ไหว้เจ้าตรุษจีน เรื่องไหนทำแล้วเฮง เรื่องไหน ห้ามเด็ดขาด

ไหว้เจ้าตรุษจีน เรื่องไหนทำแล้วปัง เรื่องไหน ห้ามเด็ดขาด
ไหว้เจ้าตรุษจีน เรื่องไหนทำแล้วปัง เรื่องไหน ห้ามเด็ดขาด

ไหว้เจ้าตรุษจีน เรื่องไหนทำแล้วเฮง เรื่องไหน ห้ามเด็ดขาด

ในเทศกาลตรุษจีน มีความสำคัญต่อชาวจีนรวมถึงลูกหลานที่มีเชื้อสายจีน อาทิ ท่านที่อาจมีรุ่นปู่ ย่า ตา ยาย หรือก่อนหน้านั้นและหลังจากรุ่นนั้นมาก็ได้ ที่มีบรรพบุรุษสักรุ่นที่เป็นหนึ่งในคนจีน

ปัจจุบันแทบแยกกันไม่ออกสำหรับคนเชื้อสายจีนกับไทย เพราะเมื่อนับญาติไปมามาไปของรุ่น ของคนในครอบครัวก็อาจพบว่ามีสักหนึ่งคนหรือมากกว่านั้นมีเชื้อจีนมาก่อน ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการจัดพิธีเล็กๆ ของการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ เพื่อระลึกถึงและเป็นการแสดงความกตัญญูเป็นนัยสำคัญ

 การไหว้โดยสากลนั้นมีหลักการคล้ายๆ กัน อาจแตกต่างตามฐานะและรายละเอียดของสิ่งของที่ไหว้อยู่บ้าง แต่ความสำคัญที่แท้จริงคือความตั้งใจในการไหว้ การจัดเตรียมสิ่งที่ดีเท่าที่จะทำได้ในการไหว้มากกว่า

การไหว้ในวันตรุษจีนมีอยู่สี่แห่ง คือหนึ่ง ไหว้ตี่จู้เอี๊ยะ สอง ไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ หรือ ไฉ่ซิงเอี้ย สาม ไหว้บรรพบุรุษ และ สี่ ไหว้วิญญาณเร่ร่อน

ไหว้เจ้าตรุษจีน
ไหว้เจ้าตรุษจีน

ซึ่งรายละเอียดของการไหว้ทั้ง 4 แบบมีดังนี้ครับ

1. การไหว้ ตี่จู้เอี๊ยะ กรณีบ้านที่มี ตี่จู้เอี๊ยะ

สิ่งที่ต้องเตรียม ในการไหว้ ตี่จู้เอี๊ยะ มีดังนี้

1. น้ำชา 5 ถ้วย

2. น้ำเปล่า 3 ถ้วย

3. ขนมกูไซ่ สีแดง

4. ส้ม 5 ลูก

5. โหง่วแซ ของไหว้ชุดใหญ่ เป็นของคาว 5 อย่าง ประกอบด้วย ไก่ ตับ ปลา กุ้ง และหมู

6. กระดาษไหว้ 1 ชุด (ปัจจุบันไปที่ร้านขายของไหว้ เขาจะแนะนำและจัดของมาให้ครบถ้วน) จากนั้น ให้จุดธูป 7 ดอก ไหว้เจ้าที่หรือตี่จู้เอี๊ยะในบ้าน

หลังจากไหว้อธิษฐานเสร็จ ให้ปักธูปที่กระถาง 5 ดอก ส่วนอีก 2 ดอกนำมาปักที่บริเวณประตูหน้าบ้านทั้งด้านซ้ายและขวา โดยปกติบ้านที่ไหว้จะมีตำแหน่งที่ปักธูปอยู่ตรงประตูทั้งสอง

จากนั้นรอสักระยะหนึ่ง จึงค่อยลาของไหว้และลากระดาษมาเผาหน้าบ้าน มีข้อแม้คือ ต้องห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ควรปล่อยให้มอดจนดับไปเอง

กระดาษเงิน กระดาษทอง
กระดาษเงิน กระดาษทอง
ขนมเข่ง
ขนมเข่ง

2. การจัดโต๊ะ ไหว้เทพเจ้าแห่งโชคลาภ ไฉ่ซิงเอี๊ย ปกติจะไหว้กันในเวลาเช้ามืดก่อนพระอาทิตย์ขึ้นเล็กน้อย

