มุมมอง คนสื่อ ที่มายืนในจุดบริหารการตลาด ยุค Digital Transformation

เปิดมุมมอง ภูวนาท เช้าวรรณโณ จากคนสื่อที่มายืนในจุดบริหารการตลาด ในยุค Digital Transformation

 

เมื่อคนสื่อมายืนในจุดของนักการตลาด แน่นอนว่าสองศาสตร์นี้ดูลงตัวอย่างบอกไม่ถูก เพราะคนสื่อถือว่าเป็นคนที่มีคอนเทนต์อยู่ในตัวเองอยู่แล้ว และเมื่อวันที่ต้องมาทำการตลาดเพียงแค่เติมกลยุทธ์และเครื่องมือลงไปน่าจะเป็นการผสมผสานได้อย่างลงตัว

คุณภูวนาท เช้าวรรณโณ Customer Relation Department Manager ต้นโผสำคัญด้านการสื่อสารของโรงพยาบาลเอสสไปน์แอนด์เนิร์ฟ คือคนสื่อคนหนึ่งที่ข้ามผ่านการทำสื่อมายืนในจุดนักการตลาดเต็มตัว ในอดีตคุณภูวนาทเคยทำงานอยู่ในสื่อใหญ่หลายสื่อก่อนจะมาเป็นสื่อในยุคทีวีดิจิทัลในปัจจุบัน

หากถามว่าแล้วคนสื่อมาทำการตลาดมีข้อได้เปรียบไหม

เรียกว่าง่ายตรงเรื่องเรามองภาพการตลาดเหมือนการทำทีวีนั่นแหละ ทำยังไงให้คนสนใจซื้อโฆษณาและในยุคที่ข้อมูลข่าวสารมีจำนวนมากและเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จนผู้รับข้อมูลต้องเลือกที่จะดูเพราะมีเวลาที่จำกัด การทำ Content Marketing จึงมีความสำคัญเพื่อดึงดูดให้น่าสนใจและติดตาม รวมไปถึงการซื้อสินค้าบริการต่างๆ สิ่งนี้ถือเป็นความท้าทายสำหรับนักสื่อสารนักการตลาดในปัจจุบันทั้งสิ้น

Storytelling เป็นการทำคอนเทนต์ในรูปแบบหนึ่งที่นำเสนอสินค้าบริการผ่านการเล่าเรื่องในรูปแบบต่างๆ เพื่อกระตุ้นความสนใจของผู้บริโภค เพื่อให้เกิดการจดจำและนำไปสู่กิจกรรมการใช้สินค้าและบริการ ยิ่งเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้นทำให้อุปกรณ์ในการผลิตคอนเทนต์มีราคาถูกลง จึงทำให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ใหม่ๆ เกิดขึ้น

เมื่อมีผู้ผลิตมากรายเกิดขึ้น การสร้างสรรค์ผลงานก็มากขึ้นตามลำดับ ผู้บริโภคมีความเป็นเอกภาพมากขึ้น จากที่เคยรวมกลุ่มกันดูคอนเทนต์จากสื่อหลัก อย่าง ทีวี วิทยุ มาวันนี้ต่างคนต่างแยกย้ายกันดูในสิ่งที่ตนเองสนใจผ่านมือถือ จึงทำให้การผลิตคอนเทนต์ก็ต้องเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ดังนั้น นักสื่อสาร นักการตลาด ไม่ได้เพียงแข่งขันกันผลิตคอนเทนต์กันเองแล้ว แต่ทุกวันนี้ มีผู้ผลิตคอนเทนต์เข้ามาสร้างส่วนแบ่งการตลาด ผลิตผลงานเพื่อสร้างรายได้มากขึ้น ผ่านเครื่องมือที่สร้างช่องทางการสื่อสารระหว่าง ผู้ส่งสารและผู้รับสาร อย่าง Social Media Website YouTube Line เป็นต้น

เมื่อช่องทางการสื่อสารมีจำนวนมากขึ้น และแต่ละเครื่องมือในมีความหลากหลาย ดังนั้น การสร้าง Storytelling Content จึงไม่เพียงพอต่อการทำให้ผู้บริโภคหันมาสนใจได้ทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เป็นช่องทางในการนำเสนอคอนเทนต์เข้ามามีบทบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การศึกษาทำความเข้าใจกับเครื่องมือดังกล่าวจึงเป็นสิ่งสำคัญ จำเป็นต้องศึกษาคุณสมบัติให้รู้ถึงศักยภาพเสียก่อนจะนำไปผลิตคอนเทนต์ จะทำให้ได้เปรียบในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าการศึกษาเครื่องมือที่เป็นช่องทางการสื่อสาร ก็คือแนวโน้ม (Trend) จากเดิมเทรนด์เป็นตัวกำหนดการสร้างสรรค์คอนเทนต์เป็นหลัก แต่ในยุคนี้ เทรนด์กลับมีบทบาทเพิ่มอีกอย่าง ในการบอกว่า ผู้บริโภคกำลังเริ่มเข้าไปใช้เครื่องมือช่องทางการสื่อสารอะไร ชอบดูอะไร ดังนั้น การเข้าใจเทรนด์จะเหมือนกับการส่งมอบคอนเทนต์ถูกที่ถูกเวลา โอกาสที่ผู้บริโภคจะสนใจสินค้าบริการจะเพิ่มมากขึ้น

แต่การที่จะเข้าใจสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้นั้น จำเป็นต้องพึ่งฐานข้อมูลจำนวนมากสำหรับการวิเคราะห์ ให้เห็นเทรนด์ และเครื่องมือการสื่อสารในรูปแบบใหม่ โดยข้อมูลทางสถิติที่ได้มาจากแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง Social Media Website YouTube Line นั้นสามารถมาใช้งานให้เกิดประโยชน์ได้ แต่การเก็บข้อมูลภายในเองก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน

ปัจจุบัน ข้อมูลที่ใช้สำหรับธุรกิจไม่ว่าจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ การเก็บข้อมูลต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ ไม่เพียงแต่ไว้ดูตัวเลขทางบัญชีแล้ว ยังสามารถนำข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินงานมาปรับปรุง พัฒนาให้ดียิ่งขึ้น หรือข้อมูลบางชุดสามารถนำมาใช้สำหรับวางแผนธุรกิจการตลาดให้สำเร็จ เพื่อสร้างความยั่งยืนขององค์กรได้

ทำไมต้องเก็บข้อมูล

การนำข้อมูลที่บันทึกต่างๆ นั้นมาเข้าระบบจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์แนวโน้มต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเงิน จำนวนลูกค้า จำนวนสินค้าบริการ อีกทั้งยังคาดการณ์เพื่อตั้งเป้าหมายการตลาดข้างหน้าได้

โดยปกติทั่วไปการทำธุรกิจการค้าต่างๆ จะมีการบันทึกข้อมูลอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็น บิล ใบเสร็จ การจดบันทึกต่างๆ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่แยกเป็นส่วนๆ หลายครั้งในการนำกลับมาตรวจสอบหรือเอามาวิเคราะห์จึงเป็นเรื่องที่ทำยาก ดังนั้น การเก็บข้อมูลที่เป็นระบบที่สามารถนำกลับมาใช้งานจึงจะเป็นองค์กรขนาดใหญ่หรือบริษัทต่างๆ ที่มีความสามารถในการจัดการได้

เริ่มเก็บข้อมูลต้องทำอย่างไร

การเก็บข้อมูลในยุคนี้ไม่ได้ยากเหมือนเมื่อก่อนแล้วเพราะเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาท ซึ่งทำให้ใครก็สามารถนำข้อมูลที่มีมาเข้าระบบได้ ผ่านเครื่องมือที่ไม่ต้องเสียเงินก็สามารถทำได้ แต่สิ่งสำคัญคือ ต้องมีวินัยในการจัดเก็บข้อมูล สำหรับคนที่ไม่เคยเก็บข้อมูล ควรเริ่มต้นสิ่งที่อยากรู้ก่อน เช่น รายจ่าย รายได้ อาจจะเก็บแต่ละวันกรอกลงในตารางโปรแกรมที่มีใช้ในปัจจุบัน แล้วสิ้นเดือนนำมาดูเป็นภาพรวม จากนั้นค่อยขยายเป็นตารางรายจ่ายเกิดจากอะไร รายรับขายจากอะไรไป ก็จะทำให้เห็นภาพละเอียดมากยิ่งขึ้น

เก็บข้อมูลเป็นระบบแล้วนำไปใช้อย่างไร

อย่างที่กล่าวมาปัจจุบันนี้ การได้เปรียบทางการแข่งขันไม่ว่าจะเป็นด้านใด ข้อมูลเป็นกลไกสำคัญในการเอาชนะคู่แข่งทางการค้า การจัดเก็บข้อมูลที่ละเอียดซับซ้อนและสามารถดึงมาใช้วิเคราะห์ได้ทันทีหรือเรียกว่า เรียลไทม์ จะช่วยให้ผู้บริหาร ตัดสินใจได้ทันที ใช้การเพิ่มพนักงานผ่านข้อมูลจำนวนลูกค้าที่เพิ่มขึ้น

การนำข้อมูลไปใช้ในปัจจุบัน

ข้อมูลมีความสำคัญ บางครั้งการนำข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้เพื่อประโยชน์จึงกลายเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ โดยหน่วยงานรัฐจึงมีกฎระเบียบการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น เพื่อไม่ให้บริษัทหาผลประโยชน์จากการเข้าถึงข้อมูลหากไม่ได้รับการยินยอมจากผู้บริโภค ดังนั้น การวางแผนการเก็บข้อมูลต้องทำให้สอดคล้องกับกฎระเบียบของหน่วยงาน จะได้ไม่เกิดปัญหาการฟ้องร้องตามมา