งผู้ให้และผู้รับ” โดยที่ผ่านมาได้มีการลงพื้นที่ และร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสิ่งที่มีอยู่ในพื้นที่ต่างๆ มาสู่สิ่งใหม่ ทั้งการนำผ้าไหมไทยแถบอีสาน ผสมวิกตอเรี่ยน มาเป็นแรงบันดาลใจสร้างสิ่งใหม่, การนำเอกลักษณ์นกของการพับ ORIGAMI นำมาทำลวดลายผ้า รวมถึงมีการนำเทรนด์สีพาสเทลมาใช้ แต่ปรับใหม่ด้วยการเติมสีน้ำตาลกับเทาลงไป 5% เพื่อทำให้สีดูสุภาพ ตลอดจนการนำแรงบันดาลใจจากการเดินทางไปทั่วโลกมาออกแบบ เช่น ภาพถ่ายจากแสงดาวเหนือมาดึงสีเพื่อมาออกแบบสีใหม่ ส่วนการ SKETCH ควรทำเผื่อไว้เยอะๆ แล้วมาเลือกที่ดีที่สุด
  6. การแบ่งปัน” “CIRCULAR DESIGN REVIVA” โดยการออกแบบหมุนเวียนคือการดีไซน์ผลิตภัณฑ์ หรือ วัสดุ ให้สามารถถูกนำกลับไปใช้อย่างต่อเนื่อง ทำให้ทรัพยากรถูกใช้อย่างคุ้มค่า เพราะถูกนำกลับมาใช้ใหม่ มีการใส่ความคิดสร้างสรรค์และอัตลักษณ์ลงไป รวมถึงใช้ทักษะความถนัดในการทำงานฝีมือ ทำให้วัสดุเหลือใช้ไม่มีค่า มาดัดแปลงเป็นงานดีไซน์ผสมกับความร่วมสมัยให้เข้ากับเทรนด์ปัจจุบัน

นายธีระ กล่าวต่อทิ้งท้ายว่า การพัฒนาสินค้าต้องปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากการมีโรคระบาดโควิด-19 จึงจำเป็นต้องศึกษาตลาดและกำหนดราคาสินค้าให้เหมาะสมกับผู้บริโภคมากที่สุด พร้อมกับการให้ความสำคัญกับการนำวัสดุที่เหลือใช้และเศษวัสดุมาปรับดีไซน์สู่สินค้าใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น เป็นเทรนด์ที่กำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ที่จะช่วยเรื่องต้นทุนและเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า