7 ไม้ฟอกอากาศ ดักจับฝุ่น PM2.5 ปลูกเพิ่มได้พื้นที่สีเขียวในบ้าน

7 ไม้ฟอกอากาศ ดักจับฝุ่น PM2.5 ปลูกเพิ่มได้พื้นที่สีเขียวในบ้าน
7 ไม้ฟอกอากาศ ดักจับฝุ่น PM2.5 ปลูกเพิ่มได้พื้นที่สีเขียวในบ้าน

7 ไม้ฟอกอากาศ ดักจับฝุ่น PM2.5 ปลูกเพิ่มได้พื้นที่สีเขียวในบ้าน

จากสภาพอากาศที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในหลายพื้นที่ เราขอแนะนำ 7 ต้นไม้ฟอกอากาศ ปลูกในบ้านก็ได้ ปลูกไว้ในออฟฟิศก็ดี สามารถปลูกไว้ในบ้าน บนโต๊ะทำงาน แม้กระทั่งเอาวางไว้ในห้องนอนได้

  1. งาช้างบอลเซล

ไม้อวบน้ำ สูงเต็มที่ได้ถึง 50 เซนติเมตร ทนแล้งได้ดีมากๆ ฟอกอากาศ ดูดสารพิษ จัดการกลิ่นอับได้ดี และมีผลการวิจัยจากสถาบันนาซ่า ว่าปรับและควบคุมบรรยากาศภายในกระสวยอวกาศได้ดี ลดสารอันตราย ปล่อยออกซิเจนออกมาในช่วงกลางคืน และคายน้ำเพื่อความชุ่มชื้น ทำให้รู้สึกสดชื่น ผ่อนคลาย และนอนหลับสบาย

  1. ลิ้นมังกร

เป็นอีกพันธุ์ที่องค์การนาซ่ายอมรับว่า ช่วยฟอกอากาศได้ดี มีการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ และคายออกซิเจนออกมาในเวลากลางคืน ยังเป็นไม้มงคลตามตำราไทยโบราณ เชื่อว่าป้องกันภัยร้าย ไม่ให้งูเข้าบ้าน จึงนิยมปลูกไว้ในห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือข้างโต๊ะทำงาน

  1. ว่านหางจระเข้

เป็นพืชล้มลุกมีใบอวบน้ำ ช่วยดูดซับสารเคมีตกค้าง และฟอกอากาศภายในบ้าน โดยเฉพาะสารเคมีในกลุ่ม สีทาบ้าน น้ำยาทาเล็บ และสารเคลือบเครื่องเรือน ซึ่งมีผลเสียต่อดวงตา ผิวหนัง และระบบการหายใจ จึงช่วยทำให้มั่นใจได้ว่า อากาศที่หายใจเข้าไปบริสุทธิ์และปลอดภัยอย่างแน่นอน

  1. ยางอินเดีย

นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับภายในบ้าน อาคาร และห้องนอนด้วยเช่นกัน โดยเจ้าต้นยางอินเดียนี้ จะช่วยฟอกอากาศ ดูดซับสารพิษได้ดี และคายความชื้น มอบความชุ่มชื่น เพิ่มความเขียวสด ทำให้บรรยากาศดูสดใสมีชีวิตชีวา อีกทั้งยังเป็นต้นไม้ที่ปลูกง่าย ดูแลไม่ยาก

  1. เศรษฐีเรือนใน

ช่วยขจัดสารพิษจำพวกสารฟอร์มาลดิไฮด์ ซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งทางเดินหายใจ แนะนำให้ปลูกสำหรับบ้านเสร็จใหม่ๆ จะช่วยฟอกอากาศ กำจัดเชื้อรา และเก็บกวาดสารก่อภูมิแพ้ แต่ต้นไม้ชนิดนี้มีพิษกับแมว

  1. พลูด่าง

เป็นไม้เลื้อยที่มีคุณสมบัติดูดสารพิษโดยเฉพาะสารแอมโมเนีย ที่มีมากในห้องน้ำ และบริเวณเครื่องถ่ายเอกสาร พลูด่างปลูกง่าย โตไว ไม่ค่อยชอบแดด จึงมักถูกจับใส่กระถาง แจกัน หรือจัดเป็นสวนลอยฟ้า แขวนในห้องน้ำ ห้องรับแขก และโต๊ะทำงาน

  1. เดหลี

เป็นไม้พุ่มเตี้ยที่ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในตัวอาคาร มีดอกคล้ายดอกหน้าวัว การกำจัดสารพิษ โดยเฉพาะสารคาร์บอนไดออกไซด์

ที่มาเพจ กระทรวงอุตสาหกรรม

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563