“พารา” ยาแก้ปวดประจำบ้าน กินอย่างไรไม่ให้ทำร้ายตับ?

Young woman taking medicine pill after doctor order

“พารา” ยาแก้ปวดประจำบ้าน กินอย่างไรไม่ให้ทำร้ายตับ?

ยาพารา – ปวดหัว ตัวร้อน เป็นไข้ คลื่นไส้ นอนไม่หลับ เมื่อยเนื้อเมื่อยตัว “พาราเซตามอล” มักจะเป็นยาที่คนส่วนใหญ่นำมากินเป็นอันดับต้นๆ กันเลยทีเดียว แต่คุณสมบัติหรือสรรพคุณของพาราเซตามอล ไม่ได้ครอบจักรวาลถึงขนาดนั้น

ทำให้เกิดปัญหาการใช้ยาแบบผิดๆ เช่น อาการไม่พึงประสงค์ในลักษณะการแพ้ยา ผลข้างเคียง เช่น เกิดพิษต่อตับ การใช้ยาไม่เหมาะสม การได้รับยาซ้ำซ้อน การใช้ยาเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ และการใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค

ทางกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ปรับปรุงข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาพาราเซตามอลให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล โดยอิงตามน้ำหนักตัวของผู้บริโภคเป็นหลัก ดังนี้

การใช้ยาพาราเซตามอลขนาด 325 มิลลิกรัม การใช้ยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัม
น้ำหนักตัว ( กิโลกรัม ) วิธีการใช้ยา น้ำหนักตัว ( กิโลกรัม ) วิธีการใช้ยา
22 ถึง 33 ครั้งละ 1 เม็ด 34 ถึง 50 ครั้งละ 1 เม็ด
มากกว่า 33 ถึง 44 ครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง มากกว่า 50 ถึง 67 ครั้งละ 1 เม็ดครึ่ง

วันละไม่เกิน 5 ครั้ง

มากกว่า 44 ครั้งละ 2 เม็ด มากกว่า 67 ครั้งละ 2 เม็ด

วันละไม่เกิน 4 ครั้ง

 

โดยการกินยาแต่ละครั้ง ควรกินห่างกันอย่างน้อย 4 ชั่วโมง และใช้ไม่เกิน 8 เม็ด หรือ 4,000 มิลลิกรัมต่อวัน และใช้เฉพาะเมื่อมีอาการ เช่น ปวดหรือมีไข้ และไม่กินยาพาราเซตามอลร่วมกับเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างๆ หากไม่มีอาการควรหยุดใช้ยาทันทีเพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงจากยา

ที่มา : Fda Thai