10 สิ่งที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว เช็กลิสต์เลย

10 สิ่งที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว เช็กลิสต์เลย

การจ้างแรงงานต่างด้าวถือเป็นแนวทางที่หลายองค์กรนิยมทำเพื่อให้มีคนงานเข้ามาพัฒนาธุรกิจของตนเอง สร้างการเติบโต และยังถือเป็นกลุ่มคนสำคัญ เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาติด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนตัดสินใจจ้างพวกเขาเหล่านี้ก็มีเรื่องที่ต้องศึกษาด้วยเช่นกัน ป้องกันการทำผิดกฎหมาย และนี่คือ 10 สิ่งที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว

เช็กลิสต์ 10 สิ่งที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าว

  1. การจ้างแรงงานต่างด้าวต้องทำตาม MOU

ขั้นตอนเบื้องต้นในการทำตามระบบ MOU คือ นายจ้างต้องยื่น Demand Letter ซึ่งเป็นคำร้องขอนำเข้าแรงงานต่างด้าวไปยังตัวแทนของประเทศต้นทาง จากนั้นทางประเทศต้นทางจะคัดเลือกแรงงานที่เหมาะสมทำเป็นบัญชีรายชื่อ นายจ้างทำตามขั้นตอนอื่นๆ เช่น ยื่นแบบ ตท.2 เอกสารประกอบกับ สจจ./สจก. ชำระค่าใบอนุญาต นำหนังสือที่ได้จาก สจจ./สจก. ไปยื่นกรมแรงงาน ตรวจรับแรงงาน แจ้งที่พักอาศัย แจ้งการเข้าทำงาน ตรวจสุขภาพ รวมถึงเตรียมเอกสารทุกอย่างให้พร้อมไม่ว่าจะเป็น

นายจ้าง

  • หนังสือรับรองบริษัท (กรณีนิติบุคคล)
  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • แผนที่สถานที่ทำงาน
  • รูปถ่ายสถานที่ทำงานและที่พัก
  • กรณีกิจการก่อสร้างต้องมีสัญญาว่าจ้างก่อสร้าง
  • รายละเอียดสวัสดิการต่างๆ

สำหรับลูกจ้าง (กรณีคนเก่า)

  • บัตรประชาชน
  • ทะเบียนบ้าน
  • สูติบัตร
  • พาสปอร์ต, ใบอนุญาตทำงาน (ฉบับเก่า)
  1. บริษัทจัดหาแรงงานช่วยคุณได้

จริงแล้วขั้นตอนเหล่านี้นายจ้างอาจรู้สึกเป็นเรื่องยุ่งยาก ต้องมีการเตรียมเอกสาร ต้องทำตามลำดับขั้นตอน เสียเวลาบริหารกิจการของตนเอง ดังนั้น จึงอยากแนะนำให้นายจ้างเลือกใช้บริการผ่านบริษัทจัดหาแรงงาน อาจลองปรึกษาถึงประเภทแรงงานที่ตนเองต้องการ บอกวัตถุประสงค์ หากพึงพอใจก็ตกลงใช้บริการได้เลย จ่ายเงินแล้วทุกอย่างก็จบ รอแรงงานได้ทันที

  1. มีการอบรมแรงงานก่อนเริ่มทำงาน

แรงงานทุกคนที่จะเข้ามาทำงานในเมืองไทยต้องผ่านการอบรม ณ ศูนย์แรกรับเข้าทำงานและสิ้นสุดการจ้างงานของหน่วยงานรัฐ ในระหว่างนั้นจะมีการอบรมความรู้ ทักษะแบบรอบด้าน มีการตรวจสอบมาตรฐานเพื่อคัดกรองบุคคลที่เหมาะสมกับการเข้ามาทำงานในประเทศไทย แรงงานที่ผ่านการอบรมจะได้รับใบอนุญาตแรงงาน

  1. แรงงานต่างด้าวอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์

ข้อนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากเพราะตามกฎหมายแรงงานต่างด้าว ลูกจ้างต้องอายุไม่น้อยกว่า 18 ปีบริบูรณ์ หรือกรณีน้อยกว่า 18 ปี ต้องไม่น้อยกว่า 15 ปีบริบูรณ์ โดยกลุ่มแรงงานอายุน้อยจะทำได้เฉพาะงานไม่เสี่ยงอันตราย เช่น ไม่เกี่ยวข้องกับการสั่นสะเทือน ความร้อน ความเย็น แสง เสียง วัตถุอันตราย วัตถุมีพิษ ระเบิด วัตถุไวไฟต่างๆ ยกเว้นกรณีสถานีบริการเชื้อเพลิง หรือปั๊มน้ำมัน

