แพทย์จุฬาฯเผย 4 เหตุผล-ข้อคิดการโพสต์-แชร์ขอบริจาคเลือดทางเน็ต

ศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย เปิดเผย ถึงกรณีข้อเท็จจริง เกี่ยวกับ “การโพสต์ .. ขอ บริจาค เลือด ทางอินเตอร์เน็ต”ว่า ผมไม่อยากขัดศรัทธา ของผู้ใด นะครับ แต่ ในฐานะ หมอโรคเลือด ผมขอแบ่งปัน ข้อคิด เกี่ยวกับ “การโพสต์ ขอ เลือด ทางอินเตอร์เน็ต” ดังนี้ นะครับ

1. ธนาคารเลือดมีระบบ ขอเลือด จากศูนย์บริการ โลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ทั้งปกติ และ ในยามฉุกเฉินอยู่แล้ว และ สามารถยืม ระหว่าง รพ ต่างๆ ถ้าเลือด หรือ เกล็ดเลือดกลุ่มใด หายาก ศูนย์บริการโลหิต มีข้อมูล ผู้บริจาคกลุ่มเลือด หายาก ในระบบ
ถ้าต้องการเลือด เมื่อใด เขาจะติดต่อ คนพิเศษ ที่เลือด ตรงหมู่เหล่านี้ ให้มาบริจาคล่วงหน้า หรือ ทันที
2. ผู้บริจาคบริจาค วันใด เลือดก็จะต้อง ถูกตรวจสอบ ตามมาตรฐาน อย่างเข้มข้น เร็วที่สุด ก็คือ 48 ชั่วโมง
ถ้า “ผ่าน” จึงจะนำไปใช้ กับผู้ป่วยได้
3. ผู้บริจาคไม่สามารถ ระบุตัวผู้ป่วย ที่จะนำไปใช้ (แม้ว่า จะแจ้งความจำนง ว่า บริจาคเพื่อใคร) โดยระบุ .. ห้ามให้คนอื่น .. ทำไม่ได้ มันผิดกฎเกณฑ์ หลักสากล
3.1 ถ้าทำเช่นนั้น จะทำให้ เลือดถูกทิ้งมากกว่า ใช้ประโยชน์
3.2 เป็นการบริจาคเลือด ที่ไม่บริสุทธิ์ใจ
3.3 เพิ่มความเสี่ยง แก่ ผู้รับ เพราะ คนที่ ไม่สมควร บริจาค ถูกโน้มน้าว ให้มาบริจาค ด้วยเหตุผล ทางสังคม
3.4 เป็นการเพิ่มงานแก่ เจ้าหน้าที่
ในยุคปัจจุบัน เราจะพึง รณรงค์ ให้ผู้ที่ สามารถ บริจาคเลือดได้นั้น เข้ามาบริจาค เป็นประจำ ทุกๆ 3 เดือน
เลือดจากผู้บริจาคกลุ่มนี้ เป็นเลือดที่มีคุณภาพดี มีปัญหาน้อย และ มีสิทธิ บริจาคเกล็ดเลือด เข้มข้น ที่สามารถใช้ได้ ทันที อีกด้วย
เราไม่ค่อยอยากได้เลือด จากผู้บริจาค ที่ “ยอม..มา” เพียงเพราะ ใครบางคน ป่วย แล้วขอให้มาช่วย (coerced donation/replacement donation) เพราะตรวจแล้ว ส่วนมาก ไม่ผ่าน .. มีเยอะมาก อาจจะ .. เสียทรัพยากรไป โดยเปล่าประโยชน์ ได้
4. การเปิดเผย ชื่อผู้ป่วย และ โรคที่เขาเป็น ใน สื่อสาธารณะ เช่น social มีความเสี่ยง
* คราวหน้า หากพบเห็น โพสต์ ขอเลือด ในกลุ่ม อินเตอร์เน็ตใดๆ โปรด .. ช่วยกัน เผยแพร่ ความจริง ด้วยนะครับ !!!

#ข่าวสาร จาก
องค์กรแพทย์จุฬาฯ

 

 

ที่มา มติชน