Data Protection Officer คืออะไร? ทำไมตำแหน่งนี้ถึงสำคัญกับองค์กร?

Data Protection Officer คืออะไร? ทำไมตำแหน่งนี้ถึงสำคัญกับองค์กร?

 

เชื่อว่าพอพูดถึงคำว่า Data Protection Officer หลายคนน่าจะยังไม่คุ้นหูกันเท่าไรนัก ว่าอาชีพ Data Protection Officer คืออะไร วันนี้เราจึงได้นำข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพนี้มาฝากคุณผู้อ่านทุกท่านกันเกี่ยวกับตัวงานของอาชีพนี้ และมีความสำคัญกับองค์กรอย่างไรบ้าง เรานำข้อมูลมาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย!

Data Protection Officer คืออะไร?

Data Protection Officer คือ เจ้าหน้าที่ที่ดูแลรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมดภายในองค์กร ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับตัวพนักงาน หรือข้อมูลภายนอกองค์กร นั่นก็คือข้อมูลคู่ค้า และข้อมูลลูกค้านั่นเอง นอกจากนี้ Data Protection Officer ต้องดูแลข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับกฎหมาย และเอกสารเกี่ยวกับการเงินของบริษัทด้วย

Data Protection Officer มีหน้าที่อะไรบ้าง?

  • ให้ความรู้เกี่ยวกับพนักงานภายในองค์กร เกี่ยวกับข้อกำหนดต่างๆ ที่ควรปฏิบัติภายในองค์กร
  • ดำเนินการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่าองค์กรของตนมีการดำเนินการ และปฏิบัติตามข้อกำหนด และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับข้อมูลของพนักงาน และพนักงานองค์กร
  • เป็นผู้ประสานงานระหว่างบริษัท และหน่วยงานกำกับดูแล PDPA
  • การติดต่อกับเจ้าของข้อมูลเพื่อแจ้งให้พวกเขาทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้ข้อมูลของพวกเขา สิทธิ์ในการลบข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขา และมาตรการใดที่บริษัทได้ใช้เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของพวกเขา

ตำแหน่งไหนในบริษัทที่มีอำนาจในการแต่งตั้ง Data Protection Officer บ้าง?

  1. หน่วยงานรัฐ – ไม่ว่าจะเป็นส่วนราชการ รัฐสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก็สามารถร่วมแต่งตั้งตำแหน่งนี้ได้
  2. องค์กรที่ประกอบธุรกิจหลัก (Core Activity Organization) – ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการประมวลข้อมูลส่วนบุคคลที่ค่อนข้างอ่อนไหว (Sensitive PIII) ไม่ว่าจะเป็น โรงพยาบาล บริษัทประกัน หรือบริษัทที่มีเทคโนโลยีในการประมวลผลข้อมูล
  3. องค์กรอื่นที่มีกิจกรรมประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เป็นจำนวนมาก

ภายในองค์กรควรมีเจ้าหน้าที่ Data Protection Officer กี่คน?

โดยทั่วไปแล้ว ตามกฎหมายได้ระบุไว้ว่า เจ้าหน้าที่ Data Protection Officer ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น โดยผ่านการแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ระดับสูงภายในองค์กร

สรุปแล้ว ตำแหน่ง Data Protection Officer คือตำแหน่งที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากภายในองค์กร ที่จะช่วยปกป้องข้อมูลที่สำคัญภายในองค์กร และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคตนั่นเอง