อย. ส่งหนังสือเตือน พิมรี่พาย ไลฟ์ขายน้ำแถมชุดตรวจโควิด ผิดกฎหมาย 

อย. ส่งหนังสือเตือน พิมรี่พาย ไลฟ์ขายน้ำแถมชุดตรวจโควิด ผิดกฎหมาย 
อย. ส่งหนังสือเตือน พิมรี่พาย ไลฟ์ขายน้ำแถมชุดตรวจโควิด ผิดกฎหมาย 

อย. ส่งหนังสือเตือน พิมรี่พาย ไลฟ์ขายน้ำแถมชุดตรวจโควิด ผิดกฎหมาย 

จากกรณี “พิมรี่พาย” ออกมาไลฟ์สดขายของออนไลน์ โดยเธอผุดไอเดียเด็ด ขายน้ำแร่ แถมชุดตรวจโควิดฟรี พร้อมเผยในไลฟ์สดว่า “ขายน้ำคิตตี้หาดื่มยากมาก แถมชุดตรวจโควิดฟรี 1 อัน พร้อมย้ำไม่ได้ขายแต่แถม”

อ่านเพิ่มเติม

พิมรี่พาย ขายน้ำแร่แถมชุดตรวจโควิดฟรี! หลัง อย. ห้ามขายผ่านออนไลน์

ล่าสุด วันที่ 17 ส.ค. 2564 ข่าวสดออนไลน์ รายงานว่า นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงกรณี น.ส.พิมรดาภรณ์ เบญจวัฒนะพัชร์ หรือ พิมรี่พาย ไลฟ์สดขายน้ำเปล่า ต่อมาระบุเป็นน้ำแร่สามโคกแถมชุดตรวจแอนติเจน เทสต์ คิท (ATK) ว่า เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ ตาม พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ ถือว่าการจำหน่าย จ่าย แจก มีความหมายเท่ากับเป็นการขายทั้งหมด ไม่เช่นนั้นคนจะเอาเหตุผลนี้ไปทำการแจกแถม เพราะผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ต้องมีการระมัดระวัง

นพ.สุรโชค กล่าวต่อว่า ในส่วนของ ATK อย. อนุญาตให้ขายในร้านขายยา คลินิก สถานพยาบาล เท่านั้น ส่วนการโฆษณาต้องมีการขออนุญาตจาก อย. ก่อน แม้จะเป็นคนที่สามารถโฆษณาขายได้ เช่น ร้านขายยาก็ต้องมาขออนุญาตว่าจะโฆษณาด้วยคำพูดอย่างไรที่ไม่มีการพูดเกินจริง เหมือนกับผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะโฆษณาก็ต้องขออนุญาต

พิมรี่พายขณะไล์ขายของ
พิมรี่พายขณะไลฟ์ขายของ

“กรณี พิมรี่พาย เป็นการขายโดยบุคคลที่เราไม่อนุญาตให้ขาย โฆษณาด้วยการออกสื่อเช่นนี้เป็นการโฆษณาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ต้องขออนุญาตก่อน แต่ไม่ได้ขออนุญาต และผลิตภัณฑ์ที่นำมาขายเท่าที่ดูเป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนกับ อย. จากกรณีทั้งหมดถือเป็นความผิดตามกฎหมาย มีโทษตั้งแต่เบาไปหาหนัก สูงสุดคือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท ดังนั้น อย. จะมีการส่งหนังสือเตือนไปยังพิมรี่พาย และให้เข้ามาพูดคุยกัน ซึ่งจะต้องดูเจตนาด้วย ว่าเจตนาหรือไม่ หรือทำเพราะไม่รู้ว่าผิด เพราะบางคนที่ อย. เตือนไปแล้วก็เข้าใจ” นพ.สุรโชค กล่าว

เมื่อถามว่าขณะนี้มีการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพออนไลน์จำนวนมาก มองว่าแค่ขายของทำมาหากินจะอะไรกันหนักหนา นพ.สุรโชค กล่าวว่า อย. ไม่ได้ห้ามเรื่องการโฆษณา สามารถโฆษณาได้ ก็เห็นตัวอย่างอยู่ แต่ อย. ไม่ได้อนุญาตให้ทุกผลิตภัณฑ์ ถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่เสี่ยงหรือเสี่ยงไม่มาก ประชาชนสามารถซื้อหามาใช้ได้ เช่น ยาสามัญประจำบ้านก็ให้โฆษณาได้ ถ้าเป็นยาอันตราย หรือยาควบคุมพิเศษก็ไม่อนุญาตให้โฆษณา

นพ.สุรโชค กล่าวอีกว่า แม้แต่อาหาร ถ้าเป็นอาหารทางการแพทย์ก็ไม่ได้อนุญาตให้มีการโฆษณาขาย แต่โฆษณาเฉพาะกับบุคคลบางอย่างได้ อย่างไรก็ตาม ในผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่ อย. อนุญาตให้ทำการโฆษณาได้ ก็ต้องมาขออนุญาตโฆษณา เพื่อให้ อย. ดูเรื่องข้อความการสื่อสารถึงประชาชนว่าไม่มีการโอเวอร์เคลมหรือกล่าวเกินจริง

ที่มา ข่าวสดออนไลน์