อัพเดต 7 เทรนด์ธุรกิจอาหารมาแรง ปี 2021!

อัพเดต 7 เทรนด์ธุรกิจอาหารมาแรง ปี 2021!

ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ เผยข้อมูล การบริโภคแบบใหม่ กับนิยามของอาหารที่ผู้คนมองหาในปี 2021 ภายใต้ชื่อ “Trend Watch 2021, 7 Trends in Food Industry” โดยเมนูอาหารต้องตอบโจทย์ 3 สิ่ง คือ 1. การควบคุม ว่าได้คัดเลือกวัตถุดิบที่ดีในสัดส่วนที่เหมาะสมต่อสุขภาพ 2. ความมั่นใจ ว่าปลอดภัยรู้ที่มาที่ไปตั้งแต่แหล่งผลิตจนมาถึงบนโต๊ะอาหาร 3. ความอิ่มอกอิ่มใจ คนมีแนวโน้มจะประกอบอาหารรับประทานเองที่บ้านมากขึ้น การได้ลงมือทำอาหารและรับประทานอาหารร่วมกันกลายเป็นเครื่องมือเยียวยาจิตใจของคนยุคนี้  

เรามาดูกันว่า 7 เทรนด์ธุรกิจอาหารมาแรง ปี 2021 มีอะไรบ้าง

1. มื้อนี้มีพืชเป็นหลัก เพื่ออนาคตโลก

1.มื้อนี้มีพืชเป็นหลัก เพื่ออนาคตโลก (Power of Plant)
1. มื้อนี้มีพืชเป็นหลัก เพื่ออนาคตโลก

รู้หรือไม่ว่า ตลาดของอาหาร Plant-Based Food ในประเทศจีน เติบโตสูงมากในช่วงโควิด-19 ทำรายได้กว่า 910 ล้านดอลลาร์ในปีที่ผ่านมา สำหรับปี 2021 การเลือกบริโภคพืชเน้นๆ ไม่ใช่แค่เพื่อความโก้เก๋ อวดไลฟ์สไตล์ แต่ปัญหาโรคระบาดใหญ่ทำให้ผู้บริโภคทั่วโลก หันมาเลือกทานอาหารเพื่อสุขภาพอย่างจริงจัง หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถระบุแหล่งที่มา และการกิน “เนื้อไร้เนื้อ” ก็ดูจะเป็นทางออกที่ดี ซึ่งทุกวันนี้หลายคนก็เริ่มคุ้นเคยเมนูที่มาจากพืชกันแล้ว อาทิ ผลิตภัณฑ์นมจากพืช, ผลิตภัณฑ์ ‘เนื้อไร้เนื้อ’ หรือเนื้อที่ผลิตจากพืช และเครื่องปรุงจากพืช

2. รสชาติท้องถิ่น ที่เสิร์ฟพร้อมแนวคิดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

2. รสชาติท้องถิ่น ที่เสิร์ฟพร้อมแนวคิดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม
2. รสชาติท้องถิ่น ที่เสิร์ฟพร้อมแนวคิดเพื่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

ปี 2021 ผู้บริโภคจะก้าวสู่เทรนด์ Hyper Localism ที่เลือกบริโภคและสนับสนุนอาหารปลอดภัยที่ผลิตในท้องถิ่นหรือชุมชน เพื่อลดคาร์บอนฟุตพริ้นต์ และสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร สอดคล้องกับกระแสรักสิ่งแวดล้อมของคนรุ่นใหม่ สำหรับร้านอาหารที่กำลังมุ่งไปเป็น Hyper Localism ต้องอย่าลืมให้ความสำคัญกับที่มาของอาหารที่ปลอดภัย ทั้งเนื้อสัตว์ พืชผักต่างๆ ที่ส่งผลต่อสุขภาพคนกิน นั่นแปลว่า ในหนึ่งจานที่ผู้บริโภคได้ลิ้มรส จะไม่ได้มีแค่รสชาติแบบท้องถิ่น แต่ยังแถมเรื่องราวของที่มาอาหารรวมทั้งแนวคิดการสนับสนุนชุมชนและสิ่งแวดล้อมเข้าไปในจานด้วย

3. ก้าวข้ามเส้นแบ่งสตรีตฟู้ด สู่ร้านอาหารติดดาว

3. ก้าวข้ามเส้นแบ่งสตรีตฟู้ด สู่ร้านอาหารติดดาว
3. ก้าวข้ามเส้นแบ่งสตรีตฟู้ด สู่ร้านอาหารติดดาว

แม้ว่าอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะยังไม่กลับมาเต็มรูปแบบ แต่เทรนด์ร้านอาหารสไตล์ Fine-Casual Dining ในประเทศไทยกลับได้ไปต่อในปี 2021 ควบคู่กับการปรับตัวครั้งใหญ่เพื่อส่งมอบประสบการณ์พิเศษภายใต้บริบท New Normal ตัวละครจะก้าวขึ้นมาเป็นดาวโดดเด่นในเวทีนี้ คือ ร้านอาหารริมทาง หรือ Street Food ที่กล้ายกระดับตัวเอง ผ่านสูตรลับ ฝีมือ ความสร้างสรรค์เฉพาะตัว 

