รู้หรือไม่? “เครื่องถ่ายเอกสาร” ถือเป็นภัยเงียบ ทำลายสุขภาพเหมือนกันนะ

รู้หรือไม่? “เครื่องถ่ายเอกสาร” ถือเป็นภัยเงียบ ทำลายสุขภาพเหมือนกันนะ

เครื่องถ่ายเอกสาร – มนุษย์เรามีการคิดประดิษฐ์อุปกรณ์ เพื่ออำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันมากมาย ไม่ว่าจะอุปกรณ์ในบ้านหรือสำนักงาน อุปกรณ์เครื่องใช้ที่จำเป็น อย่าง “เครื่องถ่ายเอกสาร” ก็เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่แทบทุกคนจะต้องใช้กันเป็นประจำ

แต่รู้หรือไม่ว่า เครื่องถ่ายเอกสาร ก็สามารถทำลายสุขภาพของเราได้เหมือนกันนะ! โดยข้อมูลจากเว็บไซต์ AnamaiMedia ได้บอกว่า ร่างกายของคนเรา จะได้รับสารเคมีต่างๆ จากการใช้งานเครื่องถ่ายเอกสารโดยไม่รู้ตัว! ซึ่งอันตรายจากสารเคมีที่ว่านั้นมีอยู่ด้วยกันดังนี้

  1. โอโซน (Ozone) การใช้เครื่องถ่ายเอกสารจะทำให้เราระคายเคืองตา จมูก คอ หายใจสั่น หรือ วิงเวียนและปวดศีรษะ มีอาการล้า และสูญเสียการรับรู้กลิ่นได้ หากได้รับโอโซนความเข้มข้น 0.25 ppm ขึ้นไป ผู้ที่มีโรคระบบหายใจ เช่น โรคหอบหืด ไม่ควร สัมผัสโอโซนเป็นอย่างยิ่ง

2. รังสีUV จากหลอดไฟฟ้าพลังงานสูง ในห้องถ่ายเอกสารจะทำให้มีอาการปวดศีรษะ แสบตา กระจกตาอักเสบ เกิดผื่นคันตามผิวหนัง เนื่องจากแสงรังสี UV จากหลอดไฟฟ้าในเครื่องถ่ายเอกสาร นั่นเอง

3. ผงหมึกในเครื่องถ่ายเอกสารระบบแห้งและระบบเปียก ถือเป็นสารเคมีที่อันตราย หากสูดดมผงหมึกเข้าไป ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ มีอาการไอ จาม ไว้ที่ลูกกลิ้งในเครื่องถ่ายเอกสาร ซึ่งเป็นแหล่งเกิดเชื้อโรค ที่สามารถระเหยออกมาได้

4. สารเคมีอื่นๆ เช่น  ซีลีเนียม  แคดเมียมซัลไฟด์ ซิงค์ออกไซด์ และโพลิเมอร์บางตัวซึ่งเคลือบในระหว่างถ่ายเอกสาร  หากสูดดมสารซีลีเนียมเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินหายใจ  เยื่อเมือกกระเพาะอาหาร  แต่ถ้าได้รับมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการลิ้นเฝื่อน  มีอาการล้า อาหารไม่ย่อย  วิงเวียนศีรษะ  และเมื่อได้รับในระดับความเข้มข้นสูง จะเป็นอันตรายต่อตับและไต ส่วนแคดเมียมเป็นสารก่อมะเร็ง จะถูกปล่อยออกจากเครื่องถ่ายเอกสารน้อยกว่าซีลีเนียม

ดังนั้น ในการถ่ายเอกสารจึงควรปิดฝาครอบให้สนิท ติดตั้งพัดลมดูดอากาศเฉพาะที่

และสำหรับผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายเอกสาร ควรได้รับการแนะนำอบรมวิธีการใช้และการเปลี่ยนผงหมึก ตลอดจนผู้ซ่อมบำรุงเครื่องถ่ายเอกสารอย่างถูกต้อง และควรสวมถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง หลีกเลี่ยงการสัมผัสโดยตรงกับลูกกลิ้ง และใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน

 

ที่มาและภาพ : เว็บไซต์ AnamaiMedia