น้ำใจหลั่งไหลช่วย “ลุงชง ท้าวแสนปม” เตรียมเดินทางกราบพระบรมศพ

เมื่อวันที่ 17 พ.ย. นายดำงค์ ดีสกูล นายอำเภอเบตง พร้อมด้วยนายจรูญ พรหมน้อย ปลัดอาวุโสอำเภอเบตง และสำนักงานพัฒนสังคมและความมั่นคงและศูนย์พัฒนาการจากสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุบ้านทักษิณจังหวัดยะลา อบจ.ยะลา คณะแพทย์จากโรงพยาบาลเบตง นำข้าวสารอาหารแห้ง เครื่องดื่ม และเงินสดจำนวน 17,000 บาท ไปมอบให้กับนายชิติ เจริญรัตนประภา วัย 60 ปี ที่ป่วยเป็นโรคท้าวแสนปม โดยจากการสอบถามความเป็นอยู่ นายชิติ เล่าว่า ตนเองได้มาอาศัยบ้านพักคนงานชาวพม่า หลังเดินทางมากับเพื่อนชาวพม่าเมื่อหลายเดือนก่อน แต่เพื่อนชาวพม่าถูกเจ้าหน้าที่จับกุมไปเมื่อเดือนตุลาคม จึงทำให้ต้องอยู่เพียงลำพัง ไม่มีงานทำ เนื่องจากป่วยเป็นโรคท้าวแสนปม จึงไม่มีคนรับเข้าทำงาน ด้วยความสงสารเพื่อนบ้านจึงนำเรื่องราวของตนไปโพสต์ และมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่ง ลุงชิติ มีความต้องการเดินทางกลับบ้านที่กรุงเทพ เพื่อเดินทางเข้ากราบถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ส่วนการช่วยเหลือนายชิติ เจริญรัตนประภา สามารถช่วยเหลือได้ที่หมายเลขบัญชี 0091648385 ธนาคาร กสิกรไทย สาขาสำเหร่ ซึ่งขณะนี้มียอดบริจาคเกือบ หนึ่งแสนบาทแล้ว

14993462_1817986661806991_6162120263166022860_n
ลุงชง กล่าวว่า การที่มีผู้ใจบุญจะให้งานลุงทำนั้น ขอขอบคุณ แต่จะไม่ไปไหนจะอยู่ที่อำเภอเบตงต่อไปเพราะคนที่นี่มีจิตใจงดงามและเอื้อเฟื้อ เผื่อแผ่ ไม่รังเกียจตน เหมือนที่ผ่านมา หลังจากที่ออกสื่อต่างๆทำให้กลัวว่าหากไปอยู่กรุงเทพฯคนจะมาหาสู่เพื่อมาขอเงินแก ดังนั้นจึงขออยู่ที่อำเภอเบตง อย่างสงบดีกว่า

15003400_1109159802538940_1885694032793888289_o
นายดำรง ดีสกุล นายอำเภอเบตง กล่าวว่า ในการให้การช่วยเหลือ นายชิติ เจริญรัตนประภา ทางอำเภอเบตงและหน่วยงานต่างๆจะให้การช่วยเหลือโดยการหาที่อยู่และสร้างบ้านใหม่ให้รวมทั้งหาอาชีพให้เพื่อการดำรงชีพด้วยตนเองได้ต่อไป และหลังจากที่ได้ไปกราบถวายบังคมพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จะกลับมาอยู่อำเภอเบตงต่อไป และส่วนเงินที่ได้รับบริจาคจะเก็บไว้เป็นทุนรวมทั้งทุนซื้อล๊อตเตอรี่มาขาย เพราะงานอย่างอื่นที่อยู่กับคนทั่วไปคงจะหางานทำไม่ได้

201611171257525-20050615153902
นอกจากนี้ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเบตง ระบุว่า โรคท้าวแสนปมไม่ใช้โรคติดต่อ เนื่องจากโรคผิวหนังที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม สามารถรักษาตามอาการได้ โดยวิธีการตัดก่อนเนื้อ และผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ อีกทั้งสังคมไม่ควรรังเกียจ เนื่องจากไม่ใช้โรคติดต่อ