รู้หรือไม่ สินค้าไทยชนิดใด ขนส่งผ่านคลองสุเอซ เส้นทางลัด เชื่อมเอเชียกับยุโรป

รู้หรือไม่ สินค้าไทยชนิดใด ขนส่งผ่านคลองสุเอซ เส้นทางลัด เชื่อมเอเชียกับยุโรป
รู้หรือไม่ สินค้าไทยชนิดใด ขนส่งผ่านคลองสุเอซ เส้นทางลัด เชื่อมเอเชียกับยุโรป

รู้หรือไม่ สินค้าไทยชนิดใด ขนส่งผ่านคลองสุเอซ เส้นทางลัด เชื่อมเอเชียกับยุโรป

อย่างที่ทราบกันดีว่า เส้นทางขนส่งสินค้าผ่านคลองสุเอซ เป็นเส้นทางลัดในการขนส่งสินค้าระหว่างฝั่งเอเชียกับยุโรป ช่วยทั้งประหยัดต้นทุนค่าน้ำมัน และย่นย่อระยะเวลาการขนส่งระหว่างสองภูมิภาค

ซึ่งสถานการณ์เรือขนส่งสินค้า Ever Given ที่ติดขวางอยู่ที่คลองสุเอซย่อมมีผลต่อการค้าโลก แม้ ณ ตอนนี้ จะเริ่มกลับมาลอยลำได้แล้ว 

ตลาดยุโรป เป็นตลาดส่งออกหลักของไทยที่ใช้เส้นทางผ่านคลองสุเอซ ปัจจุบันไทยส่งสินค้าไปยุโรปปีละไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านดอลลาร์ สัดส่วนประมาณ 9% ของการส่งออกทั้งหมดของไทย และเป็นตลาดส่งออกหลักอันดับ 4 ของไทย เป็นรองเพียงสหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่น ตามลำดับ

โดยในแต่ละเดือน สินค้าไทยส่งไปมีมูลค่าประมาณ 1,500-2,000 ล้านดอลลาร์ โดยมีประเภทสินค้าส่งออกที่ส่งไปยุโรปผ่านเส้นทางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก ดังนี้

สินค้าอาหารสด ที่อ่อนไหวต่อระยะเวลาขนส่ง มีเพียงไก่แปรรูปของไทย ที่ส่งออกในรูปแช่เย็นแช่แข็งและพึ่งพาตลาดยุโรปอย่างมากถึง 30% ของการส่งออกไก่แปรรูปทั้งหมดของไทย ในแต่ละเดือนมีมูลค่าส่งออกไปยุโรปราว 50 ล้านดอลลาร์ และคิดเป็นมีสัดส่วนเพียง 2.6% ของการส่งออกไปยุโรปเท่านั้น

– ในบรรดาสินค้าที่ส่งไปยุโรปทั้งหมดเป็นสินค้าฟุ่มเฟือยไม่ต่ำกว่า 40% อาจกล่าวได้ว่ายุโรปเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อที่แข็งแกร่งอย่างมาก โดยสินค้าไทยแต่ละรายการก็พึ่งพาตลาดยุโรปพอสมควร โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศพึ่งพาตลาดยุโรป 20% รถยนต์และส่วนประกอบ 5.2% รถจักรยานยนต์ 31% อัญมณี 7% เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม 22% และอาหารสัตว์เลี้ยง 14%

– สินค้าขั้นกลางที่มีห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงกับยุโรป สำหรับไทยก็มีบางส่วน อาทิ HDD พึ่งพาตลาดยุโรป 15% แผงวงจรไฟฟ้า 14% วงจรพิมพ์ 17% ซึ่งหากเทียบกับประเทศเอเชียอาจเรียกได้ว่าไทยมีห่วงโซ่การผลิตที่เหนียวแน่นกับเอเชียมากกว่ายุโรป

นอกจากนี้ คลองสุเอซ ก็เป็นเส้นทางที่ไทยใช้นำสินค้าจากยุโรปเข้ามาคิดเป็น 8.4% ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมดของไทย โดยเฉพาะสินค้านำเข้ารายการหลักก็ล้วนพึ่งพาตลาดยุโรปอยู่ไม่น้อยในกลุ่มเครื่องจักรกลนำเข้าจากยุโรป 17% เคมีภัณฑ์ 10% เครื่องจักรไฟฟ้า 7% ส่วนประกอบยานยนต์ 10% รถยนต์นั่ง 27% รวมทั้งผลิตภัณฑ์เภสัชกรรมที่มีสัดส่วนสูงถึง 44%

ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย