ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม

ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม
ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม

ดอยคำ จับมือสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน (สนพ.) ดัน “โครงการส่งเสริมและสาธิตการใช้ประโยชน์จากก๊าซไบโอมีเทนด้วยระบบท่อส่งก๊าซเพื่อทดแทนก๊าซหุงต้มในชุมชนต้นแบบ” สู่ เต่างอยโมเดล CBG สร้างสุข พลังงานทดแทนเพื่อชุมชน ณ ชุมชนบ้านนางอย และบ้านโพนปลาโหล ตำบลเต่างอย อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร

ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม เพื่อชุมชน
ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม เพื่อชุมชน

คุณพิพัฒพงศ์ อิศรเสนา ณ อยุธยา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด กล่าวว่า ดอยคำ ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาขยะและของเสียต่างๆ จึงได้กำหนดแผนการดำเนินงานพัฒนาสังคมและชุมชนโดยรอบพื้นที่โรงงานหลวงฯ ทั้ง 4 แห่ง

โดยกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ได้สนับสนุนงบประมาณ ในโครงการส่งเสริมและสาธิตการใช้ประโยชน์จากก๊าซไบโอมีเทนด้วยระบบท่อส่งก๊าซเพื่อทดแทนก๊าซหุงต้มในชุมชนต้นแบบ ด้วยการนำน้ำที่ผ่านกระบวนการผลิตภายในโรงงานหลวงฯ ที่ 3 (เต่างอย) จ.สกลนคร มาผลิตเป็นก๊าซไบโอมีเทน เพื่อเป็นเชื้อเพลิงทดแทนก๊าซหุงต้ม ภายใต้การดำเนินงานของดอยคำ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อช่วยให้ชุมชนประหยัดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน รวมทั้งลดการนำเข้าก๊าซหุงต้มจากต่างประเทศ

ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม เพื่อชุมชน
ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม เพื่อชุมชน

โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้คิดค้นวิจัยในการดำเนินการผลิต ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) ด้วยการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) และความชื้นออกจากก๊าซชีวภาพ เพื่อให้ได้ก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG)  ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่าก๊าซ NGV สามารถนำไปใช้สำหรับยานยนต์ และนำไปบรรจุถังสำหรับใช้ในภาคครัวเรือน เพื่อทดแทนก๊าซหุงต้ม (LPG)

ด้าน ผศ.ดร.สิริชัย คุณภาพดีเลิศ รอง ผอ.สถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยว่า ดำเนินโครงการมานาน 3 ปี ผ่านอุปสรรคมากมายจนสามารถทำได้สำเร็จ ซึ่งสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทนอัด (CBG) หรือ โรงจ่ายก๊าซศิลาธรหิรันย์ ที่ โรงงานหลวงฯ ที่ 3 (เต่างอย) จ.สกลนคร บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุด 

ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม เพื่อชุมชน
ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม เพื่อชุมชน

สำหรับสถานีผลิตและจ่ายก๊าซไบโอมีเทน (CBG) ที่โรงงานหลวงฯ ที่ 3 (เต่างอย) เป็นการนำก๊าซชีวภาพจากน้ำเสียจากกระบวนการแปรรูปมะเขือเทศ โดยมีน้ำเสีย 600-800 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงฤดูการผลิต (ม.ค.-เม.ษ.) และไม่เกิน 200 ลูกบาศก์เมตร ในช่วงอบแห้ง โดยส่งน้ำเสียผ่านท่อใต้ดินมายังบ่อหมัก จากนั้นจึงเข้าสู่กระบวนการผลิตก๊าซไบโอมีเทนด้วยเทคโนโลยีเมม เบรน สามารถผลิตได้ 262.81 กิโลกรัมต่อวัน มีราคาต้นทุน 12 บาทต่อกิโลกรัม ถูกกว่าราคาก๊าซตามท้องตลาด เทียบราคา LPG ปัจจุบันมีราคา 18.87 บาทต่อกิโลกรัมโดยประมาณ หากบวกค่าขนส่งต้องจ่ายสูงถึง 22 บาทต่อกิโลกรัม

ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม
ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม

ปัจจุบันได้จ่ายก๊าซไบโอมีเทนให้ชุมชนบ้านนางอยและบ้านโพนปลาโหล เป็นเชื้อเพลิงก๊าซหุงต้ม จำนวน 280 ครัวเรือน โดยส่งผ่านท่อมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก. ขนาด 2 นิ้ว วางลึก 1 เมตร รวมระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร ถึงหน้าบ้านตลอด 24 ชั่วโมง โดยมีมิเตอร์สำหรับวัดหน่วยการใช้ก๊าซคล้ายมิเตอร์การใช้ไฟฟ้า ซึ่งมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนพลังงานไบโอมีเทนนางอย-โพนปลาโหล เพื่อบริหารกองทุนก๊าซ CBG อย่างเป็นรูปธรรม และบริหารพลังงานทดแทนด้วยตนเองอย่างยั่งยืน

ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม
ดอยคำ จับมือ สนพ. เปลี่ยนน้ำเสียจากการแปรรูปมะเขือเทศ เป็นก๊าซไบโอมีเทน ใช้แทนก๊าซหุงต้ม

“ข้อดีของการใช้ก๊าซ CBG คือ มีราคาถูกกว่าก๊าซตามท้องตลาด เป็นพลังงานสะอาด สามารถเผาไหม้ได้บริสุทธิ์ ไม่มีมลพิษ และมีความปลอดภัย เพราะจ่ายก๊าซแรงดันต่ำ 2 บาร์ โดยได้แจกเตาลัคกี้เฟลมให้ชาวบ้านทั้ง 280 ครัวเรือน เพราะก๊าซมีลักษณะเบากว่าก๊าซ LPG จึงใช้หัวเตาธรรมดาไม่ได้ ซึ่ง มช.ได้ทำความร่วมมือกับลัคกี้เฟลมในการผลิตเตานี้โดยเฉพาะ ขณะนี้อยู่ในระหว่างการพูดคุย”

คุณมารศรี งอยจันทร์ศรี อายุ 44 ปี
คุณมารศรี งอยจันทร์ศรี อายุ 44 ปี

ด้านชาวบ้านนางอย คุณมารศรี งอยจันทร์ศรี อายุ 44 ปี เผยว่า ก่อนหน้านี้ได้รับผลกระทบจากกลิ่นบ่อบำบัด อีกทั้งยังเสียค่าใช้จ่ายก๊าซหุงต้มสูงถึง 400 กว่าบาทต่อเดือนต่อถัง เมื่อทางมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และดอยคำ เข้ามาทำประชาคม เรื่องการใช้ก๊าซไบโอมีเทนแทนก๊าซหุงต้ม จึงตัดสินใจเข้าร่วม หลังใช้งานได้ 5 วัน เห็นถึงความสะดวกสบาย ใช้งานง่าย เพราะต่อท่อมาถึงหน้าบ้าน แค่เปิดวาล์วก็สามารถใช้งานได้ทันทีและแรงกว่าก๊าซหุงต้มตามท้องตลาด อีกทั้งยังหมดปัญหาเรื่องกลิ่นรบกวน และคาดว่าจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในอนาคตได้