งานหาย เงินหด บ้านยังต้องผ่อน ทำอย่างไรไม่ให้โดนยึด?

งานหาย เงินหด บ้านยังต้องผ่อน ทำอย่างไรไม่ให้โดนยึด?

โควิด-19 รอบ 3 ใครๆ ก็บอกว่าระบาดหนักกว่าครั้งก่อนๆ ภาระหนี้สินมากมาย แต่ที่ยอมโดนยึดไปไม่ได้ก็คือ บ้าน แต่จะทำอย่างไรเมื่อวิกฤตนี้ทำงานหาย เงินก็หด เว็บไซต์ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้แนะนำว่า ให้ลูกหนี้แจ้งความจำนงกับธนาคารเจ้าหนี้ว่า ขอเข้ามาตรการให้ความช่วยเหลือขั้นต่ำตามแนวทางธนาคารแห่งประเทศไทย ที่เปิดรับคำขอถึง 30 มิ..นี้ ซึ่งลักษณะความช่วยเหลือที่ได้รับจะแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับสถานะการชำระหนี้เป็นสำคัญ คือ

1. ถ้ายังไม่เป็น NPL -> มีตัวเลือกในการขอผ่อนผันการชำระหนี้ได้ 3 แนวทาง โดยแต่ละแนวทาง ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม สถานะทางการเงินเฉพาะหน้าของลูกหนี้ ตามมาตรการช่วยเหลือรายย่อยของธปท. ดังนี้ ​

นอกจากนั้นยังมีการรีไฟแนนซ์ หรือทำสัญญากู้ซื้อบ้านกับธนาคารแห่งใหม่ เพื่อให้ได้อัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษคงที่อย่างน้อย 3 ปีแรก (ปัจจุบันอยู่ที่เฉลี่ย 3% บวกลบประมาณ 0.5%) อีกทั้งยังสามารถปรับระยะเวลาคืนหนี้ออกไปได้จนถึงอายุผู้กู้ 65-70 ปี ซึ่งจะช่วยปรับลดค่างวดได้ระยะยาวตลอดสัญญากู้ ส่วนค่าใช้จ่ายอื่น อาทิ ค่าจดจำนอง 1% และค่าประเมินหลักประกันนั้น บางธนาคารอาจยกเว้นให้

ทั้งนี้ การรีไฟแนนซ์ควรทำในกรณีที่ผ่อนบ้านไปแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี ไม่เช่นนั้นจะไม่คุ้มกับการเสียค่าปรับการปิดบัญชีก่อนกำหนดกับธนาคารเดิม อย่างไรก็ดี ระหว่างการเตรียมยื่นรีไฟแนนซ์ อาจขอเจรจากับธนาคารเดิมไปด้วยเผื่อได้รับข้อเสนอที่ไม่แตกต่างจากการรีไฟแนนซ์มากนัก ก็จะช่วยประหยัดเวลาการดำเนินการและทำให้ได้รับประโยชน์เร็วขึ้นด้วย

2. ถ้าเราเป็น NPL แล้ว ไม่ว่าจะสามารถกลับมาทยอยจ่ายหนี้ได้หรือไม่ สามารถชำระหนี้ได้ไม่ว่าจะเข้ามาตรการใดๆ ก็ตาม ยังคงแนะนำให้ติดต่อธนาคาร เพื่อขอรับความช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างหนี้ และการเจรจาแก้ไขหนี้ด้วยวิธีการต่างๆ ร่วมกัน

นอกจากนั้น ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังปรับปรุงวิธีการคิดดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้ รวมทั้งการตัดชำระหนี้ ซึ่งมีส่วนช่วยลดภาระให้แก่ลูกหนี้ในกรณีที่มีความจำเป็นไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามปกติ โดยลงประกาศในราชกิจจาฯ และมีผล 1 เมษายน และ 1 กรกฎาคม 2564 ตามลำดับ​