สสว.ขยายตลาด เพิ่มยอดขายใน-ต่างประเทศ เร่งช่วย SMEs สู้วิกฤตโควิด-19

สสว.ขยายตลาด เพิ่มยอดขายใน-ต่างประเทศ เร่งช่วย SMEs สู้วิกฤตโควิด-19

นายวีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า จากสถานการณการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างรุนแรง โดยการดำเนินงานที่สำคัญของ สสว ภายใต้แนวทาง สสว. CONNEXT “เชื่อมคน เชื่อมเอสเอ็มอี เชื่อมโลก”

ซึ่งประกอบไปด้วย 1. การเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุน 2. การลดค่าใช้จ่ายเพิ่มประสิทธิภาพ และ 3. การเพิ่มช่องทางการตลาด เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้กลับมาเข้มแข็ง โดยเชื่อมต่อทั้งช่องตลาดออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การจัดงานแสดงสินค้า และการทดสอบตลาด และการจับคู่เจรจาธุรกิจ

ผอ.สสว. เผยอีกว่า การส่งเสริมการตลาดออนไลน์ แบ่งเป็น 1. การดำเนินงานบนแพลตฟอร์มของ สสว. มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการค้าและจับคู่ทางธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการและผู้บริโภค ในรูปแบบชีวิตวิถีใหม่ (New Normal)

และ 2. การสนับสนุนช่องทางออนไลน์ของผู้ประกอบการ เช่น เฟซบุ๊ก อินสตาแกรม โอเอ (OA) เว็บไซต์ หรือ แอพพลิเคชั่นที่ผู้ประกอบการจัดสร้างเอง หรือผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของ Shopee หรือ Lazada

สำหรับตัวอย่างการดำเนินงานบนแพลตฟอร์มของ สสว เช่น ตลาดช้อปแช บนแอพพลิเคชั่นไลน์โอเพ่นแช็ต โดยจับกลุ่มผู้บริโภคที่ชื่นชอบสินค้าไลฟ์สไตล์ การดำเนินงานของตลาดนี้ทำให้กลุ่มของผู้ประกอบการใหม่ ได้ทำการทดสอบตลาดจริง

ตั้งแต่วิธีการเลือกสินค้า การจัดทำข้อมูล การโปรโมตสินค้าของตน เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคเป้าหมายหรือ ตลาด กทบ สสว. ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มบนแอพพลิเคชั่นไลน์ ก็เป็นความร่วมมือระหว่าง สสว. และสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) จัดทำขึ้นเพื่อยกระดับสินค้าและผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการที่เป็นสมาชิกกองทุนหมู่บ้านฯ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่เน้นกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและสินค้าท้องถิ่น โดย สสว. จะสนับสนุนในการสร้างแพลตฟอร์มการซื้อขาย และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อทุกสื่อภายใต้การดำเนินงานของ สสว.

และล่าสุด ได้เพิ่มช่องทางอีคอมเมิร์ซ ผ่าน ตลามะเฟือง เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มสินค้าพรีเมี่ยม หรืออัตลักษณ์ของสมาชิก สสว. ซึ่งเป็นการส่งเสริมการขายออนไลน์เต็มรูปแบบ คาดว่าจะมีผู้ประกอบการที่เข้าร่วมทั้งสิ้นกว่า 35,343 ราย สร้างรายได้กว่า 1,500 ล้านบาท

สำหรับการสนับสนุนช่องทางออนไลน์ของผู้ประกอบการ ได้แก่ จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจออนไลน์ เช่น การบริหารจัดการธุรกิจ การเขียนเนื้อหาสินค้า เทคนิคการถ่ายภาพ โลจิสติกส์ /ดิจิทัล มาร์เก็ตติ้ง และการใช้แพลตฟอร์ม เป็นต้น

นายวีระพงศ์ กล่าวต่อไปว่า ในส่วนของการส่งเสริมการตลาดออไลน์ ประกอบไปด้วย การจัดงานแสดงสินค้า และการทดสอบตลาด และการจับคู่เจรจาธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ ขณะนี้ ผู้ประกอบการเข้าร่วมกว่า 11,261 ราย สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ กว่า 11,575 ล้านบาท ทั้งนี้ในปี 2563 ตลาดต่างประเทศจะมุ่งเน้นไปยังประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน บาห์เรน อินเดีย และกลุ่มอาเซียน ได้แก่ ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม สปป.ลาว หรือ กัมพูชา

โดยใช้รูปแบบทั้งออนไลน์ผ่านโปรแกรมคอนเฟอเรนซ์ควบคู่ไปกับรูปแบบออฟไลน์ สำหรับผู้ซื้อในประเทศไทย โดยเน้นสินค้าในกลุ่มไลฟ์สไตล์ ของตกแต่ง เครื่องสำอาง และธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ

“นอกจากนี้ การจัดงานแสดงสินค้า และการทดสอบตลาดในภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ จะมุ่งไปที่การขายปลีก เพื่อเพิ่มยอดให้กับเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมกิจกรรม เช่น SMEs Fest, SMEs Market Fair, SMEs Festival Trade Fair โดยจะจัดในศูนย์แสดงสินค้าขนาดใหญ่ ศูนย์การค้าต่างๆ ศูนย์ราชการและแหล่งชุมชนทั่วทุกภูมิภาค ทั้งหมด 37 ครั้งทุกภูมิภาค โดยกลุ่มสินค้าที่ไปจัดแสดงมีทั้ง กลุ่มอุปโภคบริโภค แฟชั่น เครื่องแต่งกาย และอาหาร ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นยอดขายและทำให้เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจกว่า 13,000 ล้านบาท จากตลาดออนไลน และออฟไลน์ จึงขอเชิญชวนผู้บริโภคชาวไทย ช่วยกันอุดหนุนสินค้าไทย โดยผู้ประกอบการไทย ซึ่งผู้ประกอบสามารถติดตามข่าวสาร กิจกรรมและโครงการต่างๆ ของ สสว. ได้ทางแอพพลิเคชั่น SME CONNEXT และจากแพลตฟอร์มต่างๆ ของ สสว. นายวีระพงศ์ กล่าวในที่สุด

ผู้ประกอบการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถติดตามข่าวสาร และกิจกรรมของ สสว. ได้ทางแอพพลิเคชั่น SME CONNEXT