เทคนิคการตั้งราคาขายอาหารดีลิเวอรี่ บนแพลตฟอร์มทุกยี่ห้อ ทำยังไงให้มีกำไร

เทคนิคการตั้งราคาขายอาหารดีลิเวอรี่ บนแพลตฟอร์มทุกยี่ห้อ ทำยังไงให้มีกำไร
เทคนิคการตั้งราคาขายอาหารดีลิเวอรี่ บนแพลตฟอร์มทุกยี่ห้อ ทำยังไงให้มีกำไร

เทคนิคการตั้งราคาขายอาหารดีลิเวอรี่ บนแพลตฟอร์มทุกยี่ห้อ ทำยังไงให้มีกำไร

คุณแจ็ค Duangtawan Kesorn เจ้าของร้านอาหาร เตี๋ยวกะเพรา โพสต์แบ่งปันประสบการณ์ การขายอาหารดีลิเวอรี่ ที่ค่า GP แทบกินกำไรไปเกือบหมด แต่เขามีวิธีคิด วิธีทำ มีกำไรเข้าตลอดๆ

“เมนูกะเพราหมูกรอบ ต้องรู้ว่าเมนูนี้ใส่อะไรบ้าง ใส่เท่าไหร่ ต้องหาต้นทุนที่แท้จริงให้ได้ โดยเฉพาะหมูกรอบ” คุณแจ็ค เผยหลักคิดเบื้องต้น

และบอกต่อ ถึงการคำนวณต้นทุน หมูกรอบ ก่อนตั้งราคาขาย คือ ต้องรู้ก่อนว่า หมูสามชั้น 5 กิโล ต้ม ตาก ทอด แล้ว จะเหลือแค่ 3 กิโล นั่นหมายความว่า ซื้อหมูสามชั้นมา กิโลละ 200 บาท  ก่อนต้มลงทุนเงิน 1,000 บาท พอได้ หมูกรอบ 3 กิโล ต้นทุนหมูกรอบ จึงอยู่ที่ 333.33 บาท ทันที

“นี่ยังไม่รวมของสูญเสียอีกนะครับ บางร้านทอดมาได้ 3 กิโล ตัดส่วนไม่สวยทิ้งอีก 500 กรัม แสดงว่าหมูกรอบ 1,000 บาท เราใช้ได้จริงๆ แค่ 2.5 กิโลเองนะครับ ราคาหมูกรอบขึ้นไปเป็นกิโลละ 400 บาท ทันที” คุณแจ็ค แจงอย่างนั้น

ก่อนบอกถึง การตั้งราคาขายในแพลตฟอร์มดีลิเวอรี่ ที่หลายคนสงสัยว่าควรเป็นเท่าไหร่นั้น เขาใช้เทคนิคการตั้งราคา อยู่ 3 วิธี

หนึ่ง บวกราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 35% ถ้าหากเป็นเมนูนี้ที่ขายได้ ขายดี ลูกค้าสั่งเยอะ ไม่รู้สึกว่าแพงไป ให้เน้นขายเมนูนั้น จะทำให้ขาดทุนกำไรน้อยที่สุด แต่ถ้าขายได้น้อย หรือขายไม่ได้เลย แนะนำให้ลดค่าคอมฯ ลง หรือตัดออกจากเมนูไปเลย

สอง บวกราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 30% กลยุทธ์นี้ เขาเลือกใช้มากที่สุด เป็นตัวเลขที่เจ็บตัวไม่มาก และลูกค้ายอมรับได้ กำไรหายไป 10% คิดเสียว่าเป็นค่าดำเนินการของพาร์ตเนอร์

และ สาม บวกราคาขึ้นมาจากหน้าร้าน 20% วิธีนี้ลูกค้าชอบและให้ตอบรับดีมาก แนะนำเป็นเมนูพิเศษ เมนูสร้างกระแส  คิดเสียว่าเป็นค่าดำเนินการ ค่าเช่าสถานที่ ค่าขนส่ง ค่าการตลาด กำไรน้อยแต่อาจได้ปริมาณลูกค้าเยอะขึ้น

หมายเหตุ : เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2021