อ่านประวัติ “เพลงสรรเสริญพระบารมี”

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 22 ตุลาคม ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง หลังจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชานุญาต ให้หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล จัดทำภาพยนตร์เพลงสรรเสริญพระบารมี เพื่อแสดงความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร โดยจะมีพสกนิกรและคณะศิลปินร่วมกิจกรรม มีวงดุริยางค์สยามฟิลฮาโมนิคออเคสตร้าบรรเลงอย่างสมพระเกียรติ พร้อมคอรัส 100 คน มีอาจารย์ สมเถา สุจริตกุล เป็นวาทยกร

ที่น่าสนใจคือ การถ่ายทำภาพยนตร์เพลงสรรเสริญพระบารมีครั้งนี้ เป็นการบันทึกเสียงเพลงที่ประชาชนขับร้องสด โดยใช้อุปกรณ์ถ่ายทำประกอบด้วย กล้อง 25 ตัว เครน 3 ตัว พร้อมโดรนถ่ายมุมสูงอีก 2 ตัว และทีมงาน หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล เป็นผู้รับผิดชอบถ่ายทำภาพยนตร์

เนื้อร้องนั้นพระราชนิพนธ์โดย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 และ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

%e0%b9%90%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%94%e0%b9%87%e0%b8%88%e0%b9%80%e0%b8%88%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%9f%e0%b9%89%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a2%e0%b8%b2_o
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

ส่วนทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมี อติภพ ภัทรเดชไพศาล นักประพันธ์และนักวิเคราะห์ดนตรี เคยเขียนไว้ว่า ร่องรอยแรกของเพลงสรรเสริญพระบารมีนั้นปรากฏในข้อเขียนของพระยาอนุมานราชธน ซึ่งอ้างจากหนังสือคราวพระบาทสมเด็จฯ พระจุลจอมเกล้าฯ เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเมืองปัตตาเวียเมื่อปี พ.ศ. 2413 ความว่า

“ความแห่งหนึ่งตอนเสด็จฯ ถึงเมืองปัตตาเวียว่า สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยามจะเสด็จลงจากรถที่โฮเต็ลเมื่อไร จะยิงปืนใหญ่ที่ป้อมชื่อปรินซ์ฟเรศริก สลุตคำนับ 21 นัด ยิงปืนสลุตแล้ว พวกทหารแตร กลอง เป่าแตร ตีกลอง เป็นเพลงฮอลันดาและเพลงสยาม ทำถวายเป็นคำนับสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินสยาม”

จาก ‘God save the Queen’ ถึงเพลงคำนับประจำชาติไทย

ขณะที่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ เขียนบันทึกเกี่ยวกับข้อสงสัยของเจ้าพระยาอนุมานราชธน โดยทรงมีความเห็นว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีอาจมีขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อราว พ.ศ. 2414 เนื่องจากพระองค์ ไม่ทรงต้องการใช้ ‘God save the Queen’ ซึ่งเป็นเพลงสรรเสริญพระบารมีของราชวงศ์อังกฤษ ข้อความในบันทึกมีดังนี้

“เมื่อ พ.ศ. 2414 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์และเมืองชวา ทางเมืองชวาเขาต้องการเพลงคำนับของเรา ไม่ต้องการเพลงสรรเสริญอังกฤษ (หมายถึงเพลง God Save the Queen – ผู้เขียน) นั่นแหละ เป็นเหตุให้เรากระตือรือร้นหาเพลงคำนับประจำชาติไทยขึ้น”

แต่งโดยครูดนตรีไทย แล้วให้ฝรั่งเรียบเรียง ?