บนโต๊ะไหว้ควรมี

1. รูปภาพ หรือรูปเคารพองค์ไฉ่ซิงเอี๊ย

2. แจกันดอกไม้สด 1 คู่

3. น้ำชา 5 ถ้วย

4. ชุดซาแซ ประกอบด้วย ไก่ ปลา และหมู

5. ขนมเข่ง หรือขนมเทียน สาคูแดงต้มสุก ขนมถ้วยฟู

6. ส้ม กล้วยทั้งหวี เลือกหวีที่ยังสีเขียวๆ องุ่น แอปเปิ้ล ชมพู่ ลูกพลับ

7. กระถางธูป 1 ใบ

8. เทียนแดง 1 คู่

9. ชุดกระดาษเงิน กระดาษทอง

10. ธูป 3 ดอก

จากนั้น ให้จุดธูป 3 ดอก ไหว้เจ้าที่ภายในบ้านก่อน เมื่ออธิษฐานเสร็จให้ปักธูปที่กระถาง แล้วรอสักระยะเวลาหนึ่ง จึงไหว้และลากระดาษมาเผาหน้าบ้าน โดยห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ต้องปล่อยให้มอดดับไปเอง จึงลาของออกมา ของที่ลาสามารถแบ่งทานได้ เพราะถือว่าเป็นอาหารมงคล

3. ไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว ปกติจะไหว้ช่วงสายๆ แต่ไม่ควรไหว้เกินเที่ยง ประกอบด้วย

1. รูปเคารพ หรือ ภาพองค์ไฉ่ซิงเอี๊ย

2. แจกันดอกไม้สด 1 คู่

3. น้ำชา 5 ถ้วย

4. ชุดซาแซ ประกอบด้วย ปลา ไก่ หมู

5. ขนมถ้วยฟู ขนมเข่ง หรือ ขนมเทียน สาคูแดงต้มสุก เป็นหลัก

6. ผลไม้ ส้ม กล้วยทั้งหวีเลือกเขียวๆ องุ่น แอปเปิ้ล ชมพู่ ลูกพลับ

7. กระถางธูป 1 ใบ

8. เทียนแดง 1 คู่

9. ชุดกระดาษเงิน กระดาษทอง

10. ธูป 3 ดอก ต่อหนึ่งท่าน

11. ชุดกงเต๊ก ตามแบบที่ต้องการ

ขั้นต่อไปคือ ให้จุดธูป 1 ดอก ไหว้บรรพบุรุษ เมื่ออธิษฐานเสร็จให้ปักธูปที่กระถาง 1 ดอก เมื่อเสร็จแล้วรอสักระยะ จึงค่อยลาของไหว้และลากระดาษมาเผาหน้าบ้าน โดยถ้าใครมีชุดกงเต๊กก็เผาในเวลานี้ เช่นเคยคือโดยห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ต้องปล่อยให้มอดไปเอง

4. ไหว้วิญญาณเร่ร่อนหรือสัมภเวสี ไหว้หลังบ่าย ประกอบด้วย

1. ขนมเข่ง ขนมเทียน ขนมหวาน

2. กระดาษเงิน กระดาษทอง

การไหว้ดวงวิญญาณเร่ร่อน เมื่อเตรียมของครบหมดแล้ว ขั้นต่อไปคือ ให้จุดธูป 1 ดอก ไหว้วิญญาณเร่ร่อน เมื่ออธิษฐานเสร็จให้ปักธูปที่กระถาง 1 ดอก เมื่อเสร็จแล้วรอสักครู่ จึงค่อยลาของไหว้และลากระดาษมาเผาหน้าบ้าน โดยห้ามเขี่ยขี้เถ้าระหว่างเผา ต้องปล่อยให้มอดไปเอง

ต่อมาพร้อมคือการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพิ่มสิริมงคล

ท้ายที่สุด เมื่อถึงวันเที่ยว ก็ควรแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สวยงามโดยเฉพาะชุดสีแดงที่เป็นสีแห่งโชคลาภ ความสำเร็จ จากนั้นให้ไปไหว้ ขอพรญาติผู้ใหญ่หรือผู้ที่รักเคารพและศรัทธา นอกจากนี้โดยปกติวันนี้จะเป็นวันงดทำสิ่งไม่ดี รวมถึงงดกวาดทำความสะอาดบ้าน เพราะถือเป็นวันรับโชคลาภเข้าบ้าน จึงไม่ควรกวาดอะไรออกมา

: อาจารย์ณัฐ นรรัตน์

Youtube : VCOCONUT

Page : อาจารย์ณัฐ นรรัตน์

Facebook : ณัฐ นรรัตน์

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2564