นโยบายกัญชา 6 ต้น เกษตรกรรายย่อย ยังต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐอีกมาก

นโยบายกัญชา 6 ต้น เกษตรกรรายย่อย ยังต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐอีกมาก
นโยบายกัญชา 6 ต้น เกษตรกรรายย่อย ยังต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐอีกมาก

นโยบายกัญชา 6 ต้น เกษตรกรรายย่อย ยังต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐอีกมาก

ตามที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีโครงการส่งเสริมให้เกษตรกร กัญชาทางการแพทย์บ้านละ 6 ต้น ภายใต้วิสาหกิจชุมชน ร่วมกับหน่วยงานในสธ.โดยเมื่อวันที่ 11 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้ดำเนินการแห่งแรกไปแล้วที่บ้านโนนมาลัย ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพโนนมาลัย อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และกำลังจะกระจายรูปแบบการปลูกไปใน 12 เขตสุขภาพ สถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะหน่วยงานประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาทางการแพทย์ ได้ออกมาให้คำแนะนำเพิ่มเติม เพื่อให้เกิดการนำนโยบายกัญชาไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

ล่าสุด ทาง นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์ สำนักงานปลัดสธ.ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเข้าร่วมโครงการกัญชา 6 ต้น ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ว่า การปลูกกัญชา 6 ต้น เป็นนโยบายที่สธ. ตั้งเป้าให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน โดยให้เกษตรกรผู้ร่วมโครงการ สามารถนำกัญชาไปปลูกที่บ้านได้ อันเป็นการลดต้นทุนการปลูก โดยเมื่อปลูกแล้วให้ส่งดอกที่ปลูกได้ให้โรงพยาบาลภาครัฐที่รับรองมาตรฐานการผลิต GMP ไปแปรรูปเป็นยา

ส่วนเกษตรกรสามารถนำใบ กิ่งก้าน ลำต้น ราก ไปใช้ประโยชน์เพื่อการดูแลสุขภาพหรือพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชน ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเกิดประโยชน์สูงสุด จึงได้ประสานเขตสุขภาพทั้ง 12 แห่ง ในการเตรียมการ  ก่อนดำเนินการ นับตั้งแต่ รู้ปลายทาง ทั้งหน่วยงานภาครัฐและวิสาหกิจชุมชน ควรตั้งเป้าการนำกัญชาไปใช้ประโยชน์อย่างชัดเจน เช่น ภาครัฐควรชัดเจนว่า จะนำกัญชาไปใช้กับผู้ป่วยโรคใด เป็นยาแผนไทยหรือยาแผนปัจจุบัน ส่วนวิสาหกิจชุมชน ควรวางแผนว่าจะนำ ใบ ราก ลำต้นไปสร้างอาชีพได้อย่างไร เป็นผลิตภัณฑ์ หรือ บริการ ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด  มีกลางทาง ที่มีมาตรฐาน ในกรณีของการผลิตเป็นยา หรือผลิตภัณฑ์สุขภาพ ต้องมีหน่วยงาน หรือ สถานที่การผลิตที่ได้มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด จัดหาต้นทางที่ดี

นพ.กิตติ โล่สุวรรณรักษ์ ผู้อำนวยการสถาบันกัญชาทางการแพทย์

นพ.กิตติ กล่าวต่อว่า การปลูกกัญชา 6 ต้น ส่วนใหญ่จะดำเนินการในเกษตรกรรายย่อย ยังต้องการแรงสนับสนุนจากภาครัฐอีกมาก ทั้งเมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ องค์ความรู้ในการปลูก ปักชำ การดูแลระหว่างการปลูก การเก็บเกี่ยว ดึงหน่วยงานพันธมิตรเสริมทัพ การทำให้กัญชาต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือของภาคีเครือข่ายต่างๆ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาจช่วยในการจัดหาสายพันธุ์ที่มีคุณภาพ กระทรวงศึกษาธิการ ช่วยในการพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ กระทรวงพาณิชย์ ช่วยในการจัดจำหน่าย กระทรวงวิทยาศาสตร์ ช่วยในเรื่องการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมทั้งภาคเอกชนที่มาช่วยทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจที่เป็นที่ต้องการของตลาด

“ในประเด็นการขับเคลื่อนเหล่านี้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และปลัดกระทรวงสาธารณสุข มีความห่วงใยในการดำเนินการ เพราะเป็นโครงการที่มีความต้องการจากภาคประชาชนสูง เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันในการนำนโยบายไปปฏิบัติ ทั้งสองท่านจะมอบนโยบายการขับเคลื่อนกัญชาทางการแพทย์ในปีที่ 2 ในวันที่ 22 ก.พ.นี้ เวลา 09.00-14.00 น. ที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข” ผอ.สถาบันกัญชาทางการแพทย์ กล่าว