บันทึกนั้นยังบอกอีกว่า ทำนองเพลงสรรเสริญพระบารมีนี้ กรมหลวงชุมพรบอกว่า เราซื้อมาจากเมืองยะโฮร์ ปรากฏหลักฐานการถูกตีพิมพ์ครั้งแรกใน ‘รวมเพลงชาติต่างๆ ของโลก’ ซึ่งเป็นหนังสือรวมเพลงชาติต่างๆ 80 ชาติ ของโปยตร์ ชูรอฟสกีตั้งแต่ ค.ศ. 1890 (พ.ศ. 2433)

อย่างไรก็ตาม มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า ผู้แต่งเพลงสรรเสริญพระบารมี ไม่น่าจะเป็นชาวต่างชาติตามที่กรมหลวงชุมพรฯ บันทึกไว้ เนื่องจากมีความ ‘เป็นไทย’ อยู่มาก

ประเด็นนี้ อติภพ บอกว่า ในเว็บบอร์ดสนทนาของกลุ่มผู้สนใจศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรีของรัสเซียก็มีการถกเถียงเกี่ยวกับเรื่องนี้เช่นกัน และมีหลายความเห็นที่บอกว่า นายโปยตร์ ชูรอฟสกี (Pyotr Schurovsky ค.ศ. 1850-1908) นักแต่งเพลงชาวรัสเซีย ไม่น่าจะเป็น ‘ผู้แต่ง’ แต่เป็นเพียง ‘ผู้เรียบเรียง’ และ ‘ผู้รวบรวม’ เท่านั้น

%e0%b8%9e%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%b8%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b2%e0%b8%8a%e0%b8%98%e0%b8%990002
พระยาอนุมานราชธน (ยง เสฐียรโกเศศ)

ใน สาส์นสมเด็จ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ยังทรงบันทึกไว้ว่า

“โปรดให้เรียกผู้ชำนาญเพลงดนตรีไทยมาปรึกษาหาเพลงไทยที่ควรเอามาใช้เป็นเพลงคำนับเหมือนอย่างเพลงก็อดเสฟธีควีนของอังกฤษ

พวกครูดนตรีที่ปรึกษาครั้งนั้นจะเป็นใครบ้างไม่ทราบ แต่นึกว่าคนสำคัญ 3 คนนี้ คงอยู่ในนั้นด้วย คือ คุณมรกต ครูมโหรีหลวงคน 1 พระประดิษฐไพเราะ (มีแขก) คน 1 กับพระเสนาะดุริยางค์ (ขุนเณร) คน 1 เวลานั้นยังมีชีวิตอยู่ทั้ง 3 คน พวกครูดนตรีทูลเสนอเพลงสรรเสริญพระบารมี

จึงโปรดให้มิสเตอร์เฮวุดเซน (เรียกกันว่าครูยู่เซน) ซึ่งเป็นครูแตรทหารมหาดเล็กอยู่ในเวลานั้น เอาเพลงสรรเสริญพระบารมีไปแต่งแปลงกระบวนสำหรับใช้แตรวงเป่าเป็นเพลงคำนับ เป่าแต่ท่อนเดียวเช่นรับเสด็จกรมพระราชวังบวรฯ ก็ได้ หรือเป่าตลอดทั้ง 2 ท่อนเช่นรับเสด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ได้ เอาอย่างมาแต่เพลงก็อดเสฟธีควีน”

“มีเค้าเงื่อนว่าเป็นเพลงมีมาแต่โบราณ กรมหมื่นทิวากรฯ ตรัสบอกหม่อมฉันว่าแตรฝรั่งที่ไทยเป่าเข้ากับกลองชนะ ก็เป่าเพลงสรรเสริญพระบารมี แต่เป็นอย่างชั้นเดียว ท่านทรงส่งเสียงอย่างแตรฝรั่งเทียบกับที่แตรวงเป่าเพลงสรรเสริญพระบารมีให้หม่อมฉันฟัง ก็ออกจะเห็นชอบด้วย”

หมายเหตุ : เพลงสรรเสริญพระบารมีที่กล่าวถึงในที่นี้คือเพลงมโหรีเก่า เป็นเพลงตับ ประกอบด้วยเพลง สรรเสริญพระบารมี กินนรีฟ้อน ศศิธรทรงกลด สามเพลง

org_1633ea515464a9f2b4891d858e9ac083-22-3
พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางค์กูร) หรือ ครูมีแขก

royal_anthem_of_siam_in_postcard_early_20th_century-2
โปสการ์ดโน้ตเพลงสรรเสริญพระบารมี สมัยรัชกาลที่ 5

93993

20160226_144822