รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง

รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง
รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง

รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง พร้อมเร่งบรรทุกน้ำจืดช่วย ขณะที่ปริมาณน้ำลุ่มเจ้าพระยา เหลือน้อย เกษตรกรทำนา เกินแผน 2.6 ล้านไร่

นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมชลประทานได้เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ เพื่ออุปโภค-บริโภค บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นรายชั่วโมง ภายใต้การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งเพื่อแก้ปัญหาความเค็ม โดยเฉพาะการควบคุมความเค็มในบริเวณคลองจินดา หลังจากเมื่อวันที่ 2 ก.พ. ค่าความเค็มพุ่งสูงถึง 2.29 กรัมต่อลิตร สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวังที่ 0.25 กรัมต่อลิตร และค่ามาตรฐานเพื่อการผลิตน้ำประปาต้องไม่เกิน 0.50 กรัมต่อลิตร

ทั้งนี้ รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งให้ระบายน้ำเพื่อเจือจางความเค็ม ให้มีการติดตั้งเครื่องวัดความเค็ม แบบเรียลไทม์ 8 แห่งในแม่น้ำท่าจีน และสั่งกรมชลประทานร่วมประชุมเกษตรกรชาวสวนกล้วยไม้ที่ได้รับผลกระทบ จากค่าความเค็มสูงเกินมาตรฐาน ส่งผลให้ไม่มีน้ำจืดรดกล้วยไม้ โดยให้เกษตรกรสามารถเปิดรับน้ำและสูบน้ำจากแม่น้ำท่าจีนได้เมื่อค่าความเค็มน้อยกว่า 0.75 กรัมต่อลิตร และส่งรถบรรทุกน้ำจืดช่วยเหลือชาวสวนกล้วยไม้ที่ขาดแคลนน้ำจืด

รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง
รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ณ 1 พ.ย. 2563 ปริมาณน้ำใช้การได้มีประมาณ 5,771 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 32% ของความจุฯ และ ณ วันที่ 2 ก.พ. 2564 ปริมาณน้ำใช้การได้เหลือประมาณ 4,295 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 24% ของความจุฯ ซึ่งตามแผนการจัดสรรน้ำใช้ในฤดูแล้ง มีการจัดสรรไว้ประมาณ 4,000 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้ใช้ไปแล้ว 2,290 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 57% ของน้ำที่จัดสรรไว้ใช้ในฤดูแล้ง ส่งผลให้น้ำเหลือใช้ประมาณ 1,710 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 43% จากปริมาณที่จัดสรรไว้

ขณะนี้สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำในอ่างขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศจำนวน 447 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกัน 44,261 ล้าน ลบ.ม. หรือ 58% ของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำใช้การได้ 20,331 ล้าน ลบ.ม. หรือ 39% โดยอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30% ของความจุฯ มีจำนวน 5 แห่ง คือ ภูมิพล สิริกิติ์ แม่มอก วชิราลงกรณ และคลองสียัด

ปริมาณน้ำไหลลงอ่างและระบาย ช่วงฤดูแล้ง ปี 2563/64 ของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 แห่ง ระหว่าง 1 พ.ย. 63 ปัจจุบัน ปริมาณน้ำไหลลงอ่าง 4,718.13 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำระบายจากอ่าง 5,880.91 ล้าน ลบ.ม. การใช้น้ำมีมากกว่าแผนที่กำหนดไว้ รวมถึงอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนสูงบริเวณอ่าวไทย ส่งผลให้เกิดความเค็มหนุนสูง กระทบกับน้ำในการทำน้ำประปา และบางเวลาน้ำประปาอาจมีรสชาติเปลี่ยนไป

รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง
รมว.เกษตรฯ สั่งกรมชลประทาน จับตาปัญหาความเค็มรุกล้ำแม่น้ำท่าจีนรายชั่วโมง

สำหรับแผนทำนาทั่วประเทศ มีแผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 1.90 ล้านไร่ เพาะปลูกแล้ว 4.261 ล้านไร่ แยกเป็นเพาะปลูกในแผน 1.627 ล้านไร่ คิดเป็น 86% ของแผน และเพาะปลูกนอกแผน 2.634 ล้านไร่ ในลุ่มเจ้าพระยา กรมชลประทานได้รณรงค์ลดการทำนาต่อเนื่องในฤดูแล้ง ปี 2563/64 หรือไม่ให้มีการทำนาเลย ส่วนการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2563 ทั่วประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 16.79 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 14.45 ล้านไร่ คิดเป็น 86% ของแผน เก็บเกี่ยวแล้ว 14.02 ล้านไร่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา แผนเพาะปลูกข้าวนาปี 8.1 ล้านไร่ ปลูกแล้ว 6.39 ล้านไร่ คิดเป็น 79% ของแผน เก็บเกี่ยวแล้ว 6.35 ล้านไร่

สำหรับ ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2563/64 ทั้งประเทศ 1 พ.ย. 63 – 30 เม.ย. 64 วางแผนการจัดสรรน้ำรวม 17,122 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 7,946 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 46% ของแผนฯ เฉพาะลุ่มเจ้าพระยา วางแผนการจัดสรรน้ำรวม 4,000 ล้าน ลบ.ม. มีการใช้น้ำไปแล้ว 2,290 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 57% ของแผนฯ ด้านลุ่มน้ำแม่กลอง วางแผนจัดสรรน้ำรวม 3,000 ล้าน ลบ.ม. จัดสรรน้ำไปแล้ว 624 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น  21% ของแผนฯ