เปิดรายชื่อ 10 ภาษีที่คนทำธุรกิจ เเละคนธรรมดา (ต้องรู้) ในปี 2563

เปิดรายชื่อ 10 ภาษีที่คนทำธุรกิจ เเละคนธรรมดา (ต้องรู้) ในปี 2563  

1. ภาษีบิ๊กไบก์  บิ๊กไบก์ที่มีเครื่องยนต์ตั้งแต่ 1,000 ซีซี ขึ้นไป จะต้องเสียภาษีเพิ่มคันละประมาณ 1 แสนบาท เนื่องจากกินน้ำมันสูง และมีการปล่อย CO2 มาก ทำให้ต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น

2. ภาษีลาภลอย สาระสำคัญ

1. ทำเลใดที่มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐเข้าถึงเจ้าของทรัพย์สินภายในรัศมี 5 กิโลเมตร และมูลค่าทรัพย์สินเกิน 50 ล้านบาทขึ้นไป มีหน้าที่ชำระภาษีลาภลอย 

2. ผู้จ่ายภาษีมีทั้ง “นิติบุคคล” ในกรณีเป็นผู้พัฒนาโครงการ และ “บุคคลธรรมดา” ในฐานะผู้ซื้อหรือผู้บริโภค เหตุผลในการชำระภาษีขึ้นอยู่กับสถานะ “การครอบครอง” เช่น ถ้าก่อสร้างเสร็จแล้วแต่ยังขายไม่หมด เจ้าของโครงการมีหน้าที่จ่ายภาษี หรือลูกค้าซื้อทรัพย์สินไปแล้วก็มีหน้าที่ต้องจ่ายด้วยตัวเอง

3. โครงสร้างพื้นฐาน นิยามครอบคลุมถึงโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน, ทางด่วนพิเศษ, รถไฟทางคู่, รถไฟฟ้า, ท่าเรือ หรือโครงการอื่นๆ ของรัฐ

4. ทรัพย์สินที่ครอบครอง นิยามครอบคลุมตั้งแต่ที่ดินเปล่า, ห้องชุด และแน่นอนว่าหากรัฐกางรัศมี 5 กิโลเมตรจากโครงสร้างพื้นฐาน ย่อมมีค่าเทียบเท่ากับคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ทั้งหมด รวมถึงครอบคลุมพื้นที่ความเจริญของจังหวัดปริมณฑล ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อโครงการแนวราบ ทั้งบ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์โดยอัตโนมัติ

6. และข้อยกเว้นในการจัดเก็บ ถ้าหากทรัพย์สินนั้นใช้เพื่อเป็นที่พักอาศัยและทำเกษตรกรรม แต่ถ้าหากใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชยกรรม และมูลค่าเกิน 50 ล้านบาท มีหน้าที่ต้องจ่ายภาษีลาภลอย

3. ภาษีแบตเตอรี่รถไฟฟ้า  อัตราค่าจัดเก็บจากผู้ผลิตและนำเข้าแบตเตอรี่อยู่ในระหว่างรอรัฐบาลเป็นผู้กำหนด

4. ภาษีบ้านและที่ดิน อัตราการจัดเก็บภาษี ประกอบด้วย ที่อยู่อาศัย ในกรณีบ้านหลังหลักมีชื่อในโฉนดและมีชื่อเป็นเจ้าบ้านในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษีกรณีมูลค่าบ้านและที่ดินไม่เกิน 50 ล้านบาท ส่วนบ้านหลังอื่นๆ ที่มีชื่อในโฉนด แต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน จะได้รับการยกเว้นภาษีกรณีมูลค่าบ้านไม่นับรวมที่ดินไม่เกิน 10 ล้านบาท ส่วนผู้ที่มีคอนโดมิเนียมที่เป็นบ้านหลังอื่นๆ ราคาไม่เกิน 10 ล้านบาท ต้องไปแจ้งยืนยันว่าใช้เป็นที่อยู่อาศัย ไม่ได้ปล่อยให้เช่าจึงจะได้รับการยกเว้น แต่ถ้าใช้เพื่อการพาณิชย์จะเสียภาษีอัตรา 0.3%

5. ภาษีกองทุน ตราพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้ กับ กองทุนต่างๆ ที่ลงทุนในตราสารหนี้ (ยกเว้นกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) จะหักภาษี 15% ของดอกเบี้ยหรือส่วนลดในตราสารหนี้ที่กองทุนได้รับ  โดยการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายดังกล่าวจะเป็นการหักจากกองทุนโดยตรง จากก่อนหน้าที่ไม่โดนภาษี จากเดิมเป็นแหล่งที่นักฝากเงินใช้ประโยชน์ในการบริหารเงินสด เงินฝาก และมีการลงทุนในสินทรัพย์ พันธบัตร, หุ้นกู้, ตราสารหนี้เอกชน ผ่านกองทุนตลาดเงินและกองทุนตราสารหนี้ ที่มีการลงทุนในสินทรัพย์ที่ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคารทั่วไปที่มีภาษี ข้อมูลจาก  ภาษีกองทุน ตราสารหนี้…มีอะไรบ้าง ?

6. ภาษีความหวาน เริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2562 ถึง 30 ก.ย. 2564 เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาล 10 – 14 กรัม /100 มิลลิลิตร เสียภาษี ลิตรละ 1 บาท เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาล 14 – 18 กรัม /100 มิลลิลิตร เสียภาษี ลิตรละ 3 บาท และ เครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาล  18 กรัมขึ้นไป  /100 มิลลิลิตร เสียภาษี ลิตรละ 5 บาท

7. ภาษีอีเพย์เมนต์ โดยกรณีการนำส่งธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ เป็นหน้าที่ของสถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ที่จะต้องรายงานข้อมูลของธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะของปีภาษีที่ล่วงมาแล้ว ซึ่งธุรกรรมที่มีลักษณะเฉพาะหมายถึง 1. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไปต่อปีต่อธนาคาร และ 2. การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดเงินรวม 2,000,000 บาทขึ้นไปต่อปีต่อธนาคาร ทั้งนี้ จะต้องรายงานครั้งแรกภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 (ข้อมูลธุรกรรมของปี 2562) ข้อมูลจาก https://www.prachachat.net/finance/news-306011

8. ภาษีซื้อของออนไลน์ ถ้าสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศมีมูลค่ามากกว่า 1,000 บาทและไม่เกิน 40,000 บาท จะต้องเสียภาษีอากรขาเข้า (หากสินค้าแสดงหน้ากล่องพัสดุรวมค่าจัดส่ง มูลค่าไม่ถึง 1,000 บาท ก็ไม่ต้องเสียภาษี) ข้อมูลจาก https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/reduce-tax-inclusive-chance-while-buying-online.html

9. ภาษีร้านค้าออนไลน์ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ใช้เกณฑ์เดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7% ข้อมูลเพิ่ม https://www.krungsri.com/bank/th/plearn-plearn/store-online-tax.html

10. ภาษีเหล้าบุหรี่