4. ปรับวัตถุดิบตอบโจทย์สุขภาพที่แตกต่าง

4. ปรับวัตถุดิบตอบโจทย์สุขภาพที่แตกต่าง (Tailor
4. ปรับวัตถุดิบตอบโจทย์สุขภาพที่แตกต่าง

เทรนด์ Tailored-to-Fit Food (อาหารเฉพาะบุคคล) หมายถึงอาหารที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ด้านสุขภาพที่แตกต่าง อาทิ กลุ่มผู้ควบคุมอาหาร กลุ่มผู้ออกกำลังกาย กลุ่มผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้คนมีความต้องการอาหารที่แตกต่างกันไป หรือการออกแบบเมนูตามสถานการณ์และฤดูกาล อาทิ การระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้บริโภคใส่ใจอาหารเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันมากยิ่งขึ้น เป็นต้น นิยามอาหารเพื่อสุขภาพจึงเปลี่ยนไปจากอาหารที่ดีต่อทุกคนทุกเพศทุกวัย มาสู่อาหารเฉพาะบุคคล เพราะร่างกายของแต่ละคนมีความต้องการด้านสุขภาพที่ไม่เหมือนกัน

5. อาหารพร้อมทาน พร้อมประสบการณ์ขั้นกว่า 

5.อาหารพร้อมทาน พร้อมประสบการณ์ขั้นกว่า (Haute
5. อาหารพร้อมทาน พร้อมประสบการณ์ขั้นกว่า

อาหารพร้อมทาน ยังคงครองใจผู้บริโภคชาวเมืองที่มีชีวิตรีบเร่งแข่งกับเวลา โดยคาดว่าตลาดอาหารปรุงสุกพร้อมทานจะเติบโตต่อเนื่องไปจนถึงปี 2024 ร้านอาหารหลายแห่งปรับตัวมาขยายบริการอาหารกลับบ้านทั้ง Take-Out และ Ready-to-Eat เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคที่ Work from Home และกลุ่มที่อยากลดการสัมผัส โดยจากเดิมอาหารพร้อมทานมักเน้นความสะดวก คุ้มค่าราคาและเป็นเมนูที่คุ้นเคย แต่ปัจจุบันผู้บริโภคกลับมองหา “ประสบการณ์ขั้นกว่า” จากอาหารพร้อมทาน ไม่ว่าจะเป็นรสชาติ เนื้อสัมผัส วัตถุดิบ คุณค่าทางโภชนาการ และการนำเสนอ เพื่อให้รู้สึกเหมือนได้ออกไปทานอาหารในร้านดีๆ

6. เหลือทิ้งไม่ไร้ค่า 

6.เหลือทิ้งไม่ไร้ค่า (Serving Surplus)
6. เหลือทิ้งไม่ไร้ค่า

ขยะอาหาร (Food Waste) กำลังเป็นวาระระดับโลกที่ทุกฝ่ายต้องช่วยกันแก้ไข เทรนด์เสิร์ฟอาหารไม่เหลือทิ้ง ไม่ใช่แค่การนำของเหลือมาอุ่นใหม่ แต่ยังรวมถึงการรณรงค์ให้ร้านอาหารหันมาใช้ผักหน้าเบี้ยว (Ugly Food) เพื่อลดขยะอาหารจากผักผลไม้หน้าตาไม่สวยที่ถูกคัดทิ้ง นอกจากนี้ ยูนิลีเวอร์ ฟู้ด โซลูชั่นส์ ยังแนะว่า การเสิร์ฟอาหารไม่เหลือทิ้งจะเป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่จะทำให้ร้านอาหารฝ่าวิกฤตโควิด-19 ไปได้ เพราะต้นทุนวัตถุดิบถือเป็นต้นทุนค่าใช้จ่ายถึง 1 ใน 3 ของร้าน ซึ่งหากร้านมีการจัดการที่มีประสิทธิภาพทำให้วัตถุดิบเหลือทิ้งน้อยที่สุดก็จะยิ่งประหยัดต้นทุนได้มาก

7. ยกระดับสุขอนามัย เพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่า

7. ยกระดับสุขอนามัย เพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่า
7. ยกระดับสุขอนามัย เพิ่มความปลอดภัยให้มากกว่า

ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ร้านอาหารได้มีการปรับตัวครั้งใหญ่ ด้านมาตรฐานความสะอาดและความปลอดภัย ซึ่งกลายเป็นปัจจัยพื้นฐานของการให้บริการร้านอาหารไปเสียแล้ว ซึ่งในปี 2021 นี้กลยุทธ์หลักในการเดินหน้าต่อคือการสร้างมาตรฐานการรักษาสุขอนามัยภายในร้านให้เป็นวิถีปกติใหม่ New Normal ในทุกขั้นตอนบริการ ตั้งแต่การเตรียมวัตถุดิบ การปรุงอาหาร จากในครัว ไปจนถึงงานบริการหน้าร้าน