หลักวิเคราะห์ความเสี่ยง กลยุทธ์รับมือธุรกิจ จากปัจจัยที่ไม่แน่นอน

เปิด หลักวิเคราะห์ความเสี่ยง กลยุทธ์ SMEs รับมือธุรกิจ จากปัจจัยที่ไม่แน่นอน

ในสถานการณ์ที่เอาแน่เอานอนทางเศรษฐกิจไม่ได้แบบนี้ การวิเคราะห์สถานการณ์ให้ขาด ว่า สถานการณ์ภายในองค์กรเป็นอย่างไร เจ้าของธุรกิจมีกลยุทธ์ในการรับมือแบบไหน ถือเป็นหลักการเบื้องต้น ในการเอาตัวรอดของทุกธุรกิจ

เว็บไซต์ ธนาคารกรุงเทพ ได้แชร์ หลัก 5 ข้อ ในการวิเคราะห์ความเสี่ยง SMEs จากปัจจัยที่ไม่แน่นอน โดยมีขั้นตอนและวิธีดังนี้

  1. วิเคราะห์จากภายในองค์กร (Internal Environment) : เป็นการวิเคราะห์ว่า ฐานะปัจจุบันของธุรกิจเป็นอย่างไร สภาพคล่องไปได้อีกนานเท่าใด รวมถึงการจัดการความเสี่ยงในด้านการบริการบุคลากรและกระบวนการทำงาน การมองจากภายในตรงนี้ คุณจะเห็นปัญหาที่เกิดขึ้นชัด ดังนั้น ก่อนที่จะไปแก้อย่างอื่น จึงต้องวิเคราะห์ตัวเองเป็นอันดับแรก
  2. กำหนดเป้าหมาย (Objective Setting) : การทำธุรกิจ ต้องมีการกำหนด เป้าหมายให้ชัดเจน ไม่ว่าสถานการณ์นั้นจะดีหรือร้าย โดยการจัดการความเสี่ยงให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ และความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และองค์กรยอมรับได้ระดับหนึ่ง
  3. ระบุเหตุการณ์ (Event Identification) : เพราะอนาคต ไม่มีความแน่นอน ผู้ประกอบการไม่มีทางรู้ว่า ภายภาคหน้าจะมีอะไรที่ดีหรือไม่ดีเกิดขึ้น จึงจำเป็นจะต้องมีการระบุเหตุการณ์ และพิจารณาถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้น โดยสามารถวิเคราะห์ได้จาก ข้อมูล รายงาน และจากการวิเคราะห์ด้วยประสบการณ์ จนนำไปสู่ความเสี่ยงด้านกลยุทธ์รับมือความเสี่ยง
  4. ประเมินความเสี่ยง (Risk Assessment) : ผู้ประกอบการควรประเมินระดับความเสี่ยงของธุรกิจในปัจจุบันอยู่ในระดับใด เช่น เสี่ยงน้อย เสี่ยงปานกลาง เสี่ยงสูง และหลังจากการประเมินความเสี่ยง ในการอ้างอิงโดยการระบุเหตุการณ์ในปัจจุบันเข้าไปแล้ว เช่น การระบาดของโควิด-19 นำมาเป็นข้อมูลข่าวสารวิเคราะห์แยกแยะ เพื่อหาแนวทางในการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งเรียกว่า หลักการจัดการความเสี่ยง (Inherent Risk) ที่ผู้ประกอบการสามารถนำไปปรับใช้ได้ แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เพราะการประเมินความเสี่ยง ไม่ใช่การคิดเอง เออเอง แต่ต้องประกอบด้วยข้อมูลที่เพียงพอ และมุมมองที่กว้างไกลด้วย
  5. ตอบสนองความเสี่ยง (Risk Response) : เป็นวิธีการดำเนินการภาคปฏิบัติ เพื่อรับมือหรือตอบสนองความเสี่ยง ซึ่งผู้บริหารเองอาจจะต้องพิจารณาถึง ความเสี่ยงที่ธุรกิจรับได้ ซึ่งมีหลักปฏิบัติอยู่ 4 แบบ คือ

หลีกเลี่ยง (Avoid) เพื่อลดผลกระทบให้มากที่สุด

แบ่งความรับผิดชอบ (Share) การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในการรับมือความเสี่ยงให้กับทีม

ลด (Reduce) การไม่กระทำ หรือกระทำน้อยลงในกิจกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามความเหมาะสม

ยอมรับ (Accept) เมื่อพยายามมาอย่างสุดความสามารถแล้ว ก็ถึงจุดที่ยอมรับความเสี่ยง หรือสิ่งที่เกิดขึ้นให้ได้ นั่นหมายถึงการประสบความสำเร็จ ในการจัดการความเสี่ยงได้ในระดับหนึ่งแล้ว