กสอ.-เดลต้า อัดฉีดทุนหนุนสตาร์ตอัพ ปั้นธุรกิจ-นวัตกรรมเชิงพาณิชย์

กสอ.-เดลต้า อัดฉีดทุนหนุนสตาร์ตอัพ ปั้นธุรกิจ-นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ปี อวด 4 ตัวอย่างโซลูชั่นสุดล้ำ คาดกระตุ้นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 60 ล้านบาท

กระทรวงอุตสาหกรรม โดย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) จับมือ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) อัดฉีดงบ หนุนสตาร์ตอัพปั้นธุรกิจ-นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการ “แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่” (Delta Angel Fund) ปีที่ 5 พร้อมโชว์ 4 ตัวอย่างนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

อาทิ หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC โรบอตฆ่าเชื้อระดับ DNA แบบ 360° โดยไม่ทิ้งสารตกค้าง แพลตฟอร์มชาร์จ EV Car รายแรกของไทย หนุนผู้ใช้รถสะดวกชาร์จ เช็กสถานะผ่านแอพ หุ่นยนต์ผู้ช่วยผ่าตัด หนุนแพทย์ผ่าตัดแม่นยำ ประหยัดเวลา ประสิทธิภาพสูง และเครื่องตัดอ้อยสดช่วยลด PM2.5 มาพร้อมระบบสางใบ ลดการเผาอ้อยสด คืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย

โดยคาดว่าจะสามารถขยายผลและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 60 ล้านบาท ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงาน 4 ปีที่ผ่านมา สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 450 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้500 ราย

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ขานรับนโยบายรัฐ ยกระดับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เร่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้มีความแข็งแกร่ง เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงในทุกมิติ อันก่อให้เกิดรายได้ในภาคธุรกิจและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น

อีกทั้งยังมุ่งพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย ให้มีศักยภาพทางการแข่งขันในตลาดโลก โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ได้กำหนดเป็นเป้าหมายสำคัญของการดำเนินงาน ด้วยการใช้นวัตกรรมหรือองค์ความรู้ในอุตสาหกรรม 4.0 ความคิดสร้างสรรค์และก้าวทันกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ซึ่งจะเห็นได้ว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ (Startup) มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืนในระยะยาว

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมาย กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในการประสานความร่วมมือกับ บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการ “แหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่” (Delta Angel Fund) เพื่อสนับสนุนเงินทุนแบบเงินให้เปล่า (Angel Fund) แก่ผู้ประกอบการที่มีไอเดียหรือต้นแบบสิ่งประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ ให้สามารถดำเนินธุรกิจในสาขาอุตสาหกรรมเป้าหมายได้อย่างเป็นรูปธรรม

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า โครงการดังกล่าว ได้ดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีที่ 5 โดยมีบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ให้การสนับสนุนเงินทุน รวมกว่า 3.2 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกรวม 30 ทีม จากผู้สมัครทั้งหมด 152 ทีม ผ่านการนำเสนอแผนธุรกิจ/ไอเดียนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ (Pitching) ใน 3 ด้าน ดังนี้

ระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรม (Industrial Automation) การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีการใช้พลังงานอย่างมีความรับผิดชอบ (Energy Management) และนวัตกรรมเพื่ออนาคต (Innovation) ครอบคลุม 6 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่ สาขาอุตสาหกรรมยานยนต์ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ หุ่นยนต์ การแพทย์ครบวงจร อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ และดิจิทัล

จากการดำเนินโครงการดังกล่าว มีผลลัพธ์ที่พร้อมใช้งาน ทั้งในระดับชุมชน องค์กร พาณิชย์ ตลอดจนของตัวแทน อาทิ “หุ่นยนต์ฆ่าเชื้ออัตโนมัติด้วยรังสี UVC” โรบอตฆ่าเชื้อระดับ DNA แบบ 360° โดยไม่ทิ้งสารตกค้าง “แพลตฟอร์มชาร์จ EV Car รายแรกของไทย” หนุนผู้ใช้รถสะดวกชาร์จ เช็กสถานะผ่านแอพ “หุ่นยนต์ผู้ช่วยผ่าตัด” หนุนแพทย์ผ่าตัดแม่นยำ ประหยัดเวลา ประสิทธิภาพสูง