  1. แรงงานต่างด้าวต้องจ่ายเงินด้วย

ใครว่าแรงงานต่างด้าวเข้ามาฟรีในเมืองไทย พวกเขาต้องจ่ายเงินค่าพาสปอร์ต ค่าตรวจสุขภาพ ค่าใบอนุญาตทำงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเพิ่มเติม เช่น ค่าประกันสุขภาพ ค่าประกันสังคม ฯลฯ

  1. แรงงานต่างด้าวต้องมีประกันสังคมหรือประกันสุขภาพทุกคน

ไม่ว่าเหตุผลใดก็ตามแรงงานต่างด้าวทุกคนต้องมีการทำประกันสังคม หรือการทำประกันสุขภาพตามเงื่อนไขของ MOU กรณีทำประกันสังคมครั้งแรกต้องซื้อประกันสุขภาพแบบ 3 เดือน เหตุเพราะเมื่อเป็นสมาชิกประกันสังคมแล้วต้องมีระยะเวลารอคอยอีก 90 วัน จึงจะสามารถใช้สิทธิ์ต่างๆ ได้ตามปกติ

  1. แรงงานต่างด้าวต้องตรวจสุขภาพภายใน 30 วัน

เป็นอีกหนึ่งเงื่อนไขหลังได้รับใบอนุญาตทำงานแล้ว แรงงานต่างด้าวทุกคนต้องมีการตรวจสุขภาพ 6 โรคเสี่ยงของตนเองทันทีภายใน 30 วัน ประกอบไปด้วย โรคเรื้อน วัณโรคระยะอันตราย พิษสุราเรื้อรัง โรคซิฟิลิสระยะที่ 3 การติดยาเสพติด และโรคเท้าช้าง ส่วนผู้หญิงต้องมีการตรวจครรภ์เพิ่มเติมด้วย

  1. แรงงานต้องแจ้งที่พักอาศัยของตนเอง

เมื่อได้ที่พักเรียบร้อยแรงงานต่างด้าวต้องแจกที่อยู่กับพนักงานตรวจคนเข้าเมือง โดยอาจแจ้งก่อนล่วงหน้า 15 วัน หรือแจ้งหลังจากวันครบกำหนดไม่เกิน 7 วัน กรณีแจ้งช้าเกินกว่าที่ระบุเอาไว้ต้องมีการเปรียบเทียบปรับอยู่ที่ 2,000 บาท เลยทีเดียว

  1. ค่าแรงของแรงงานต่างด้าว

ไม่ว่าแรงงานไทยหรือแรงงานต่างด้าวนายจ้างก็ต้องพร้อมที่จะจ่ายเงินแบบเท่าเทียมกันไม่น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งแต่ละพื้นที่อาจมีจำนวนเงินแตกต่างกันออกไป ซึ่งนายจ้างทุกคนเองน่าจะรู้ดีอยู่แล้วถึงเรื่องนี้

  1. จ้างแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายมีโทษอย่างไร

กรณีนายจ้าง จะถูกปรับ 10,000-100,000 บาท / แรงงาน 1 คน หากยังทำผิดซ้ำแบบเดิมก็อาจมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับเงิน 50,000-200,000 บาท / แรงงาน 1 คน หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังไม่สามารถนำเข้าแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานได้ถึง 3 ปี

กรณีลูกจ้าง จะถูกปรับ 5,000-50,000 บาท / คน ถูกส่งตัวออกนอกราชอาณาจักรไปยังประเทศต้นทาง และยังถูกห้ามไม่ให้เข้ามาทำงานในเมืองไทยเป็นเวลา 2 ปี ตั้งแต่วันที่รับโทษ

ทั้งหมดนี้ คือ 10 สิ่งที่นายจ้างควรรู้ ก่อนจ้างแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงาน เพื่อให้ทุกอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องกังวลใจเรื่องค่าปรับหรือการระวางโทษใดๆ ทั้งสิ้น ธุรกิจมีโอกาสเติบโตในระยะยาว รวมถึงแรงงานเหล่านี้ยังพร้อมทุ่มเทแรงกาย แรงใจของตนเองเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดี นายจ้างประทับใจ และอยากจ้างพวกเขาต่อไปเรื่อยๆ ลองศึกษาแล้วปรับใช้อย่างเหมาะสมได้เลยสำหรับนายจ้างทุกคน