ปลื้มผลงาน 2 ปี นโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ มั่นใจต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ปลื้มผลงาน 2 ปี นโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ มั่นใจต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
ปลื้มผลงาน 2 ปี นโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ มั่นใจต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ปลื้มผลงาน 2 ปี นโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์  มั่นใจต่อยอดขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ในการประชุมครั้งที่ 2/2564 ของคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายกัญชาเสรีทางการแพทย์ เมื่อเร็วๆ นี้ มีวาระติดตามแผนปฏิบัติการเร่งรัด (Quick win) การขับเคลื่อนกัญชาเป็นพืชเศรษฐกิจ โดยมีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ของกระทรวงสาธารณสุขเข้าร่วมประชุม

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ที่ปรึกษาสถาบันกัญชาทางการแพทย์ และอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะกรรมการฯ ได้กล่าวถึงผลสรุปการประชุมว่า การจะทำให้กัญชา-กัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างคุณค่าให้กับคนไทยได้อย่างแท้จริงนั้น จำเป็นต้องขับเคลื่อนไปพร้อมกันทั้งห่วงโซ่อุปทาน ตั้งแต่ส่วนต้นน้ำ กลางน้ำ ไปถึงปลายน้ำ ซึ่งแต่ละส่วนจะมีหน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงที่รับผิดชอบแผนงาน และมี สถาบันกัญชาทางการแพทย์ เป็น focal point ในการประสานงานเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายเดียวกันได้ โดยเริ่มตั้งแต่การมีธนาคารเมล็ดพันธุ์ ซึ่งเป็นต้นทางสำคัญของธุรกิจกัญชา การลดขั้นตอนการขออนุญาต การยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์พืชและผลิตภัณฑ์กัญชา รวมไปถึงการพัฒนาแนวทางการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์กัญชา

นอกจากนี้ การพัฒนาบุคลากรสาธารณสุขให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ยากัญชา ก็เป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไป โดยจะมุ่งเน้นการบูรณาการระหว่างการแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์แผนไทย อีกทั้ง ยังได้เพิ่มการอำนวยความสะดวกของคลินิกเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงระบบบริการได้มากขึ้น ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงประเด็นการขับเคลื่อนเหล่านี้เป็นระยะ

ดร.ภก.อนันต์ชัย อัศวเมฆิน

ดร.ภก.อนันต์ชัย ยังชี้แจงถึงข้อมูลความปลอดภัยทางคลินิกจากการใช้กัญชา ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างมากจากสาธารณชนและบุคลากรทางการแพทย์ ว่า  จากผลการติดตามรายงานอาการไม่พึงประสงค์ของการใช้กัญชา ตั้งแต่มีการดำเนินนโยบายกัญชาทางการแพทย์มาเป็นเวลา 2 ปี พบว่า อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้กัญชามีจำนวนลดลงอย่างมาก กล่าวคือ ในปี 2562 พบอาการไม่พึงประสงค์ 641 ครั้ง ในขณะที่ 2563 ลดลงเหลือเพียง 269 ครั้ง และที่น่าสนใจไปกว่านั้น คือ ผลข้างเคียงเฉียบพลันจากการใช้กัญชา มีแนวโน้มที่ลดลงเมื่อเทียบกับสัดส่วนผู้ใช้ทั้งหมด โดยผลข้างเคียงของยากัญชาที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่ อาการเวียนศีรษะ มึนงง ซึ่งเมื่อผู้ป่วยใช้ยาไปสักระยะหนึ่งแล้ว ร่างกายจะสามารถปรับตัวได้ หรือในบางรายอาจแก้ไขด้วยการปรับขนาดยา และอาการปากแห้ง คอแห้ง ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยการจิบน้ำบ่อยๆ

สำหรับอาการทางจิตเวช เช่น วิตกกังวล ประสาทหลอน กระวนกระวาย พบจำนวนน้อยมาก และไม่พบผู้ป่วยที่เกิดโรคทางจิตจากการใช้ยากัญชาเลยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบบริการที่ดี และทำให้ผู้ป่วยได้รับยากัญชาที่มีคุณภาพภายใต้การดูแลของแพทย์ จะทำให้ผู้ป่วยจะมีความปลอดภัยจากการใช้ยากัญชา ส่วนผู้ที่นำยากัญชาไปใช้ไม่ถูกต้อง จะมีการวางมาตรการจัดการต่อไป

ผู้ที่สนใจข้อมูลกัญชาทางการแพทย์เพิ่มเติม สามารถติดตามได้จากเว็บไซต์กัญชาทางการแพทย์ หรือ https://www.medcannabis.go.th