‘Personalized Marketing’ การตลาดแบบตอบโจทย์ ใช้ Customer Data ให้ลูกค้าเป็น ‘คนพิเศษ’

ทำความรู้จัก ‘Personalized Marketing’ การตลาดแบบตอบโจทย์ ตรงใจ สำหรับ SMEs โดยใช้ Customer Data ให้ลูกค้าเป็น ‘คนพิเศษ’

‘Personalized Marketing’ หากจะอธิบายให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือการตลาดเฉพาะบุคคล ที่แบรนด์สินค้าจะตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค ด้วยการนำ Data หรือข้อมูลของลูกค้าที่ชื้อสินค้าหรือใช้บริการของผู้ประกอบการ SMEs มาต่อยอด วางกลยุทธ์ในการทำการตลาด โดยการทำงานร่วมกันจากหลายๆ ฝ่ายเพื่อทำให้ได้ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ

เมื่อ SMEs ทราบข้อมูลลูกค้าที่อยู่ในมือ และเข้าถึงได้จากทุกฝ่าย การวิเคราะห์ข้อมูลก็เข้าถึงได้จากทุกฝ่ายเช่นกัน เช่น เราสามารถจัด Segment จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลลูกค้าที่ทุกฝ่ายก็เข้าถึงได้ ทำให้พนักงานหรือระบบดูแลลูกค้าสามารถตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าได้ถูกจุด เช่น รู้ว่าลูกค้าคนไหนที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ

Case Study

กลยุทธ์ของ Starbucks ร้านกาแฟสุดหรูที่ขายกาแฟราคาแพง แต่แลกกับการนั่งได้นาน พร้อมรับประสบการณ์ที่เหนือกว่าร้านไหนๆ

Starbucks มีการปรับกลยุทธ์ให้เป็นไปตามพฤติกรรมของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่อง เช่น การโฟกัสไปที่การให้บริการแบบดีลิเวอรี่ เพื่ออำนวยความสะดวก และตอบสนองความต้องการของลูกค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ชอบดื่มกาแฟในช่วงเช้า โดยก่อนหน้านี้ Starbucks ได้ทดลองให้บริการร่วมกับพาร์ตเนอร์อย่าง Uber บริการจัดส่งอาหารมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2018

การปรับตัว ปรับร้านให้เข้ากับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่

Starbucks Pick-Up คือร้านรูปแบบใหม่ของสตาร์บัคส์ ที่เน้นให้ลูกค้าทำการสั่งและจ่ายเงินผ่านทางแอพพลิเคชั่นของร้านล่วงหน้า เมื่อไปถึงร้านก็สามารถหยิบเอาเมนูที่สั่งเอาไว้ไปได้เลย สาขาแรกตั้งอยู่ใกล้กับสถานีเพนน์ของนิวยอร์ก

รวมถึงการที่ Starbucks ได้ประกาศแผนเพื่อช่วยโลกในเรื่องของการลดการใช้น้ำ, การลดจำนวนขยะ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ให้เหลือ 50% ภายในปี 2030 เพราะเล็งเห็นถึงเทรนด์ที่ผู้บริโภคหันมาให้ความสำคัญกับแบรนด์ที่คำนึงถึงความยั่งยืน

อีกหนึ่งตัวอย่างของธุรกิจที่ปรับรูปแบบการผลิตสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และ Customize ให้ตอบโจทย์เฉพาะกลุ่ม คือ แบรนด์ ‘พูลแอนด์สปาโปรดักส์’ 

ยุคนี้ ไลฟ์สไตล์คนเปลี่ยนไป จะเห็นว่าเจ้าของบ้านในราคาเริ่มต้นที่ 20 ล้านก็มีสระว่ายน้ำส่วนตัวในบ้านแล้ว ซึ่งบ้านอยู่อาศัยไม่จำเป็นต้องเป็นสระขนาดมาตรฐาน แต่คนจะนิยมสร้างสระเล็กๆ ขนาดมีตั้งแต่ 2×6 เมตรขึ้นไป ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับพื้นที่ นอกจากนี้ โครงการบ้านที่มีสระว่ายน้ำในบ้าน สิ่งที่ดึงดูดการขาย การสร้าง Value ให้บ้านจึงเน้นการสร้างสระว่ายน้ำในบ้าน เพื่อให้ขายง่ายขึ้น” 

“Wellness” เทรนด์รักสุขภาพมาแรง

ปัจจัยจากพฤติกรรมของผู้บริโภคยุคใหม่ ที่หันมาปรับวิถีการใช้ชีวิตโดยมุ่งเน้นสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์การรักษาสุขภาพกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่มาแรง และเป็นเรื่องที่ผู้ประกอบการให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ

คุณกุลศรา เผยว่า กระแส Wellness ช่วงหลังโตขึ้นเยอะ ซึ่งสระว่ายน้ำที่จะได้ความนิยมอีกรูปแบบหนึ่งจะคล้ายกับออนเซ็น แต่ไปไกลกว่าอีกสเต็ปหนึ่ง เช่น มีสตรีม ซาวน่า มีบ่อที่เป็นน้ำร้อน-น้ำเย็น เพิ่มฟีเจอร์ที่เป็นลูกเล่นของบ่อ หรือสปานั้นๆ

สระว่ายน้ำ สำหรับน้องหมา 

เป็นสระอีกหนึ่งรูปแบบที่เป็นเทรนด์สำหรับคนรักสัตว์เลี้ยงได้เป็นอย่างดี รูปแบบคล้ายกับ Wellness เจ้าของและสัตว์เลี้ยงได้มาทำกิจกรรมร่วมกัน กึ่งคาเฟ่ที่มี Activity ต่างๆ รวมถึงมีสระให้น้องหมาได้ออกกำลังกายและว่ายน้ำคลายร้อน

อ่านเพิ่มเติม :  ‘พูลแอนด์สปาโปรดักส์’ ที่เร่งเครื่องรับเทรนด์ ‘สระว่ายน้ำส่วนตัว’ บูม รุกบริการตอบโจทย์ทุกเซ็กเมนต์

อีกหนึ่งรายที่มีการสร้างกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะบุคคลได้ คือการศึกษาตลาด สู่การครีเอต New Product

จากการศึกษาตลาดชาในเมืองไทย พบว่า ชานำเข้าจะมีการปรุงแต่งกลิ่นด้วยรสชาติต่างๆ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ กีวี แอปเปิ้ล มิกซ์เบอร์รี่ สร้างไอเดียให้กับ คุณจารุวรรณ์ ในการนำชามาผสมกับสมุนไพรไทย โดยพยายามคง Essential Oil ของสมุนไพรแต่ละชนิดให้ได้มากที่สุด แล้วนำมาผสมกับชาของบริษัท ก่อเกิดเป็น ‘ชาไทย’ ในความหมายของ ‘สุวิรุฬห์ ชาไทย’

โดยเริ่มต้นจาก ตะไคร้’ เนื่องจากนึกถึงเมนูอาหารที่คนต่างชาติรู้จักประเทศไทยก็คือต้มยำกุ้ง แล้วในส่วนประกอบบริษัทจะดึงอะไรมาใช้ได้ หลังจากนำมาทดลองผลิตโดยเป็นสูตรชาทำเอง ขายในสิ่งที่เราดื่ม ก่อนใช้เวลากว่า 6 เดือน ปรับสูตรการผลิตให้นิ่ง และเนื่องด้วยตะไคร้ที่ซื้อมาแต่ละรอบจะให้รสชาติไม่เหมือนกัน ดังนั้น บริษัทจึงต้องเจาะจงสายพันธุ์ตะไคร้เพื่อให้รสชาติมีความเสถียร

และด้วยความที่กลุ่มเป้าหมายเป็น Gen รุ่นใหม่ อายุน้อยลง จากการจำหน่ายเป็นกิโลกรัมก็มีการครีเอตออกแบบแพ็กเกจจิ้งใหม่ โดยทำเป็นกระป๋องขนาดพอเหมาะ ซึ่งได้รับผลตอบรับค่อนข้างดีจากทั้งชาวต่างชาติและคนไทย

ดังนั้น บริษัทจึงมีการผลิตสินค้าต่างๆ ออกมาหลากหลายเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค นอกเหนือจากตะไคร้ เช่น ขิง กระเจี๊ยบ มินต์ ใบเตย มะตูม มะรุม ใบหม่อน ส่งผลให้ยอดจำหน่ายในปีแรกที่เริ่มผลิตอยู่ที่เกือบ 200,000 กระป๋อง ก่อนกลายเป็นโปรเจ็กต์ที่ประสบความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน สร้างตัวตน-ภาพลักษณ์ความเป็น ‘สุวิรุฬห์ ชาไทย’ ให้ทั้งชาวต่างชาติและคนไทยได้รู้จัก

อ่านเพิ่มเติม  : Tea Specialist! ‘สุวิรุฬห์ ชาไทย’ รักษารากฐาน & ครีเอทต่อยอดรสชาติ ตอบโจทย์ความปรารถนานักดื่มชา Gen ใหม่

อย่างไรก็ตาม หาก SMEs ใช้เครื่องมือการตลาดอย่าง Personalized Marketing เพื่อตอบโจทย์กับลูกค้าได้แท้อย่างจริง จะช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจให้เกิดความสำเร็จอย่างยั่งยืน ด้วยความรู้สึกพิเศษที่แบรนด์มอบให้ เปลี่ยนลูกค้าใหม่ให้กลายเป็น ลูกค้าประจำที่มี Royalty กับแบรนด์ของคุณได้อย่างยั่งยืน

Bangkok Bank SME เราเป็นเพื่อนคู่คิด มิตรคู่บ้าน ทุกช่วงการเติบโตของธุรกิจ
สนใจลงทุนธุรกิจสามารถปรึกษาธนาคารกรุงเทพ คลิก หรือ สายด่วน 1333