และ “เครื่องตัดอ้อยสดช่วยลด PM2.5” มาพร้อมระบบสางใบ ลดการเผาอ้อยสด คืนอากาศบริสุทธิ์ให้คนไทย ทั้งยังช่วยลดต้นทุนในด้านเครื่องจักรกลจากเดิมที่ต้องใช้เงินกว่าสิบล้านบาทต่อเครื่อง ลดลงเหลือประมาณ 7.5 แสนบาท ทั้งนี้ คาดว่าจะสามารถขยายผลนวัตกรรมและสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 60 ล้านบาท

ทั้งนี้ ผู้ผ่านการคัดเลือกทั้งหมด ได้รับการเติมเต็มองค์ความรู้สำหรับการเริ่มต้นธุรกิจ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งการบริหารจัดการธุรกิจผ่านระบบออนไลน์ ฝึกทักษะการนำเสนอแนวคิดต่อแหล่งเงินทุน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้และข้อมูลระหว่างผู้ประกอบการ และผ่านกิจกรรมเชื่อมโยงเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ (Delta Angel Fund Networking)

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ขานรับจากนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล และ กระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการปรับโครงสร้างระบบเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Value-based Economy) ด้วยการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการอัจฉริยะ (Smart Enterprises) โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอี (SMEs) และผู้ประกอบการสตาร์ตอัพ (Startup) ให้เป็น “นักรบเศรษฐกิจพันธุ์ใหม่” ที่สร้างธุรกิจโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมเป็นฐาน มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่ม การจ้างงานในท้องถิ่น และการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค

เพื่อเป็นกลไกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล กสอ. โดย กองส่งเสริมผู้ประกอบการและธุรกิจใหม่ จึงดำเนินนโยบาย “ปั้นผู้ประกอบการรายใหม่ และสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจ” เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้มีแนวคิดหรือสิ่งประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุน ภายใต้โครงการ “Delta Angel Fund” โดยมี เดลต้าฯ ให้การสนับสนุนเงินทุน ให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ รวมถึงเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิต

จากการดำเนินงาน 4 ปีที่ผ่านมา มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการกว่า 650 ทีม โดยผ่านการคัดเลือกและสนับสนุนเงินทุน จำนวน 128 ทีม รวมมูลค่ากว่า 13 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจรวม 450 ล้านบาท ซึ่งก่อให้เกิดการลงทุนในการจัดตั้ง/ขยายธุรกิจ 70 ล้านบาท สามารถขยายผลสู่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น 500 ราย คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 80 ล้านบาท และสามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้มีมูลค่ายอดขายเพิ่มขึ้น มากกว่า 300 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม กสอ. พร้อมยืนหยัดและเคียงข้างผู้ประกอบการไทย ในการผลักดันแนวคิดให้เกิดเป็น “ธุรกิจใหม่” หรือ “นวัตกรรมเชิงพาณิชย์”  

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการบริหารบริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “เงินทุน” ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญของการเริ่มต้นธุรกิจ หรือการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์ ของผู้ประกอบการทั้ง SMEs และ Startup เดลต้าฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนานวัตกรรมเชิงพาณิชย์หรือโซลูชั่นใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในกระบวนการผลิตภาคอุตสาหกรรม อันก่อให้เกิดประโยชน์แก่สาธารณชน และเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจของประเทศ จึงมีแนวคิดในการสนับสนุนเงินทุAngle Fund

โดยบูรณาการความร่วมมือกับ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ผ่านการดำเนินโครงการ “Delta Angel Fund” อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชื่อมโยงผู้ประกอบการ สู่การสร้างเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจ แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมไปถึงการเจรจาธุรกิจ อันจะก่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจภายในเครือข่ายเป็นลำดับต่อไป