ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ

ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ
ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ

ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ 

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจาก ตลาดกุ้ง จ.สมุทรสาคร ทำให้มีการล็อกดาวน์พื้นที่บริเวณชุมชนดังกล่าว ซึ่งมีแรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่จำนวนมาก

โดย คุณสมพงค์​ สระแก้ว​ ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) ได้โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า จากสถานการณ์ มีผู้ติดเชื้อโควิด​-19 ในพื้นที่อำเภอเมือง​ จังหวัดสมุทรสาคร ทำให้มีการล็อก​ดาวน์ในพื้นที่บริเวณชุมชนตลาดกลางกุ้ง​ มหาชัย ซึ่งมีพี่น้องแรงงานพักอาศัยและทำงานอยู่ 2,000-​3,000 กว่าคน ได้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของแรงงานต่างด้าว ประเด็นเร่งด่วนที่จะทำให้ผู้ที่ถูกกักตัว สามารถพักอาศัยและดำรงชีวิตอย่างต่อเนื่องเป็นปกติได้ คือ เรื่องอาหาร​ ปัจจัย 4 และสิ่งจำเป็นทั้งหลายทั้งผู้ชายผู้หญิงและเด็ก จึงมีความจำเป็นที่จะต้องระดมทรัพยากร งบประมาณ ข้าวสาร​ อาหารแห้ง​ น้ำดื่ม​ ฯลฯ​ เท่าที่มี เพื่อ​ทำถุงยังชีพ ที่ตอบสนองกับวิถีชีวิต และวัฒนธรรมการบริโภคของแรงงานต่างด้าว

ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ
ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ

ต่อมา ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN) เผยว่า ตัวเลขจริงๆ ของแรงงานต่างด้าวที่อาศัยอยู่ในชุมชนตลาดกุ้งมีราวๆ 4,000 คน และมีจำนวนหนึ่งเป็นผู้ติดเชื้อไม่แสดงอาการพักอาศัยอยู่ด้วย เพราะใช้โมเดลเดียวกับสิงคโปร์ คือ อยู่รวมกันไปก่อน ร่างกายยังแข็งแรงไม่แสดงอาการ ถ้าป่วยค่อยแยกออกมา ในจำนวนแรงงานต่างด้าวประมาณ 4,000 คน เป็นวัยของคนทำงานอายุ 18-40 ปี​ ประมาณ 3,000 กว่าคน ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป เกือบ 100 คน และมีเด็กแรกเกิด​ เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มากกว่า​ 100 คน​ นอกจากนั้น​ ยังมีแม่ตั้งครรภ์​ไม่ต่ำกว่า​ 20​ คน​

“หอพักที่แรงงานต่างด้าวอาศัยอยู่ เป็นของเอกชนเปิดให้เช่าในราคาเดือนละ 1,500-3,000 บาท บวกค่าน้ำค่าไฟรวมๆ แล้วเดือนละ 3,000-4,000 บาท ส่วนใหญ่อยู่กันเป็นครอบครัว 3-4 คน บางส่วนประหยัดค่าใช้จ่ายจึงพักรวมกันในเครือญาติห้องละ 5-6 คน ทำให้ห้องแออัด ต้องออกมาสร้างเพิงกางมุ้งอยู่ด้านหน้าห้องตรงทางเดิน เขาอยู่แบบนี้กันมานานแล้ว สภาพแวดล้อม และระบบสาธารณสุขไม่ค่อยดีเท่าไหร่ มีทั้งขยะ และน้ำเสียรอบชุมชนซึ่งมาจากการชะล้างกุ้งในตลาด กลิ่นไม่ต้องพูดถึง เวลานอนก็ไม่มีอากาศถ่ายเท บางทีจุดไฟกันยุงควันก็ลอยอยู่ในห้อง และใช้วิธีการเดินหรือปั่นจักรยานไปทำงาน”

ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ
ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ

คุณสมพงค์​ เผยว่า หลังจากล็อกดาวน์ ความแออัดยังเหมือนเดิม เท่าที่ถามแรงงาน ยังเดินไปพูดคุยกับเพื่อนข้างห้องปกติ แต่อยู่ในพื้นที่ที่จำกัด อาหารการกินยังมีอยู่ ไม่อัตคัดมาก แต่เป็นห่วงเรื่องอาหารเสริมของเด็ก ของจำเป็นสำหรับผู้หญิง เช่น ผ้าอนามัย ฯลฯ ยาสามัญประจำบ้าน รวมถึงอุปกรณ์ป้องกัน​ หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์​เจล​

“ขณะนี้มีภาคธุรกิจ เจ้าของแพกุ้งที่มีลูกน้องอยู่ข้างในช่วยดูแล ส่งของมาให้ และมูลนิธิต่างๆ ก็หาข้าวสารอาหารแห้งให้ แต่ที่ผมเปิดระดมทรัพยากร เพราะหากเกิดอะไรขึ้นมาแล้วจะไม่ทัน กันไว้ก่อนดีกว่า และต้องหาของที่เหมาะกับวิถีชีวิตการกินของเขาด้วย เช่น ปลาแห้ง ถั่ว น้ำมันพืช กะปิ พริกแห้ง ฯลฯ อีกบทบาทหน้าที่ของมูลนิธิเราคือ เข้าไปช่วยเรื่องการคัดกรอง เป็นล่าม และจะวางแผนเข้าไปช่วยเหลือเรื่องปัจจัย 4 เพิ่มเติม”

ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ
ชีวิตหลังล็อกดาวน์ แรงงานพม่า อยู่กันแออัด ถูกตีตรา เป็นผู้นำเชื้อเข้าประเทศ

“แรงงานต่างด้าวถูกตีตราว่าเป็นผู้นำเชื้อเข้ามา ยิ่งตรวจแล้วเจอยิ่งตอกย้ำ แต่จริงๆ แล้วเชื้อไม่เลือกใคร เพราะในตลาดกุ้งไม่ได้มีเฉพาะแรงงานต่างด้าว ยังมีคนไทยที่ทำงานอยู่ด้วย ทั้งคนขับรถบรรทุก คนส่งของ คนซื้อของ ซึ่งมาจากต่างจังหวัด มาซื้อบ่อยๆ มีหลายทางมาก ต้องให้ความเป็นธรรมกับพวกเขาด้วย” คุณสมพงค์ เผย

ภาพจาก คุณสมพงค์​ สระแก้ว​ ผอ.มูลนิธิเครือข่ายส่งเสริมคุณภาพชีวิตแรงงาน (LPN)