กยศ.เล็งปรับเงื่อนไขปล่อยกู้หนุนเด็กอัจฉริยะ ปีนี้เปิดให้นร.-นศ.ทั่วไปกู้แบบไม่จำกัดโควต้า

กยศ.เล็งปรับเงื่อนไขปล่อยกู้หนุนเด็กอัจฉริยะ ปีนี้เปิดให้นร.-นศ.ทั่วไปกู้แบบไม่จำกัดโควต้า

นายชัยณรงค์ กัจฉปานันท์ ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่าในปีการศึกษา 2562 เป็นต้นไป กยศจะสามารถปล่อยกู้ให้นักเรียนนักศึกษาได้ตามความต้องการแบบไม่กำหนดโควต้า เนื่องจาก กยศสามารถติดตามทวงหนี้ได้มากขึ้น คาดว่าในปี 2562 นี้จะมีเงินรับชำระหนี้สูงถึง หมื่นล้านบาท สูงที่สุดเท่าที่เคยเก็บหนี้ เมื่อ10 ปีก่อนเงินชำระหนี้อยู่ที่ พันล้านบาท ในปี 2561 ที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านบาท การเก็บหนี้มากขึ้นทำให้รัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณมาให้ กยศเพื่อนำมาปล่อยกู้ช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

ผลจากการตื่นตัวชำระหนี้ ประกอบกับการหักชำระหนี้ผ่านเงินเดือน ส่งผลให้การชำระหนี้สูงขึ้น คาดว่าปีนี้จะสามารถปล่อยกู้ถึง แสนคน จากปีที่ผ่านมาปล่อยกู้ แสนคน เป็นลูกหนี้รายใหม่ประมาณ แสนคน รายเก่าประมาณ แสนคน” นายชัยณรงค์ กล่าวและว่า สำหรับการหักเงินเดือนชำระหนี้ล่าสุดหักเงินเดือนไปแล้ว แสนคน ปีหน้าหักเพิ่มเป็น แสนคน คาดว่าในปี 2564 หักเงินเดือนครบ 1.2 ล้านคน ทำให้เงินชำระหนี้จากการหักเงินเดือนอยู่ที่ พันล้านบาท หรือปีละ 1.2 หมื่นล้านบาท

นายชัยณรงค์ กล่าวต่อว่า กยศเตรียมวางหลักเกณฑ์การปล่อยกู้เด็กที่เก่งอัจฉริยะประเภท Born to be หรือ Gifted ซึ่งเชื่อว่ามีอยู่เป็นจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วประเทศ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านั้นสามารถใช้ความเป็นเลิศของตนเองให้ได้อย่างเต็มที่ ซึ่งในอนาคตคนเหล่านี้อาจเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่เก่งของประเทศและมีส่วนในการช่วยประเทศให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นได้

ทั้งนี้ ในปัจจุบันหลักเกณฑ์การให้กู้เพื่อการศึกษากำหนดว่า ต้องเป็นเด็กที่ขาดแคลนคือมีรายได้ไม่เกิน แสนบาท/ปี/ครอบครัว ส่วนกรณีที่กู้เพื่อไปศึกษาในสาขาวิชาที่ประเทศต้องการ เช่น วิศวะ หมอ จะไม่จำกัดในเรื่องรายได้ของครอบครัวเนื่องจากเป็นสาขาที่ประเทศต้องการ นอกจากนี้ กยศจะขยายสาขาวิชาที่สามารถกู้ได้โดยไม่มีเงื่อนไขในเรื่องของรายได้ของครอบครัว คือสาขาวิชาที่เป็นอัตลักษณ์ของชาติ เช่น สาขาดนตรีไทย นาฏศิลป์ วรรณคดี และสาขาวิชาประวัติศาสตร์ เป็นต้น

นายชัยณรงค์ กล่าวต่อว่า จนถึงวันที่ 30 มิถุนายน กยศปล่อยกู้ยืมเพื่อการศึกษาไปแล้ว 5.6 ล้านราย ในจำนวนนี้อยู่ในระหว่างการชำระหนี้ 3.51 ล้านราย คิดเป็น 63% ของการปล่อยกู้ไปทั้งหมดชำระหนี้เสร็จสิ้นแล้ว 1.05 ล้านราย คิดเป็น 19%, อยู่ในระหว่างการปลอดหนี้ (ยังศึกษาไม่จบ) 9.76 แสนราย คิดเป็น 17% และเสียชีวิต ทุพพลภาพ 5.67 หมื่นราย หรือคิดเป็น 1% ในจำนวนลูกหนี้กู้ยืมเพื่อการศึกษาที่อยู่ในระหว่างการชำระหนี้ทั้ง 3.51 ล้านรายนั้น เป็นลูกหนี้ผิดนัด 58% และลูกหนี้ที่ชำระหนี้ปกติ 42% ปัจจุบัน กยศได้ฟ้องดำเนินคดีผู้กู้ไปแล้ว 1.7 ล้านคดี เฉพาะปีนี้ฟ้องไปแล้วราว แสนราย

นายชัยณรงค์ กล่าวต่อว่า จากสถานการณ์น้ำท่วมในหลายจังหวัดในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนและทรัพย์สินได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก กองทุนออกประกาศหลักเกณฑ์พิจารณาความเสียหายของทรัพย์สินอย่างรุนแรงกรณีเป็นผู้ประสบภัยพิบัติ หรือการเป็นผู้มีรายได้ถดถอย หรือมีความจำเป็นต้องดูแลบุคคลในครอบครัวซึ่งชราภาพ ป่วย หรือพิการ เพื่อขอผ่อนผันการชำระเงินคืนกองทุน สำหรับผู้กู้ยืมที่ครบกำหนดชำระหนี้สามารถผ่อนผันชำระหนี้ได้ไม่เกิน คราว คราวละไม่เกิน ปี รวมแล้วไม่เกิน ปี