เผยแพร่ |
---|
ในห้วงเวลาที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้ถูกพัฒนาขึ้นให้มีความสามารถอย่างก้าวกระโดด ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากมายมหาศาล ทั้งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน เสริมศักยภาพธุรกิจระดับมหภาคให้เติบโต แต่ทว่าปลายทางของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้หากไม่ได้รับการซ่อมบำรุงและแก้ไขที่ดี ย่อมจบลงที่ถังขยะ ซึ่งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste (Electronics–Waste) จัดเป็นขยะที่อันตราย สามารถส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม สังคม และส่งผลเสียในระยะยาวต่อระบบนิเวศและสุขภาพของมนุษย์ จึงเป็นสิ่งที่ทั่วโลกกำลังตระหนักถึงและร่วมมือกันหาทางแก้ไข
จากรายงานเฝ้าระวังขยะอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก พบว่าในปี 2560 ประเทศไทยมีปริมาณขยะอันตรายจากซากเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิกส์มากกว่า 400,000 ตัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ หากไม่ได้รับการจัดการอย่างถูกวิธี ภายใน 5-10 ปี ประเทศของเราจะเข้าสู่ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างวิกฤต
เอไอเอส จึงได้จัดตั้งโครงการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้ให้เห็นถึงผลกระทบจากการทิ้งขยะประเภทดังกล่าวไม่ถูกวิธี และรับอาสาเป็นช่องทางในการรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste อาทิ มือถือ แบตเตอรี่มือถือ หูฟัง สายชาร์จ พาวเวอร์แบงก์
เพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี โดยตั้งจุดรับทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ E–Waste ที่เอไอเอสช็อป ทั่วประเทศ และศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัล ด้วยกระบวนการ Zero Landfill ตามมาตรฐานสากล ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ
และในอนาคตมีแผนจะขยายจุดรับทิ้งขยะไปยังภาคส่วนต่างๆ อาทิ มหาวิทยาลัย
และสถานีให้บริการน้ำมัน เพื่อให้ประชาชนสามารถนำขยะมาทิ้งได้ง่ายมากขึ้น โดยสามารถดูจุดรับทิ้งขยะและติดตามข้อมูลของโครงการได้ทางเว็บไซต์ https://ewastethailand.com
#ทิ้งEWasteกับAIS