ท่านผู้หญิงสิริกิติยา สืบสานพระราชปณิธาน “พระพันปีหลวง”

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา สืบสานพระราชปณิธาน “พระพันปีหลวง”

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสืบสาน – ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์กามหาชนหรือ SACICT จัดนิทรรศการ “หัตถกรรมแห่งบรรพชนไทย ใต้ร่มพระบารมี” แสดงผลงานหัตถศิลป์ชั้นสูงหลากหลายแขนง นับตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยามาถึงกรุงรัตนโกสินทร์ กว่า 500 ชิ้น  หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชิงสะพานผ่านฟ้าฯ โดยมีท่านผู้หญิงสิริกิติยา เจนเซน ร่วมเปิดงาน

ท่านผู้หญิงสิริกิติยา สง่างามในชุดผ้าไหมมัดหมี่สีฟ้าของมูลนิธิ ส่งเสริมศิลปาชีพฯ และส่งยิ้มให้ผู้ร่วมงานอย่างเป็นกันเอง โดยสนใจงานหัตถศิลป์ล้ำค่าหายาก ผลงานเชิงช่างชั้นสูงในหลายยุคสมัยของไทย มีทั้งประเภทงานที่สูญหายไปแล้วหรือใกล้สูญหาย พร้อมซักถามอย่างลึกซึ้ง อีกทั้งได้พบปะกับครู และทายาทผู้ทำงานศิลปหัตถกรรม โดยให้กำลังใจที่จะร่วมกันอนุรักษ์ สืบสาน และต่อยอดพระราชปณิธานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในงานด้านศิลปาชีพ

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสืบสาน

นางอัมพวัน พิชาลัย ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ กล่าวว่า ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (SACICT) จัดกิจกรรมเพื่อเทิดพระเกียรติ เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว วันที่ 28 กรกฎาคม และวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้

เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวการทรงงานในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่แสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยที่ทรงมุ่งมั่นบำเพ็ญพระราชกรณียกิจ สร้างงาน สร้างอาชีพ สร้างชีวิตใหม่ให้อาณาประชาราษฎร มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ ด้วยงานศิลปหัตถกรรมพื้นถิ่น มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เพื่อให้เป็นที่รับรู้โดยประจักษ์แก่ประชาชนไทย

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสืบสาน

การจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีการจัดแสดงผลงานศิลปหัตถกรรมแขนงต่างๆ ที่เป็นผลงานชั้นสูงล้ำค่าจากหลายยุคหลายสมัย นับตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยามาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ ในชื่อ “หัตถกรรมแห่งบรรพชนไทย ใต้ร่มพระบารมี” เพื่อเผยแพร่ถ่ายทอดคุณค่าที่สะท้อนถึงศาสตร์และศิลป์เชิงช่างชั้นสูงให้เป็นที่รับรู้และเป็นประโยชน์แก่ผู้อยู่ในวงการช่างศิลปหัตถกรรม นำไปสู่การรักษา สืบสานและพัฒนาต่อยอดขยายผลต่อไป

นางอัมพวันกล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดกิจกรรมในครั้งนี้รวบรวมผลงานชิ้นเอกของนักสะสมชั้นนำหลากหลายวงการอาชีพ ของรักของสะสมอันเป็นทรัพย์สมบัติในครอบครองที่ล้ำค่าและไม่เคยปรากฏสู่สายตาสาธารณชนที่ใดมาก่อน มาจัดแสดงมากที่สุดกว่า 500 ชิ้น

ผลงานบางชิ้นมีอายุเกินกว่า 200 ปีและสูญหายไปแล้ว ผลงานบางชิ้นเป็นของประจำตระกูลที่ได้รับพระราชทานเป็นมรดกตกทอดจากบรรพบุรุษจากรุ่นสู่รุ่น ผลงานบางชิ้นมีคุณค่าทางจิตใจและเป็นความผูกพันของผู้สะสม ไปจนถึงรายการของสะสมที่เป็นทรัพย์สมบัติล้ำค่าที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้

ท่านผู้หญิงสิริกิติยาสืบสาน

เช่น เครื่องถมปัด เครื่องบริขารที่พระมหากษัตริย์ถวายเป็นเครื่องประกอบสมณศักดิ์พระภิกษุสงฆ์ งานศาสตราวุธ – ภาคใต้ และล้านนาไทย (กริชมลายูทุกชนิด รวมจนถึงมีดหมอ มีดดาบ มีดอาคมแกะสลักลวดลายวิจิตรอลังการ ชุดเชี่ยนหมากที่ทำด้วยหลากหลายวัสดุมีค่า ทั้งทองคำ เงิน นาก งาช้าง กระดองเต่ากระ เครื่องกระเบื้องลายกุหลาบน้ำทองราชวงศ์ชิง (สมัยรัชกาลที่ 2) เครื่องกระเบื้องมลายูที่พบในวังสุลต่านในพื้นที่แถบคาบมลายู ชุดเครื่องกระเบื้องโบราณ (เครื่องใช้บนโต๊ะอาหารของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ – ช่วง บุนนาค ในสมัยรัชกาลที่ 5)

ประเภทงานผ้า เช่น ผ้าลายอย่างโบราณ (อายุกว่า 250 ปีผ้าปักโลหะเงิน – ทอง (ฉลองพระองค์ครุยผ้าจวนตานีโบราณ ผ้าปักเส้นเงิน – เส้นทองของชนชั้นเจ้านายชั้นสูงในสมัยราชสำนักสยาม ชุดชนเผ่าหลากหลายทวีปในโลก และเครื่องดนตรีโบราณ เครื่องใช้ของเจ้านายชั้นสูงในรัชสมัยต่างๆ อายุกว่า 200 ปี เช่น ตะโพน ขิม

ภายในงานยังมีกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การจำหน่ายผลงานศิลปหัตถกรรมประเภทต่างๆ ฝีมือครูศิลป์ของแผ่นดิน ครูช่างศิลปหัตถกรรม และทายาทช่างศิลปหัตถกรรม กิจกรรมการแสดงและการสาธิต เช่นงานคร่ำ การสลักดุน การเขียนหน้าโขน การตอกหนังตะลุง ส่วนกิจกรรมการแสดง

เช่น การเชิดหุ่นกระบอก การแสดงโนราห์ – หน้าพราน การแสดงหุ่นไม้ – วิถีชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง และนิทรรศการความผูกพันที่น่ารักและน่าประทับใจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในฐานะ “สมเด็จแม่” ที่มีต่อพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในฐานะ “พระราชโอรส

จัดแสดงอย่างยิ่งใหญ่ตั้งแต่ชั้นที่ 1 ถึงชั้นที่ 4 หอศิลป์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถวันนี้ – 30 .. 2562 เวลา 10.00 – 19.00 . (หยุดทุกวันพุธไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ

 

ที่มา ข่าวสดออนไลน์