สสว. จับมือ สถาบันไฟฟ้าฯ ติวเข้ม ผปก. สู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล สู้โควิด-19

สสว. จับมือ สถาบันไฟฟ้าฯ ติวเข้ม ผปก. สู่การเปลี่ยนแปลงสู่ยุคดิจิทัล สู้โควิด-19

จากการที่สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ได้ดำเนินการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการ SMEs ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร ผ่านโครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจากการเข้าไปให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การผลิต การเงิน และให้ปรึกษาแนะนำเชิงลึกโดยการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้สูงขึ้น สร้างให้เกิดมาตรฐานและคุณภาพในกระบวนการผลิต พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความสร้างสรรค์ รวมทั้งต่อยอดจนสามารถได้รับมาตรฐานสินค้าและบริการที่เป็นรูปธรรม

เน้นกลุ่มอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ GDP ของประเทศ เช่น กลุ่มอาหารและเกษตรแปรรูป กลุ่มแฟชั่นและไลฟ์สไตล์ กลุ่มบริการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกลุ่มท่องเที่ยวรายได้สูง กลุ่มสปาและความงาม กลุ่มอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ ฯลฯ ซึ่งได้พัฒนาผู้ประกอบการไปแล้วกว่า 40,000 ราย และผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการสามารถทำให้ผู้ประกอบการมีรายได้เพิ่มขึ้น สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ และสามารถลดต้นทุนในกระบวนการผลิตสินค้าและบริการ รวมไปถึงสร้างให้เกิดประสิทธิภาพ
ในกระบวนการผลิตและบริการได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ต่อปี

สสว. จึงได้ร่วมมือกับสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจระดับเติบโต (SME Regular Level) อาทิ กิจกรรมรับสมัครผู้ประกอบการ และจัดโปรแกรมให้ความรู้ผ่านการอบรม หรือศึกษาดูงาน ในหัวข้อที่เหมาะและเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ และกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะผู้ประกอบการในเชิงลึก

โดยจัดโปรแกรมส่งเสริมและสนับสนุนในด้านที่มีประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ เช่น การให้คำปรึกษาและพัฒนาเชิงลึกเพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ หรือเพิ่มมูลค่าสินค้าหรือบริการ หรือเตรียมความพร้อมในด้านมาตรฐาน การสนับสนุนการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการ หรือการสนับสนุนด้านการตลาดเชิงลึกเพื่อสร้างยอดขายให้แก่ผู้ประกอบการ เป็นต้น

ซึ่งคาดว่าผลลัพธ์จากการดำเนินโครงการจะทำให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้จากการอบรม/Workshop และการพัฒนาเชิงลึกไปพัฒนาทักษะและนำไปปรับใช้ในธุรกิจและสามารถทำให้ธุรกิจเติบโต และมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างให้เกิดความเข้มแข็งและสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล

นายณรัฐ รุจิรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กล่าวว่า “การจัดงานเสวนากลยุทธ์การพัฒนาองค์กรในยุคดิจิทัล ด้วยการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) ครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการพัฒนาองค์กรเพื่อแสวงหาโอกาสบนความปกติใหม่ (New Normal) ด้วยการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงองค์กรสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) รู้ทัน เข้าใจ การเปลี่ยนแปลงสู่โลกยุคดิจิทัล (Digital Age)

เพื่อการพัฒนาองค์กรเพื่อแสวงหาโอกาสบนความปกติใหม่ (New Normal) ตลอดจนการนำองค์กรในยุคดิจิทัล กับการพัฒนาขีดความสามารถด้านภาวะผู้นำองค์กรดิจิทัล (Digital Leadership) กลยุทธ์การพัฒนากลไกการขับเคลื่อนองค์กรเพื่อพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล ตลอดจนการทำกลยุทธ์การกำกับข้อมูลภายในองค์กร (Data Governance Strategies) เพื่อการบริหารงานองค์กรด้วยข้อมูล (Data-Driven Organization) เน้นหลักคิดการสร้าง Data Driven Culture ก้าวแรกสู่การใช้ข้อมูลในการสนับสนุน การตัดสินใจกำหนดทิศทางวางแผนการสร้างกลยุทธ์ด้านดิจิทัลให้กับองค์กร และการพัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Organization) ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการกำกับดูแลข้อมูล (Introduction to Data Governance) และบทบาทของบุคลากรในองค์กรกับการกำกับดูแลข้อมูล

ที่สำคัญเรียนรู้การพัฒนากำลังคนด้านดิจิทัล (Digital Manpower) กุญแจสำคัญในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) การพัฒนา Digital Mindset เพื่อการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) และแนวทางพัฒนาทักษะดิจิทัลของบุคลากร เพื่อสร้างความสามารถในการปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี และมีความพร้อมต่อการปฏิบัติงาน”

“การร่วมมือกันระหว่าง สสว. และสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ครั้งนี้ เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการ SMEs ไทย และบุคลากรในธุรกิจให้มีขีดความสามารถในการแข่งขันในด้านต่างๆ เช่น ด้านการตลาด ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการโดยใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับสินค้าและบริการ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในธุรกิจ ฯลฯ รวมทั้งเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้ประกอบการและสร้างจิตสำนึก ในการเป็นผู้ประกอบการที่ดี ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างสมรรถนะการประกอบการให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน อันจะนำสู่การสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น เพื่อยกระดับศักยภาพของผู้ประกอบการให้สูงขึ้น โดยการต่อยอดเพื่อให้ได้รับใบรับรองมาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับของสากล ที่สำคัญทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อให้เกิดความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนา SMEs ในภาพรวมของประเทศ” ผู้อำนวยการสถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์   กล่าวทิ้งท้าย