จากเรือบินสู่โต๊ะเหล็ก เยอรมันผุดไอเดีย รีไซเคิลเครื่องบินแอร์บัสเป็นโต๊ะกาแฟ

จากเรือบินสู่โต๊ะเหล็ก เยอรมันผุดไอเดีย รีไซเคิลเครื่องบินแอร์บัสเป็นโต๊ะกาแฟ

รีไซเคิลเครื่องบินแอร์บัส – ซีเอ็นเอ็น รายงานผลงานสร้างสรรค์ รีไซเคิลส่วนประกอบของเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว ของสายการบินลุฟต์ฮันซา เยอรมนี ชุบชีวิตเครื่องบินแอร์บัส รุ่น เอ 340-600 ที่ไม่ใช้การแล้ว โดยขึ้นทะเบียนรหัส D-AIHO ให้เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

Courtesy Lufthansa

การสร้างสรรค์นี้เป็นผลงานความร่วมมือจากสายการบินลุฟต์ฮันซา บริษัทไมลส์ แอนด์ มอร์ จีเอ็มบีเอช และลุฟต์ฮันซา เทคนิค เรียกผลิตภัณฑ์ว่า อัพไซคลิง คอลเล็กชั่น สร้างสรรค์จากชิ้นส่วนเครื่องบินที่ปลดระวางแล้ว หลังจากใช้งานมา 10 ปี

เช่น โต๊ะกาแฟทำจากส่วนหน้าของปีกเครื่องบิน ส่วนโต๊ะอื่นๆ ทำจากหน้าต่างและกระจกนิรภัย ขณะที่หน้าต่าง 4 บานดัดแปลงเป็นบาร์แขวนผนังดูเก๋ไก๋ ส่วนหน้าต่างอีก 20 บานออกแบบให้เป็นนาฬิกาแขวนผนัง

รีไซเคิลเครื่องบินแอร์บัส
Courtesy Lufthansa

สนนราคาโต๊ะมีตั้งแต่ 1,550-3,300 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 46,500-99,000 บาท ส่วนบาร์ติดผนัง ราคาระหว่าง 1,327-1,660 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 39,800-49,800 บาท

ถ้าเป็นพวงกุญแจที่ทำจากอะลูมิเนียมหุ้มเครื่องบิน ราคาเพียง 27 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 810 บาท

Courtesy Lufthansa

 เซบาสเตียน รีดเดิล โฆษกและผอ.ฝ่ายการจัดการ ไมลส์ แอนด์ มอร์ จีเอ็มบีเอช บอกว่า ชิ้นส่วนเครื่องบินหลายชิ้นถูกทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ จึึงนำมาชุบชีวิตขึ้นใหม่

เครื่องบินแอร์บัส  4 เครื่องยนต์ รุ่น เอ 340-600 เป็นเครื่องโดยสารที่มีความยาวเป็นอันดับ 2 ของโลกซึ่งเปิดตัวเมื่อ 20 ปีก่อน แต่ต่อมาการผลิตแอร์บัสซีรีส์ เอ 340 ยุติลงเมื่อปี 2554 เพื่อผลิตรุ่น เอ 350 ที่ประหยัดน้ำมันกว่าขึ้นแทน และสายการบินลุฟต์ฮันซาเป็นสายการบินที่มีเครื่องบินรุ่น เอ 340 มากที่สุด

Courtesy Lufthansa

ทีมดีไซเนอร์ของลุฟต์ฮันซาจึงปิ๊งไอเดียนำชิ้นส่วนภายนอกเครื่องบินมาผลิตเป็นกระเป๋าเอกสารและเป็นผ้าห่มสำหรับผู้โดยสารชั้นธุรกิจ และผ้าหุ้มหมอนรองศีรษะ

แม้แต่แผ่นกระดาษแสดงข้อมูลความปลอดภัยบนเครื่องบินก็นำมารีไซเคิลและนำมาแปลงโฉมเป็นกระเป๋าสำหรับจัดเก็บอุปกรณ์ในห้องน้ำและอุปกรณ์ทำความสะอาดต่างๆ

ระยะเวลาการแยกย่อยชิ้นส่วนเครื่องบินความยาว 75 . อาจกินเวลาเกือบ 10 สัปดาห์ จนชำแหละเป็นชิ้นส่วนขนาดเล็กพอที่จะนำมาประดิษฐ์เป็นผลิตภัณฑ์ของลุฟต์ฮันซา อัพไซคลิง คอลเล็กชั่น

Courtesy Lufthansa

สินค้าต่างๆ ทำจากชิ้นส่วนเครื่องบินร้อยละ 92 ซึ่งกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของสายการบินต่างๆ ที่ปรับปรุงให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเช่นกัน

บริษััทแอร์บัสเองก็มีสินค้าที่ผลิตจากชิ้นส่วนเครื่องบินมาทำเป็นเฟอร์นิเจอร์หรือของตกแต่งบ้านซึ่งขายออนไลน์ทั้งร้าน อะพีซออฟสกาย (A Piece of Sky) เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

Courtesy Lufthansa

นอกจากนี้ เมื่อปีที่ผ่านมา บริษัทนาฬิกาเบรมองต์ ซึ่งผลิตนาฬิกาสำหรับนักบิน ฉลองครบรอบ 50 ปีเครื่องบินคองคอร์ด ด้วยการผลิตนาฬิการุ่นลิมิเต็ดออกมา ชื่อว่า รุุ่น เบรมองต์ ซุปเปอร์โซนิก ที่ทำจากชิ้นส่วนของเครื่องบินที่ปลดระวางแล้วเช่นกัน