มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปักธงฟ้อง! กขค. กรณีอนุญาต CP ควบรวม Tesco Lotus

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปักธงฟ้อง! กขค. กรณีอนุญาต CP ควบรวม Tesco Lotus
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปักธงฟ้อง! กขค. กรณีอนุญาต CP ควบรวม Tesco Lotus

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปักธงฟ้อง! กขค. กรณีอนุญาต CP ควบรวม Tesco Lotus

วันที่ 24 ก.พ. 64 นางสาวกชนุช แสงแถลง ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “จากการที่คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) มีมติเสียงข้างมากอนุญาตให้เกิดการควบรวมบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ซี.พี. รีเทล ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด นั้น ผลของการควบรวมนี้ก่อให้เกิดการมีอำนาจเหนือตลาดของกลุ่มเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ ในธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง มากกว่า 83.97% ทั้งนี้ เนื่องจากกลุ่มเครือบริษัทเจริญโภคภัณฑ์ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) ที่มีส่วนแบ่งในตลาดสูงสุด ดังนั้น จึงเป็นมติที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของพ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ที่กำหนดไม่ให้ภาคธุรกิจใดมีอำนาจเหนือตลาดเกินกว่า 50% ในกิจการที่มีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านบาท และขัดต่อสิทธิผู้บริโภคในการเลือกซื้อสินค้าและบริการ ตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปักธงฟ้อง! กขค. กรณีอนุญาต CP ควบรวม Tesco Lotus
มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ปักธงฟ้อง! กขค. กรณีอนุญาต CP ควบรวม Tesco Lotus

ผู้อำนวยการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวเพิ่มว่า “สถานการณ์โรคระบาด โควิด-19 จะเห็นได้ว่าในหลายๆ พื้นที่ที่มีการระบาดรุนแรง จะมีการปิดตลาด ปิดร้านอาหารตามกำหนดเวลา ประชาชนไม่มีทางเลือกนอกจากเข้าร้านค้าส่ง คือห้างแม็คโคร แทนตลาด เข้าร้านสะดวกซื้อเมื่อร้านอาหารปิดหลังสามทุ่ม ซึ่งขณะนี้มีอย่างน้อย 5 จังหวัด ที่มีเพียง ร้านสะดวกซื้อของ 7-11 และ เทสโก้ โลตัส เท่านั้น จึงเห็นได้ว่า จังหวัดเหล่านี้เกิดการผูกขาด 100% ทำให้ผู้บริโภคไม่มีทางเลือกในภาวะวิกฤต

ด้าน นายปรีดา เตียสุวรรณ์ อดีตประธานคณะอนุกรรมการพัฒนากฎหมายว่าด้วยการค้าที่เป็นธรรมและการคุ้มครองผู้บริโภค (พ.ศ. 2551-2552) กล่าวในทัศนะของกรรมการผู้ร่างกฎหมายว่า อำนาจเหนือตลาดเกิดขึ้นที่จุด 50% ของส่วนแบ่งในตลาดด้วยว่า ผู้มีอำนาจนั้นสามารถที่จะกำหนดให้ผู้ผลิตขายสินค้าแก่กลุ่มของตนในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งทั้งหลาย กลุ่มผู้มีอำนาจจึงสามารถตั้งราคาขายในตลาดต่ำกว่าคู่แข่ง จึงก่อให้เกิดการผูกขาดในสินค้านั้นๆ ฉะนั้น คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าได้แบ่งตลาดออกเป็น 3 ส่วน คือ 1. ร้านสะดวกซื้อ 2. ร้านไฮเปอร์มาร์เก็ต 3. ร้านค้าส่ง จึงไม่มีความจำเป็นแต่อย่างใด เนื่องจากสินค้าที่ราคาถูกกว่านั้นก็ตั้งอยู่ในร้านทั้ง 3 ประเภทอยู่ดี จากเหตุผลข้างต้น การผูกขาดได้เกิดขึ้นแล้วในส่วนแบ่งตลาด 50% กรรมการการแข่งขันทางการค้า จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง

นายปรีดา กล่าวต่อว่า สินค้าอุปโภคบริโภค ถือว่าเป็นสินค้ายุทธปัจจัยที่ประชาชนต้องใช้ทุกวัน เมื่อการผูกขาดเกิดขึ้น ย่อมกระทบต่อเสถียรภาพของผู้บริโภค สังคม และประเทศ และกระทบต่อความมั่นคงในชีวิต โดยกังวลว่าสินค้านั้นจะถูกขึ้นราคาอย่างไม่มีเหตุผลหรือไม่ หรือจะมีการกักตุน เป็นต้น ลงท้ายด้วยการก่อการประท้วงและจลาจลได้ รวมถึงการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของบริษัทที่ประสงค์เข้ามาเป็นคู่แข่ง ขัดต่อการส่งเสริมศักยภาพการเติบโตของผู้ลงทุนหน้าใหม่ (สตาร์ตอัพ) ตามนโยบายรัฐบาล และทำให้ผู้บริโภคเสียโอกาสในการได้รับสินค้าที่หลากหลาย ในราคาที่เกิดจากการแข่งขันอย่างแท้จริง

ด้าน นายวิฑูรย์ เลี่ยนจำรูญ ผู้อำนวยการมูลนิธิชีววิถี กล่าวเสริมว่า มตินี้มีผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารของประเทศ ทำให้ภาคการเกษตรผู้ผลิตอาหารต้องพึ่งพา และอยู่ภายใต้อำนาจการกำหนดชนิดของสินค้าเกษตร และราคาของบริษัทเดียวที่มีอำนาจเหนือตลาดมากกว่า 80% โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อประเทศอยู่ในภาวะวิกฤต สินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพง ตัวอย่างที่ชัดเจน เช่น กล้วยหอม มีราคาใกล้เคียงกันหรือสูงกว่าในประเทศในยุโรปหรืออเมริกา ทั้งที่ประชาชนมีรายได้ต่ำกว่า 5-11 เท่า การมีอำนาจเหนือตลาด หรือการผูกขาดของบริษัทใดๆ ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งก็ตาม จะเป็นอุปสรรคในการนำพาประเทศฝ่าวิกฤตไปได้ยากลำบาก

ว่าที่ร้อยตรี สมชาย อามีน ทนายความในคดีนี้ เห็นว่า การมีมติที่ให้บริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดควบรวมได้ ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 เนื่องจากการตีความครั้งนี้ จะเป็นการสร้างบรรทัดฐานและการบังคับใช้กฎหมายทางเศรษฐกิจ การตีความทางกฎหมายที่ฉ้อฉลที่ตีความว่า การมีอำนาจเหนือตลาดกว่า 80% “ไม่ถือว่าเป็นการผูกขาด” ซึ่งอาจจะนำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบการผูกขาดลักษณะเดียวกันในธุรกิจด้านอื่นๆ ของประเทศต่อไปในอนาคต ทำให้ธุรกิจขนาดเล็ก และผู้บริโภคได้รับผลกระทบในท้ายที่สุด

จึงขอเชิญชวนผู้ได้รับผลกระทบจากมติของคณะกรรมการฯ ได้แก่ สมาคม หรือองค์กรทางการค้าปลีกค้าส่ง นักธุรกิจ นักอุตสาหกรรมด้านอุปโภคบริโภค เกษตรกร และผู้บริโภคทั่วไปที่เป็นผู้บริโภคร่วมเป็นโจทย์ฟ้องร้องคณะกรรมการเสียงข้างมากต่อมติดังกล่าว เพื่อนำมาสู่การแก้ไข และสร้างมาตรฐานที่ดีต่อการค้าเสรี และการคุ้มครองผู้บริโภคต่อไป ในวันที่ 15 มีนาคม นี้ ซึ่งเป็นวันคุ้มครองผู้บริโภคสากล โดยสามารถติดตามรายละเอียดการนัดหมายได้ที่เพจมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค