แอล ซอฟท์โปร จับมือ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์

แอล ซอฟท์โปร จับมือ คณะจิตวิทยา จุฬาฯ พัฒนาระบบประเมินผลอิเล็กทรอนิกส์

แอล ซอฟท์โปร (L SOFTPRO) และ คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือทางวิชาการว่าด้วยการจัดทำระบบประเมิน ระบบทดสอบ และการอบรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกและสังคม

นายจรัสพงศ์ ล่ำซำ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล ซอฟท์โปร จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ (ที่ 3 จากซ้าย) คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ
นายจรัสพงศ์ ล่ำซำ (ที่ 4 จากซ้าย) ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล ซอฟท์โปร จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ (ที่ 3 จากซ้าย) คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ

นายจรัสพงศ์ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล ซอฟท์โปร จำกัด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐสุดา เต้พันธ์ คณบดีคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ การจัดทำระบบประเมิน และการจัดการอบรมทางด้านจิตวิทยาสำหรับองค์กรในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง แอล ซอฟท์โปร และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยคณะจิตวิทยา ณ ห้องประชุมชั้น 18 อาคารล็อกซเล่ย์ คลองเตย เมื่อเร็วๆ นี้

นายจรัสพงศ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมา คณะจิตวิทยา จุฬาฯ และ แอล ซอฟท์โปร ได้พัฒนาระบบแบบประเมินต่างๆ ร่วมกันอยู่แล้ว การเซ็นเอ็มโอยูในครั้งนี้เป็นการยืนยันว่าทั้ง 2 องค์กรจะร่วมมือกันอย่างเป็นรูปธรรมและครบวงจรมากขึ้น จากเดิมที่ร่วมกันพัฒนาระบบประเมินและแบบทดสอบทางจิตวิทยาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์เพียงอย่างเดียว สู่การขยายโอกาสเพิ่มการจัดการอบรมทางด้านจิตวิทยาแบบปฏิบัติจริงให้กับองค์กรต่างๆ ที่สนใจ ควบคู่ไปกับการใช้ระบบประเมินออนไลน์

ทั้งนี้ แอล ซอฟท์โปร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบประเมินผล ให้คำปรึกษา บริหารและบำรุงรักษาระบบ พร้อมที่จะให้การสนับสนุนการจัดทำและพัฒนาระบบประเมิน ระบบทดสอบผลบุคลากรออนไลน์ (Online Assessment) กับแบบประเมินที่หลากหลาย อาทิ แบบวัดเชาวน์ปัญญาทางการเรียนรู้ (IQ) แบบวัดเชาวน์อารมณ์สำหรับคนทำงาน (EQ) แบบวัดความเป็นผู้นำ (Leadership) แบบวัดคุณลักษณะด้านการขาย (Selling Scale) แบบวัดคุณลักษณะด้านการบริการ (Customer Service Scale) แบบวัดการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เป็นต้น รวมถึงพัฒนาและปรับปรุงเนื้อหา หรือเพิ่มเติมโครงการการอบรมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ในการให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานภายนอกและสังคมต่อไป