ทิศทางการใช้จ่าย สินค้าอาหาร-เครื่องดื่ม ปี 64 ถ้าวิกฤตลากยาว มีโอกาสหดตัว -2.5% 

ทิศทางการใช้จ่าย สินค้าอาหาร-เครื่องดื่ม ปี 64 ถ้าวิกฤตลากยาว มีโอกาสหดตัว -2.5% 
ทิศทางการใช้จ่าย สินค้าอาหาร-เครื่องดื่ม ปี 64 ถ้าวิกฤตลากยาว มีโอกาสหดตัว -2.5% 

ทิศทางการใช้จ่าย สินค้าอาหาร-เครื่องดื่ม ปี 64 ถ้าวิกฤตลากยาว มีโอกาสหดตัว -2.5% 

จากสถานการณ์แพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกสาม จะฉุดรั้งการใช้จ่ายของผู้บริโภคในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม ปี 2564

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในกรณีฐาน หากสามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้ภายใน 3 เดือนข้างหน้า (จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใกล้เคียงกับสัปดาห์สุดท้ายของเดือน มี.ค. หรือก่อนที่จะมีการระบาดระลอก 3 หรือเฉลี่ยไม่เกิน 100 ราย/วัน) และการกระจายวัคซีนเป็นไปตามแผน และมีมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายออกมาเพิ่มในช่วงที่เหลือของปี การใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในประเทศอาจมีมูลค่า 2.48 ล้านล้านบาท หรือโต 0.5%

ในกรณีเลวร้าย หากสถานการณ์ลากยาวไปมากกว่า 3 เดือนนี้ หรือมีการแพร่ระบาดที่เป็นคลัสเตอร์กลุ่มใหม่ การกลับมาฟื้นตัวของกำลังซื้อผู้บริโภคคงเป็นไปได้ยาก และทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนทางธุรกิจเพิ่มขึ้นจนอาจไม่สามารถประคับประคองสภาพคล่องไปได้มากกว่า 2 ปีติดต่อกัน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย ดังนั้น มูลค่าการใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าอาหารและเครื่องดื่มในประเทศ มีโอกาสที่จะหดตัว -2.5%

สินค้าที่น่าจะประคับประคองยอดขายได้ใกล้เคียงกับปีก่อน (ขยายตัว 0-1%) คือกลุ่มอาหาร อาทิ ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ข้าว เนื่องจากเป็นสินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต แต่กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ น่าจะหดตัวต่อเนื่องจากปีก่อน

ทั้งนี้ การปรับตัวของผู้ประกอบการคงอยู่ที่การลดต้นทุนการผลิต/ค่าใช้จ่าย หรือชะลอการลงทุนที่ไม่จำเป็น เพื่อพยุงสภาพคล่องให้ผ่านพ้นช่วงที่ยากลำบากไปได้